รัฐบาลมั่นใจไฮสปีดเทรน- ท่าเรือมาบตาพุดฉลุย

ปิดจ๊อบ 2 บิ๊กโปรเจกต์อีอีซี 271,900 ล้านบาท  

รอขั้นตอนเซ็นสัญญา ก.ค.นี้ 

การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) คร้ังท่ี 6/2562 วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2562 โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทาเนียบรัฐบาล ได้ พิจารณา และรับทราบความคืบหน้าขั้นตอนการดาเนินงานโครงการลงทุนโครงสร้างพ้ืนฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก (อีอีซี) โดยมีรายละเอียดที่สำมาบคัญ ดังนี้ 

  1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน กพอ.รับทราบ ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ท่ีได้ ผ่านความเห็นชอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ของสานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (สผ.) ที่ได้เสนอรายงาน EIA ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน 

คาดว่าจะนาเสนอ ครม. โดยเร็วที่สุด และจะลงนามในสัญญาโครงการ ฯ ร่วมกันระหว่างการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (ร.ฟ.ท.) และกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งเป็นกลุ่มเอกชนผู้ได้รับคัดเลือก โครงการ ฯ ภายในเดือนกรกฏาคม 2562 ทั้งน้ี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะถือว่าเป็นโครงการฯ ร่วมทุนรัฐและเอกชนในพื้นที่ อีอีซี เป็นโครงการแรก 

2. โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 

กพอ.รับทราบ ผลการประชุม คณะรัฐมนตรีเรื่องการปรับหลักการโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ฯ และเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงาน อัยการสูงสุด ของโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะท่ี 3 ช่วงที่ 1 และเห็นชอบให้นาเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อรับทราบผลการคัดเลือก ซึ่งขั้นตอนต่อไป การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จะได้ลงนามในสัญญาร่วม ลงทุนในโครงการฯ กับเอกชนที่ได้รับคัดเลือก ภายในเดือนกรกฏาคม 2562 เช่นกัน 

โครงการ ฯ น้ี ได้ผ่าน EIA แล้ว โดย สผ.จะนาเสนอให้ ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป เบื้องต้นคาดว่าการท่าเรือแห่ง ประเทศไทย (กทท.) จะสามารถลงนามสัญญากับเอกชนเพื่อบริหารจัดการถมทะเลได้ ภายในเดือนกันยายน 2562 

สาหรับ ความคืบหน้าจากทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนา ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะท่ี 3 ช่วงท่ี 1 ถือเป็นการผลักดันโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสาคัญของประเทศ สร้างการลงทุนมูลค่าสูงถึง (รวม 2 โครงการ) 271,900 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง ฯ 224,000 ล้าน บาท และโครงการท่าเรือมาบตาพุด 47,900 ล้านบาท 

 “ตอนนี้ 2 โครงการลงทุนใหญ่ในอีอีซี มูลค่ารวมกันถึง 271,900 ล้านบาท ได้เอกชนเรียบร้อยแล้วชัดเจน ถือเป็นผลงานของรัฐบาลชุดนี้ แม้ว่าบางโครงการอาจมีความล่าช้าออกไป แต่ก็ยอมรับว่า ไม่ได้เกิดจากความล่าช้าในขั้นตอนของภาครัฐ เพราเกิดจากกระบวนการความไม่พร้อมของภาคเอกชน แต่ภาครัฐก็ต้องทำให้เกิดความโปร่งใสที่สุด” 

ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างฟ้องร้อง คือ สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก คณะกรรมการคัดเลือกอยู่ระหว่างการพิจารณาและสอบถามคุณสมบัติของพันธมิตรบริษัทเอกชนที่ร่วมทุนยื่นประมูลโครงการ  ซึ่ง สกพอ.กำลังทำความเห็นกลับไปยังคณะกรรมการคัดเลือกคาดว่าจะส่งความเห็นกลับไปให้ได้ในสัปดาห์นี้ซึ่งหากไม่มีปัญหาในเรื่องคุณสมบัติก็สามารถเปิดเอกสารในซองที่ 2 ด้านเทคนิค และซอง 3 ด้านราคา ของกลุ่มเอกชนที่เข้าร่วมประมูลและไม่มีปัญหา

อย่างไรก็ตาม แม้จะพิจารณาเสร็จก็ยังไม่สามารถประกาศผลผู้ชนะการประมูลได้ จนกว่าศาลปกครองจะมีคำตัดสิน ส่วนโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ศาลให้รอการทำงานของคณะอนุกรรมการอุทธรณ์ข้อพิพาทย์ของเอกชนในโครงการอีอีซีก่อน จากนั้นศาลปกครองจึงจะมีการตัดสินข้อร้องเรียนของเอกชน