รัฐบาลจับมือแบงค์รัฐทุ่มเม็ดเงิน 3 แสนล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจ

  • ดันเศรษฐกิจปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 3% ใช้งบประมาณใหม่แค่ 50,000 ล้านบาท
  • แจกเงินเที่ยว 1,000 บาทต่อคน และจ่ายเงินคืนค่าเที่ยวให้อีกคนละ 15%
  • เพิ่มเงินผู้ถือบัตรสวัสดิการ คนชราและเงินช่วยเลี้ยงลูกอีก เป็นเวลา 2 เดือน

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ(ครม.เศรษฐกิจ) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นทั้งมาตาการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ รวมใช้เม็ดเงิน 316,000 ล้านบาท ในส่วยนนี้เป็นสินเชื่อจากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 200,000 ล้านบาท ส่วนอีก 100,000 ล้านบาท ครึ่งหนึ่งเป็นเงินงบประมาณที่จัดสรรไว้ในกองทุนต่างๆ แล้ว และอีกครึ่งหนึ่งหรือ ประมาณ50,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณใหม่ ตั้งเป้าอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจปีนี้ไม่ต่ำกว่า 3% โดยจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้งวันที่ 20 ส.ค.นี้

โดยแบ่งมาตรการออกเป็น 3 ด้านคือ  1. มาตรการเพื่อบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรโดยจัดทำโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีปีการผลิต 2562 2563 ด้วยการสนับสนุนเงิน 500 บาทต่อไร่ไม่เกิน 20 ไร่ให้เกษตรกรทุกรายที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งปัจจุบันมีมาขึ้นทะเบียนแล้ว 2.97 ล้านรายและยังเปิดให้ขึ้นทะเบียนได้เรื่อยๆ

2.มาตรการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศแบ่งออกเป็น 2.1 มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศชิมช้อปใช้ โดยรัฐจะให้เงิน 1,000 บาทค่อคน นำไปใช้จ่ายท่องเที่ยวในจังหวัดที่ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่ตามบัตรประชาชนของตนเอง  เริ่มเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2562 เป็นเวลา 3 เดือน โดยรัฐจ่ายเงินให้ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกันนี้รัฐจะมีเงินชดเชยให้อีก 15%จากยอดใช้จ่ายท่องเที่ยวสำหรับค่าอาหารเครื่องดื่มและซื้อสินค้าท้องถิ่นตลอดจนที่พัก รวมกันไม่เกิน 30,000 บาทหรือได้รับการชดเชยสูงสุดต่อคนไม่เกิน 4,500 บาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 26 กันยายนถึง 30 พฤศจิกายน 2562

“กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาได้เสนอให้ยกเว้นการตรวจลงตราหรือวีซ่า สำหรับนักท่องเที่ยวจีนและอินเดียให้เข้ามาพำนักในไทยได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน เริ่มตุลาคม 2562 ถึงกันยายน 2563 ซึ่งรัฐจะสูญรายได้ทั้งปี 12,133 ล้านบาท รวมทั้งมีมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้หักรายจ่ายเพื่อการลงทุนได้ 1.5 เท่าเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ครม. เห็นชอบถึง 31 มีนาคม 2563”

3.มาตรการบรรเทาค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประกอบด้วย มาตรการพยุงการบริโภคโดยเพิ่มเงิน 500 บาทต่อเดือน เป็นค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคซึ่งเป็นเงินเพิ่มจากที่ผู้ถือบัตรได้รับอยู่แล้วเดือนละ 200-300บาทต่อ ขณะเดียวกัน มาตรการมอบเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาทต่อเดือน  นอกจากนี้ ให้เงินช่วยเหลือการเลี้ยงดูบุตรแก่ผู้ถือบัตรที่ได้รับสิทธิ์ภายใต้โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ได้รับเงิน 300 บาทต่อเดือนซึ่งเป็นการจ่ายเพิ่มจากเงินที่ได้รับปกติอยู่แล้ว คน เป็น เวลา 2 เดือนคือสิงหาคมถึงกันยายน 2562 นอกจากนี้ มีมาตรการพักชำระเงินต้นของกองทุนหมู่บ้านที่ติดหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และธนาคารออมสินโดยให้พักชำระเงินต้นเป็นเวลา 1 ปีแต่ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามปกติซึ่งในปัจจุบันนี้กองทุนหมู่บ้านที่เป็นยอดหนี้คงค้างมีจำนวน 50732 แห่ง ยอดหนี้คงค้างรวม 67,438 ล้านบาท

รัฐบาลจับมือแบงค์รัฐทุ่มเม็ดเงิน 3 แสนล้านบาทกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยที่เหลืองของปี เพื่อให้เศรษฐกิจปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 3% ชี้ใช้งบประมาณใหม่แค่ 50,000 ล้านบาท  ที่เหลือเป็นเงินเดิมบวกสินเชื่อแบงก์รัฐ แจกเงินเที่ยว 1,000 บาทต่อคน และจ่ายเงินคืนค่าเที่ยวให้อีกคนละ 15% วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท หรือคืนให้สูงสุด 4,500บาทต่อคน เพิ่มเงินผู้ถือบัตรสวัสดิการคนละ 500 บาท จ่ายคนชราได้เพิ่มอีก เดือนละ 500 บาท  และเงินช่วยเลี้ยงลูกอีก 300 บาทเป็นเวลา 2 เดือน

นายอุตตม สาวนายน  รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ(ครม.เศรษฐกิจ) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นทั้งมาตาการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ  รวมใช้เม็ดเงิน 316,000 ล้านบาท  ในส่วยนนี้เป็นสินเชื่อจากธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 200,000 ล้านบาท ส่วนอีก 100,000 ล้านบาท ครึ่งหนึ่งเป็นเงินงบประมาณที่จัดสรรไว้ในกองทุนต่างๆ แล้ว  และอีกครึ่งหนึ่งหรือ 50,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณใหม่ ตั้งเป้าอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจปีนี้ไม่ต่ำกว่า 3%

โดยแบ่งมาตรการออกเป็น 3 ด้านคือ  1. มาตรการเพื่อบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรโดยจัดทำโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีปีการผลิต 2562 2563 ด้วยการสนับสนุนเงิน 500 บาทต่อไร่ไม่เกิน 20 ไร่ให้เกษตรกรทุกรายที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งปัจจุบันมีมาขึ้นทะเบียนแล้ว 2.97 ล้านรายและยังเปิดให้ขึ้นทะเบียนได้เรื่อยๆ

2.มาตรการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศแบ่งออกเป็น 2.1 มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศชิมช้อปใช้ โดยรัฐจะให้เงิน 1,000 บาทค่อคน นำไปใช้จ่ายท่องเที่ยวในจังหวัดที่ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่ตามบัตรประชาชนของตนเอง  เริ่มเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2562 เป็นเวลา 3 เดือน โดยรัฐจ่ายเงินให้ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกันนี้รัฐจะมีเงินชดเชยให้อีก 15%จากยอดใช้จ่ายท่องเที่ยวสำหรับค่าอาหารเครื่องดื่มและซื้อสินค้าท้องถิ่นตลอดจนที่พัก รวมกันไม่เกิน 30,000 บาทหรือได้รับการชดเชยสูงสุดต่อคนไม่เกิน 4,500 บาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 26 กันยายนถึง 30 พฤศจิกายน 2562

“กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาได้เสนอให้ยกเว้นการตรวจลงตราหรือวีซ่า สำหรับนักท่องเที่ยวจีนและอินเดียให้เข้ามาพำนักในไทยได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน เริ่มตุลาคม 2562 ถึงกันยายน 2563 ซึ่งรัฐจะสูญรายได้ทั้งปี 12,133 ล้านบาท รวมทั้งมีมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้หักรายจ่ายเพื่อการลงทุนได้ 1.5 เท่าเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ครม. เห็นชอบถึง 31 มีนาคม 2563”

3.มาตรการบรรเทาค่าครองชีพผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐประกอบด้วย มาตรการพยุงการบริโภคโดยเพิ่มเงิน 500 บาทต่อเดือน เป็นค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคซึ่งเป็นเงินเพิ่มจากที่ผู้ถือบัตรได้รับอยู่แล้วเดือนละ 200-300บาทต่อ ขณะเดียวกัน มาตรการมอบเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาทต่อเดือน  นอกจากนี้ ให้เงินช่วยเหลือการเลี้ยงดูบุตรแก่ผู้ถือบัตรที่ได้รับสิทธิ์ภายใต้โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ได้รับเงิน 300 บาทต่อเดือนซึ่งเป็นการจ่ายเพิ่มจากเงินที่ได้รับปกติอยู่แล้ว คน เป็น เวลา 2 เดือนคือสิงหาคมถึงกันยายน 2562 นอกจากนี้ มีมาตรการพักชำระเงินต้นของกองทุนหมู่บ้านที่ติดหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์และธนาคารออมสินโดยให้พักชำระเงินต้นเป็นเวลา 1 ปีแต่ยังต้องชำระดอกเบี้ยตามปกติซึ่งในปัจจุบันนี้กองทุนหมู่บ้านที่เป็นยอดหนี้คงค้างมีจำนวน 50732 แห่ง ยอดหนี้คงค้างรวม 67,438 ล้านบาท