รวมพลัง 4 องค์กรเปิดอนาคตสุขภาพจิตสังคมไทยปี’67 ปลุกรัฐเอกชนตั้งเข็มไมล์ป้องกันแก้ไขลดป่วยทางจิต

  • 4องค์กรร่วมเปิดผลวิจัย10ปีหน้าอนาคตสุขภาพจิตสังคมไทยปี’76”
  • กรมสุขภาพจิต-NIA-ETDA-ศูนย์วจิยัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลแล็บ
  • ปลุกทุกภาคส่วนรัฐ เอกชน รวมพลังหาทางป้องกัน แก้ไขสังคมไทยลดป่วยทางจิต

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกัน 4 องค์กร กับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชนหรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ โดยบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) นำผลวิจัย “อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย .. 2576 (Futures of Mental Health in Thailand 2033)” เพื่อเสนอองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตและข้อเสนอแนะการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งลงนามความร่วมมือโครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านนวัตกรรมและอนาคตศึกษาด้านสุขภาพจิตร่วมกันนำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม และการมองอนาคตมาช่วยส่งเสริมและพัฒนาการให้บริการด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย

อันเกิดจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางสังคมสร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิต บวกกับค่านิยมของสังคมไทยตีตราผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ทำให้คนไทยบางส่วนยังขาดความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคมรอบข้าง นำไปสู่การละเลย เพิกเฉย และปฏิเสธการเข้ารับบริการสุขภาพจิต ส่งผลถึงแนวโน้มปัญหาเพิ่มขึ้นทั้งเรื่องความเครียด เกิดโรคซึมเศร้า ภาวะหมดไฟ บางกรณีต้องสูญเสียจากการทำร้ายตนเอง

ผลสำรวจของ Mental Health Check In ปี 2565 มีกลุ่มให้ข้อมูล 1,149,231 ราย ต้องประสบกับ 3 อาการ คือเสี่ยงซึมเศร้า 5.47 % ภาวะหมดไฟ 4.59 % และมีความเครียดสูง 4.37 % ดังนั้นประเด็นเรื่องสุขภาพจิตเป็นความท้าทายที่ทุกคนและทุกภาคส่วน ต้องให้ความสำคัญ และต้องอาศัยความการทำงานร่วมกันทุกภาคส่วน หากขาดความเข้าใจต่ออนาคตแล้วสังคมไทยอาจต้องเผชิญผลกระทบเรื่องนี้อย่างรุนแรง

การศึกษาวิจัยด้านอนาคตศึกษาด้านสุขภาพจิตจึงสำคัญมากที่จะทำให้ภาครัฐและเอกชนร่วมกันวางแผนงานถูกทางนำไปสู่จัดลำดับความสำคัญประเด็นสุขภาพจิตความสุขของคนไทย และพัฒนาแผนการส่งเสริมและป้องกันด้านสุขภาพจิต ผ่านกลไกนโยบายและกฎหมายสาธารณสุข รวมถึงทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของประชาชน เพื่อให้สังคมไทยมีอนาคตที่พึงประสงค์ได้

ส่วนการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย “โครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านนวัตกรรมและอนาคตศึกษาด้านสุขภาพจิต” ครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นบูรณาการระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อยกระดับสุขภาพจิตของคนในสังคมไทย ทางกรมสุขภาพจิตยินดีจะร่วมค้นคว้า สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาวิจัยอนาคตศึกษาด้านสุขภาพจิตผ่านช่องทางต่าง  อย่างต่อเนื่อง นำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบายด้านสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม พัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพจิต ส่งเสริมการมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับองค์กร ชุมชน และประชาสังคม รวมถึงดูแลจิตใจอย่างเท่าเทียม

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชนหรือ NIA กล่าวว่า NIA มองอนาคตนวัตกรรม หรือ IFI ส่งเสริมและสนับสนุนการนำการมองอนาคตมาใช้ติดตามแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนในสังคมไทย มีรายงานว่าคนไทยต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้นทุกปี แต่การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตยังไม่ครอบคลุมมากนัก ยิ่งไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ผู้สูงอายุจะมีปัญหาสุขภาพจิตและปัญหาความขัดแย้งจากช่องว่างระหว่างวัยกลับซึ่งยังไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้

ดังนั้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อสันทนาการหรือเข้ามามีส่วนช่วยบริการทางด้านสุขภาพจิต จะช่วยยกระดับสุขภาวะของคนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพไทยนำเสนอบริการนวัตกรรมตอบโจทย์ด้านสุขภาพจิตหลากหลายรูปแบบ เช่น 1.จัดทำหลักสูตรสอนการฟังเชิงลึก (deep listening) โดยผ่านการรับรองจากกรมสุขภาพจิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในลักษณะ Software-as-a-Service (SaaS Platform) 2.ทำแอปพลิเคชันนำเสนอกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพจิตรูปแบบต่าง  ให้เป็นเรื่องสนุกและช่วยให้ผู้ใช้งานมีทักษะและพลังยืดหยุ่นด้านสุขภาพจิตมากขึ้น 3.ใช้แชทบอทที่ช่วยเก็บข้อมูลการทำกิจกรรมจากผู้ใช้งานไปวิเคราะห์ความเสี่ยงอาการซึมเศร้า

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตลดเวลาคัดกรองเบื้องต้น นำไปสู่การรักษาและดูแลได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อีกทั้งข้อมูลชุด “อนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย ..2576″ ของ 4 หน่วยงานพันธมิตร จะเป็นเครื่องมือการสร้างความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพจิต ส่งเสริมและพัฒนาการนำนวัตกรรมมาช่วยออกแบบอนาคตที่พึงประสงค์เรื่องการดูแลสุขภาพจิตคนไทยให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) กล่าวว่า ETDA คาดการณ์อนาคต Foresight Center by ETDA การทำหน้าที่เสมือนถังความคิด (Think Tank) ในการติดตามสัญญาณ(Signal) และแนวโน้ม (Trend) อนาคตเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ นำไปสู่การหาปัจจัยขับเคลื่อน (Driver) สู่การจัดทำเป็นภาพฉายอนาคต (Scenario) ต่อยอดการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ร่วมมือในการศึกษาอนาคตสุขภาพจิตสังคมไทย .. 2576″ ภายใต้ความร่วมมือของ ETDA กับ 3 หน่วยงาน จะเป็นก้าวสำคัญให้ภาครัฐและเอกชนได้ร่วมศึกษาจัดทำข้อมูล คาดการณ์อนาคตสุขภาพจิตคนไทยได้ว่ามีมิติไหนต้องจับตาหรือให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ยกระดับสุขภาพของคนไทยแบบองค์รวมอย่างไรให้มีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ

จากการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าปัจจุบันเทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทย(Technology in daily life) ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณทางเทคโนโลยีกับสุขภาพจิตใน 2 ประเด็นหลักได้แก่ 1.ความพร้อมก้าวสู่สังคมดิจิทัล (Readiness for digital age) คนไทยส่วนใหญ่พร้อมใช้งานโซเชียลเป็นอันดับต้น  ของโลก แต่ในมรู้เท่าทันกลับมีไม่มากนัก สะท้อนจากสถิติการถูกหลอกทางออนไลน์ ข่าวปลอม และการนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมีตัวเลขเพิ่มสูงต่อเนื่องทุกปี

ข้อมูลข้างต้นคือโจทย์สำคัญของประเทศกับ ETDA จะเดินหน้าอย่างไร เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัลไปพร้อม  กับสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ สร้าง Literacy ภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัลให้คนไทย และจะป้องกันผลกระทบปัญหาสุขภาพซึ่งเกิดจากการใช้เทคโนโลยีได้อย่างไร การศึกษาคาดการณ์อนาคตสุขภาพจิตของคนไทย จะเป็นข้อมูลขับเคลื่อนนโยบายทิศทางการดูแลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคตต่อไป

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ โดย บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (FutureTales Lab by MQDC) กล่าวว่า ปัจจุบันคนทั่วโลกเฉลี่ยมีโรคทางด้านสุขภาพจิต 36% สูงกว่าโรคมะเร็งซึ่งมี 34% ยิ่งไปกว่านั้นยังให้ความสำคัญกับสุขภาพใจพอกับสุขภาพกายเฉลี่ยถึง76% (ข้อมูลจาก IPSOS) ล่าสุดทาง UN ออกประกาศให้ 80 % ของประเทศในเครือข่ายทั่วโลกนำการดูแลสุขภาพจิตมาดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานภายในปี 2573 (ข้อมูลจาก WEF)

ส่วนประเทศไทย 80.6% ของคนเมือง มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มสูงขึ้น มากกว่าผู้อาศัยในเขตชนบทเกือบครึ่ง (48.9%) ชี้ให้เห็นว่าหากจะทำให้คนที่อาศัยในเมืองมีสุขภาวะที่ดี จะต้องเข้าใจและดูแลสุขภาพจิตให้เตรียมพร้อมกับหลากหลายเหตุการณ์ด้วย เช่น โรคระบาด หรือภาวะเศรษฐกิจไม่มั่นคง

งานวิจัยครั้งนี้ตอกย้ำเรื่องคาดการณ์อนาคตที่ทางนักวิจัยได้รวมสัญญาณสำคัญวิเคราะห์ฉากทัศน์ อนาคตที่จะเกิดขึ้นทำให้เข้าใจถึงสุขภาวะทางจิตใจคนเมือง และสามารถนำข้อมูลไปใช้กำหนดแนวทาง หรือนโยบายเกี่ยวกับสุขภาพจิตของคนไทยให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

ทั้งนี้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อร่วมกันรับมือ ป้องกัน และส่งเสริมสุขภาวะทางจิตของคนไทยในอนาคต นำเสนอปัญหาสำคัญ สถานการณ์ปัจจุบัน สัญญาณการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ ภาพอนาคต และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการเผยแพร่องค์ความรู้ออกสู่สาธารณะ ทั้งมิติสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม กฎหมาย นโยบาย และค่านิยม รวมถึงการออกแบบอนาคตที่พึงประสงค์ต่อการดูแลสุขภาพจิตของประเทศไทยในอนาคตร่วมกัน