“มนัญญา” ดันฝันเกษตรกรชาวสวนยางเป็นจริง ยกมาตรฐานน้ำยาง สู่อุปกรณ์จราจร

..มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา และนายพิเชษฐ์  วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ รวมทั้งข้าราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านสะท้อน จำกัด .จันทเขลม .เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

โดย ..มนัญญา กล่าวว่า โครงการนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ท่านนายกรัฐมนตรี พล.. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

โดยกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ริเริ่มที่สำคัญ ซึ่งหลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้ประกาศรับซื้อน้ำยางในโครงการดังกล่าว ส่งผลให้ราคายางดีขึ้นถึง 5 บาท และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก ทำให้เกษตรกรได้รับผลประโยชน์สูงสุด พร้อมด้วยการบูรณาการร่วมมือกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการดำเนินงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ร่วมผลักดันเกษตรกรชาวสวนยางไทยให้ได้รับโอกาสอย่างทั่วถึง ด้วยการสนับสนุนเครื่องมือ รวมถึงวัตถุดิบเพื่อขยายกำลังการผลิตให้แก่สหกรณ์สวนยางทั่วประเทศที่ความพร้อมและมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากกระทรวงคมนาคม  และสามารถกระจายรายได้สู่เกษตรกรอย่างทั่วถึง ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ของพี่น้องชาวจันทบุรี ที่เป็นประตูด่านแรกในการเป็นต้นแบบให้กับสหกรณ์กองทุนสวนยางอื่น  ต่อไป 

สำหรับโครงการการส่งเสริมการใช้ยางพาราในหน่วยงานรัฐบาล จัดขึ้นเพื่อชี้แจงนโยบายการส่งเสริมการใช้ยางพาราในภาครัฐให้กับสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ และถ่ายทอดองค์ความรู้และสาธิตการผลิตหลักนำทางยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Guide Post : RGP) รวมทั้งเพื่อวางแผนการผลิตให้เป็นไปตามปริมาณและมาตรฐานตามที่กระทรวงคมนาคมกำหนด 

ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมดูแลคุณภาพโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกระทรวงคมนาคม จะดำเนินการซื้อน้ำยางพาราจากเกษตรกรชาวสวนยางผ่านสหกรณ์การเกษตร เพื่อร่วมมือในการนำอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา ได้แก่ แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางจากยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) สำหรับนำไปใช้ประโยชน์เป็นอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยในหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม เพื่อยกระดับความปลอดภัยทางถนน และส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2563 – 11 มิถุนายน2568

ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวนอกจากจะลดความสูญเสีย ช่วยสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินบนท้องถนน และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางพารา กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้และอาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป 

เชื่อมั่นว่า สถาบันเกษตรกรจะมีศักยภาพผลิตหลักนำทางยางธรรมชาติ ตามนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้ยางพาราในภาครัฐเพิ่มขึ้น สำหรับ ปี 2563 กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท กำหนดแผนใช้เสาหลักนำทางยางธรรมชาติจำนวน 289,635 ต้น เพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราของเกษตรกรปริมาณ 34,481 ตัน ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 71%” ..มนัญญา กล่าว