พาไปดูศูนย์การค้าเซ็นทรัล มาเลเซีย เป็นศูนย์แรกที่กลุ่มเซ็นทรัลลงทุนในต่างประเทศ

บริเวณด้านหน้่าศู฿นย์การค้่าตรงขช้ามเป็นคอนโดมีเนียมขนาดใหญ่ ศูนรย์แห่วงนี้มีที่จอดรถในศูนรย์ 2,500 คัน และด้่านนอกเชื่อมต่อกันอีก 6,000 คัน รวมส 8,500 คัน

หลังจากเพียรพยายามมากว่า 7 ปี ตั้งแต่การเจรจาร่วมทุนไปจนถึงการหาทำเลทอง ลงมือดำเนินการก่อสร้าง ล่าสุดทางบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็นได้ฤกษ์ทำพิธีเปิดศูนย์การค้าในต่างประเทศเป็นศูนย์แรก ตามแผนการยกระดับเป็น Riginal Retail Platform เป็นศูนย์การค้าระดับภูมิภาคกับเป้าหมายพาแบรนด์ไทยไปต่างประเทศและเติบโตไปด้วยกัน

เพราะในการลงทุนในประเทศถือว่าเล็กเกินไปแล้วระดับของเซ็นทรัล เพราะมีศูนย์การค้าในประเทศไทยแล้ว 33 สาขาทั่วประเทศ และล่าสุดที่มาเลเซียเป็นสาขาที่ 34 ไม่รวมกับโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในประเทศอีกหลายโครงการ

ทาง TheJournalistclub.com เป็นหนึ่งในสื่อมวลชนที่ถูกรับเชิญไปร่วมพิธีเปิด จึงอยากจะพาไปเยี่ยมชมศูนย์ในต่างประเทศแห่งแรกว่ารูปร่างหน้่าตาจะเป็นอย่างไร ทางผู้ริโภคชาวมาเลย์ชื่นชอบหรือไม่ ตามไปดูกัน…

เริ่มจากศูนย์การค้าเซ็นทรัล-ไอซิตี้ (Central i-City) การร่วมทุนระหว่างซีพีเอ็น และไอ-เบอร์ฮาด (เจ้าของโครงการ ไอ-ซิตี้) ด้วยงบลงทุนกว่า 8,500 ล้านบาท บนพื้นที่ 28 ไร่ พื้นที่โครงการ 278,000 ตารางเมตร มีร้านค้ารวมกว่า 350 ร้านค้า โดยซีพีเอ็นถือหุ้น 60% และ ไอ-เบอร์ฮาด 40%

บริเวณทางเข้าศูนย์การค้ากับน้ำตกสวยงามขนาดใหญ่รอคอยต้อนรับลูกค้า

ตั้งอยู่ในโครงการ ไอ-ซิตี้ อัลตราโพลิส (i-City Ultrapolis) ไลฟ์สไตล์ ฮับ สุดยิ่งใหญ่ในเมืองชาห์อลัม ประกอบด้วยศูนย์การค้า, อาคารสำนักงานขนาดใหญ่, ที่อยู่อาศัย โรงแรม สวนสนุก และศูนย์กลางทางด้านไซเบอร์และนวัตกรรม ซึ่งโครงการนี้จะเสริมเมืองชาห์อลัมให้เป็นเมืองเทคโนโลยีแห่งใหม่ของมาเลเซีย (Malaysia Cybercenter) ตามนโยบายของรัฐบาลมาเลเซีย

นอกจากนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม โดยรัฐบาลแห่งสลังงอร์ จะผลักดันไอ-ซิตี้ให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวระดับเวิลด์คลาสของมาเลเซีย สะดวกในการคมนาคมจากทุกทิศทาง ทั้งจากกัวลาลัมเปอร์ เขตกลัง และเขตชาห์อลัม เดินทางสะดวกเพราะขนาบด้วยถนนหลวงสายหลัก 2 สาย มีทางเชื่อมจาก Federal Highway เพื่อเข้าสู่โครงการโดยตรง รวมถึงสะพานเชื่อมจากคอนโดมิเนียมในโครงการเข้าสู่ศูนย์การค้าโดยตรง

ในวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ได้ฤกษ์พิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดยได้รับเกียรติจากสุลต่านแห่งรัฐสลังงอร์ (His Royal Highness Sultan of Selangor, Sultan Sharafuddin Idris Shah Alhaj Ibni Almarhum, Sultan Salahuddin Abdul Aziz Shah Alhaj) ,สมเด็จพระราชินี และบรมวงศานุวงศ์ ร่วมด้วย Chief Minister แห่งรัฐสลังงอร์ และผู้บริหารระดับสูงของเซ็นทรัลกรุ๊ปและซีพีเอ็นอาทิ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ ซีพีเอ็น, นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล และคุณปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของซีพีเอ็น และผู้บริหาร ผู้ประกอบการไทย ให้เกียรติร่วมงานอย่างคับคั่งเพื่อดูลู่ทางการลงทุนในศูนย์การค้าแห่งนี้

นับเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ที่ซีพีเอ็นได้นำความเชี่ยวชาญทุกด้านในการพัฒนาศูนย์การค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Design, Merchandise Mix, Service และการสร้างสรรค์อีเว้นต์ที่แปลกใหม่ มานำเสนอประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับชาวมาเลเซีย

โดยคำนึงถึงความต้องการของคนท้องถิ่นเป็นหลัก ได้แก่ ชาวมาเลเซีย ชาวจีน และอินเดีย รวมถึงกลุ่ม Expat ชาวตะวันตก แต่ยังคงเอกลักษณ์ศูนย์การค้าของไทยไว้ เรียกได้ว่าเซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแบบ Multi-culture อย่างแท้จริง ตามคอนเซ็ปต์การสร้าง Center of Life ในทุกที่ที่เราเข้าไปลงทุน โดยศูนย์การค้าของเราจะเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตสำหรับคนในชุมชนอีกด้วย

ดีไซน์โอ่อ่าทันสมสัยตอบสนองความต้องการของผู็บริโภคชาวมาเลฃย์ที่ม่ีความแตกต่างทางเชื้อชาติได้อย่าลงตัว

ผู้บริหารชาวมาเลย์ในศูนย์การค้าแห่งนี้บอกว่า ศูนย์แห่งนี้ทำเลดีมาก แม้ว่าจะมีการเปิดร้านไปเพียง 70% แต่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการในวีนธรรมดาถึง 30,000 คน และ วันหยุดถึง 50,000 คน ทางร้านรวงต่างๆ ที่เหลือกำลังเร่งตกแต่ง อีกเหตุผลหนึ่งเพราะในเมืองนี้และใกล้เคียงไม่ถือวส่ามีคู่แข่งที่เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่และทันสมัยแบบนี้

ศูนย์การค้าแห่งนี้ได้นำเอาความเป็นไทยไปเป็นจุดขายมากมาย เป็นเพราะส่วนหนึ่งคนมาเลย์ชอบประเทศไทย รู้จักคุ้นเคยกันดี ร้านอาหารที่เปิดนับว่าเซ็นทรัล มาถูกทางเพราะได้แบ่งแยกโซนอาหารที่มีฮาลาลสำหรับชาวมาเลย์มุสลิม และโซนอาหารทั่วไปสำหรัีบคนจีนมาเลย์ คนต่างชาติและนักท่องเที่ยว พฤติกรรมของชาวมาเลย์นิยมทานอาหารนอกบ้านกัน ทำให้ร้านอาหารแน่นขนัดทั้ง 2 โซน อาหารที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคืออาหารไทย อาหารญี่ปุ่น และเกาหลี จึงไม่น่าแปลกวจเลยที่มีร้านอาหารไทยเปิดมากมายที่เป็นของคนไทยและคนมาเลเซียเป็นเจ้าของ

ร้านอาหารของคนไทยที่มาเปิดให้บริการแล้วคือร้าน Black Canyon, คาเฟอเมซอน สาขาแรกและจะเป็นสาขาต้นแบบที่จะลุยขยายสาขาทั่วประเทศมาเลเซีย, ชาตรามือ,ชาพยอม, บาร์บิวคิวพลาซ๋ากำลังตกแต่ง ยังไทม่รวมร้านแฟชั่นและอีกหลายแบรนด์ที่กำลังจะเปิดตัวตามเร็วๆ นี้

ร้านของบตคนไทยหนึ่งในร้านยอดนิยมของศูนย์การค้าแห่งนี้
ร้านอาหารญี่ปุ่นลูกค้าเต็มร้าน
ร้่นอาหารจีนขนาดใหญ่มาก และรสชาติอร่อยมาากด้วย

คุณวัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีพีเอ็น กล่าวว่า เซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ ถือเป็นความภาคภูมิใจของซีพีเอ็นที่ได้นำพาธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ ของไทยบุกตลาดต่างประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกระดับภูมิภาค แสดงศักยภาพศูนย์การค้าไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

วัลยา จิราธิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซีพีเอ็น

กับแนวคิด Thainess to The World สนับสนุนแบรนด์สินค้าไทยและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศ นำความเชี่ยวชาญด้าน Retail Mix มาพัฒนาศูนย์การค้าอินเตอร์แบบ Multi-culture

บรรยากาศช่วงวันเสาร์คตนเริ่มเข้าศูนย์การค้าเพื่อไปใช้บริการร้านอาหาร

ทางด้านห้างสรรพสินค้าโซโกเ (SOGO) จากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ดำเนินการ นัีบเป็นสาขาที่ 2 ในมาเลย์ สาขาแรกในอยู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นห้างสแตนอะโอน ได้รับความนิยมมาก จากความเชี่ยวชาญทางด้านเมอร์เชนไดส์และห้าง

สำหรับซูเปอร์มาร์เก็ต Village Grocer เป็นธุรกิจของชาวมาเลย์ที่ลงทุนเปิดช้อปขนาดใหญ่และได้ร่วมมือกับเซ็นทรัลฟูดส์หรือ Top นำสินค้าไทยไปจำหน่ายรวมทั้งสินค้าในโครงการหลวงด้วย

ทางด้านโรงภาพยนตร์ได้กลุ่ม TGV ซึ่งเป็นบริษัทคล้ายกับเมสเจอร์ ซีเนเพล็กซ์หรือเอสเอฟบ้านเรา มาลงทุน 9 โรงโดยใข้ Onyx ซึ่งเป็นของซัมซุง กับการใช้เทคโนโลยีการฉายภาพยนตร์แบบใหม่ โดยชาวมาเลย์ชอบดูภาพยนตร์ฮอลีวูด และจีน ส่วนภาพยนตร์ไทยชอบดูหนังผี โดยเฉพาะแม่นาคพระโขนงโด่งดังมากที่นี่

การไปร่วมงานเปิดตัวครั้งนี้ทางซีพีเอ็นปลื้มมากเพราะชาวมาเลบย์ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และเริ่มจับทางออกละว่าควรจะลงทุนและใช้กลยุทธ์แบบใด ขณะนี้กำลังมองทำเล 2 แห่งจะขึ้นโครงการใหม่ รวมทั้งในประเทศเวียดนามที่กำลังพิจารณาทำเลทอง 2 แห่งก่อนจะตัดสินใจเดินหน้าลงทุน ตามวิชั่น การเป็นศูนย์การค้าแห่งภูมิภาค ซึ่งจะมีผู้ประกอบการไทย แบรนด์ไทยตามไปเป็นแพล็ตฟอร์ม เรียกว่าเติบโตไปใสนต่างประเทศด้วยกัน