ปรับโฉมหน้าพลังงานไทย ปตท.นำทัพปลุกสำนึกลดโลกร้อน

ในฐานะเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ ซึ่งใหญ่พอจะผลักดันประเทศชาติให้ ขับเคลื่อนไปข้างหน้าในทิศทางที่จะสามารถเดินคู่ขนานไปกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เต็มไปด้วยความคิดใหม่ๆ เทคโนโลยีทันสมัย และนวัตกรรมขั้นสูงได้ กับการเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานจากฟอสซิล สู่พลังงานหมุนเวียนที่จะทำให้โลกใบนี้น่าอยู่ขึ้น สะอาดขึ้น ผู้คนมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น… 

ประหยัดภาระเรื่องการใช้พลังงานที่มีราคาแพงไปได้มากกว่าเดิม ลดมลภาวะเป็นพิษ และหาจุดสมดุลย์ของสภาพอากาศแปรปรวนอันเป็นส่วนสำคัญบนยอดปิรามิดที่อยู่เหนือการควบคุมได้

ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย (ด้านซ้าย) เป็นผู้นำทีมดูงานในครั้งนี้

นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงรับหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะ นำกลุ่มผู้บริหารระดับสูงในเครือปตท.ทุกกิจการ ตั้งแต่ บมจ.ปตท. บมจ.ไทยออลย์ บมจ.พีทีทีจีซี บมจ.จีพีเอสซี  บมจ.ปตท.สผ. บมจ.ไออาร์พีซี 

ตลอดจนถึงประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลี่ยมขั้นต้น และก๊าซธรรมชาติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มปิโตรเลี่ยมขั้นปลาย และเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ทำหน้าที่วางกลยุทธ์องค์กร และกลยุทธ์การดำเนินนโยบายในต่างประเทศ ร่วมกับคณะสื่อมวลชน 44 คน 

ทั้งหมดเดินทางไปดูงานกันในประเทศฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ในฐานะประเทศต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน ทั้งในด้านพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และเย็น ไปจนถึงพลังงานด้านการคมนาคมขนส่ง

ประเทศแรกที่ไปคือ ฟินแลนด์ ประเทศเจ้าของโทรศัพท์มือถือในระบบ GSM เครื่องแรกของโลก และยังเป็นโทรศัพท์มือถือที่ขายดีที่สุดในโลกที่พวกเรารู้จักกันในชื่อ “โนเกีย” 

หลายคนที่ได้ยินชื่อนี้ ตั้งคำถามใส่เราทันทีว่าไปดูบริษัทที่ล้มเหลว และปิดตัวไปแล้วทำไม? ทำให้นึกถึงสุภาษิตจีนที่ว่า “ผู้ชนะที่แท้จริง ย่อมไม่ย่อท้อ” โนเกีย ซึ่งผ่านพ้นทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวมาแล้ว คงใช้สุภาษิตเดียวกันนี้ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในโลกดิจิทัลอย่างต่อเนื่องเเพื่อกลับมายืนในเวทีโลกได้อีกครั้ง

ด้วยการก่อตั้ง Nokia Networks ขึ้น หลังเข้าซื้อหุ้นของ Siemens จากบริษัทร่วมทุนด้านอุปกรณ์โทรคมนาคม และวางรากฐานของตนเองเป็นผู้ให้บริการด้าน network hardware and software ก่อนขายหน่วยงาน Mobile และ Device ให้แก่ Microsoft 

โนเกีย ยังเข้าซื้อบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่ง เพื่อขยายธุรกิจ และฐานลูกค้า พร้อมๆ กับวางรากฐานให้ตนเองเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยีไร้สาย 5G   เพื่อให้โนเกียเป็นบริษัทเดียวที่สามารถให้บริการ end-to-end 5G network portfolio available on a global basis ได้ ก่อนจะนำตัวเองกลับเข้าสู่ธุรกิจสมาร์ทโฟนอีกครั้ง พร้อมๆ กับ network 6G ในมือ

บรรยากาศภายในออฟฟิศโนเกีย ดีไซน์ให้โปร่ง โล่งสยาบ

โลกของโนเกีย ภายใต้เป้าหมายที่กำหนดให้ตนเองต้องเป็นเลิศด้านการให้บริการทางการสื่อสาร การขยายตลาดแบบเฉพาะเจาะจง สู่การขนส่ง พลังงาน การผลิต การสร้างธุรกิจ Software ที่เข้มแข็ง และสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจทำให้ โนเกีย กลับมายืนบนเวทีโลกได้อย่างสง่างาม…

ด้วยการได้รับรางวัลโนเบล 9 รางวัล ทั้งที่มาจากการเป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีไร้สายครบวงจร และ การเป็นบริษัทวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญ ที่มีผลกระทบต่อพลังงานในอาคต การวางระบบพัฒนาพลังงานทดแทน และการกักเก็บพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครือข่ายอัจฉริยะที่สร้างขึ้น

อย่างไรก็ตาม การกลับมาของ โนเกีย รวมถึงการเติบใหญ่ของธุรกิจที่เน้นไปในด้านการพัฒนาพลังงานสะอาด และการใช้พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Fortum บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศนอร์ดิกนั้น

ล้วนแล้วแต่ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากรัฐบาลฟินแลนด์ 

ในการพบกันระหว่างคณะของ ปตท.กับ กระทรวงเศรษฐกิจ และการจ้างงาน (Ministry of Economics Affairs and Employment) ของฟินแลนด์ อธิบดีกระทรวงนี้ และหน่วยงานหลักอย่าง Head of Smart Energy Program ได้นำเอาภาคเอกชนรายใหญ่ๆข องตนสองสามรายมาชี้แจง แสดงศักยภาพในการพร้อมรับเป็นผู้บริหารจัดการด้านพลังงานสะอาด และเทคโนโลยีขั้นสูงให้แก่ประเทศไทยด้วย หากยึดมั่นในแนวทางเดียวกัน

ฟินแลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นที่ป่าปกคลุมทั้งส้ิน 71% ทำให้รัฐบาลต้องบริหารการใช้ป่าไม้สำหรับภาคอุตสาหกรรม กับพลังงานทดแทนให้เกิดความสมดุลย์ ภายใต้งานวิจัย และพัฒนาปีละ 500 ล้านยูโร เพื่อทำให้รัฐบาลฟินแลนด์สามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการทำให้การปล่อยเท่ากับการดูดกลับจากส่ิงแวดล้อมที่มีค่าเท่ากับศูนย์ในปีค.ศ.2035 โดยการใช้พลังงานหมุนเวียนจากไม้ 80% 

บรรยากาศภายในออฟฟิศโนเกีย

ก่อนจะไปถึงจุดนั้น พวกเขาตั้งเป้าหมายให้ปีค.ศ.2035 ต้องลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลลงอีก 50% และไม่ใช้พลังงานจากถ่านหินอีกต่อไป และเนื่องจากพลังงานหมุนเวียนมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ รัฐบาลจึงพยายามใช้พลังงานหมุนเวียนในภาคการขนส่งมากขึ้นโดยตั้งเป้าใช้ Biofuels 20% ในปี ค.ศ.2020 

ส่วนจำนวนรถ EV ที่ยังมีการใช้กันต่ำอยู่เมื่อเทียบกับประทศในยุโรปด้วยกัน รัฐบาลกำหนดให้ภาครัฐและเอกชนร่วมกันสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลัก คือ แท่นเต็มประจุ (Charging Station) ให้พร้อม โดยรัฐจะใช้การจัดการด้านภาษี การจำกัดการผลิต การส่งเสริมการลงทุน และการสนับสนุนรถไฟฟ้าเป็นเครื่องมือ

ด้านบริษัท Fortum บริษัทชั้นนำด้านพลังงานสะอาด และให้บริการลูกค้าในด้านไฟฟ้าความร้อน-ความเย็น รวมถึงการพัฒนาการใข้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น 

CEO ของ Fortum ระบุว่า ปีหน้า หรือ ปีค.ศ.2020 พลังงานไฟฟ้าสะอาดจะเป็นตัวการขับเคลื่อนสำคัญเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขณะที่ Fortum มีเป้าหมายเป็น Utility of Future หรือส่ิงจำเป็น (ประโยชน์) สำหรับอนาคต 

ในเวลาเดียวกัน โลกต้องมีการจัดการขยะ และ rycycle อันเนื่องมากจากการเติบโตของเมือง และประชากร รวมถึงการตระหนักถึงปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้น ส่วนตลาดของการรีไซเคิ้ล และพลังงานขยะจะเติบโตอย่างรวดเร็วโดยที่การฝังกลบจะมีสัดส่วนที่น้อยลง 

ที่สำคัญ Fortum จะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์กับโลกมากขึ้น โดยพลาสติกจากการรีไซเคิ้ล จะเป็นที่ต้องการสูงของผู้บริโภคในอนาคต

ก่อนจะออกจากฟินแลนด์ไปเดนมาร์ก เราอยากย้ำว่า นโยบายที่เข้มแข็ง และต่อเนื่องของรัฐบาล ทำให้ประเทศฟินแลนด์เป็นหน่ึงในประเทศที่มีเศรษฐกิจเชิงนวัตกรรมสูงที่สุดในโลก

ความเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรมอันดับ 3 ของโลก (เกาหลีใต้อันดับ 1 และเยอรมนี อันดับ 2) นี้เกิดจากการมีบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เงินลงทุนจากการวิจัยของภาครัฐผ่านหน่วยงานสำคัญๆ การสรรหาบุคคลากรมืออาชีพในระดับโลกเข้ามาอยู่ในประเทศ 

ตลอดจนถึงการมีระบบ ICT: Information and Communication Technology หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ที่ก้าวหน้า รวมถึงการมีความร่วมมือระหว่างผู้ใช้ บริษัท และภาครัฐเพื่อสร้างสถานที่ท่ีเหมาะสม แก่การทดลอง

ส่วนที่ประเทศเดนมาร์ก โครงสร้างของหน่วยงานรัฐ และหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายภายใต้กระทรวงที่เรียกว่า Ministry of Climate, Energy and Utility ที่จะต้องบริหารจัดการด้านพลังงาน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างส่ิงที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงอยู่ของโลกอนาคตนั้น

จัดเป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่งในบริบทขององค์รวมที่เปิดทางให้สามารถจัดตั้งองค์กรอิสระ และสถาบันให้คำปรึกษาด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรน้ำ พลังงาน แร่ธาตุ และผู้จัดเก็บข้อมูลเพื่อรับผิดชอบงานวิจัย ให้คำปรึกษา สื่อสารเกี่ยวกับการแสวงหาผลประโยชน์ และปกป้องทรัพยากรธรณี องค์กรนี้มีสำนักงานอยู่ที่ กรีนแลนด์ แผ่นดินที่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานธิบดีสหรัฐ อยากได้นั่นเอง

รัฐบาลเดนมาร์ก ยังจัดตั้งหน่วยงานอีกมากมายเพื่อแยกแยะหน้าที่การบริหารจัดการด้านต่างๆ ตั้งแต่ ด้านอุตุนิยม น่านน้ำ การตรวจสอบ ติดตามสภาพ อากาศ และการแจ้งเตือนภัย 

ในเวลาเดียวกัน ก็มีหน่วยงานที่จะทำการสำรวจ จัดทำแผนที่ จดทะเบียนที่ดินในเดนมาร์ก หมู่เกาะแฟโร กรีนแลนด์ รวมถึงน่านน้ำต่างๆ

ยังมีหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการผลิต อุปสงค์-อุปทานด้านพลังงาน การลดปริมาณคาร์บอน การจัดการขยะ และการโทรคมนาคม แยกขาดจากหน่วยงานที่กำกับดูแลตลาดไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และความร้อนในเดนมาร์ก การกำกับดูแลบริษัทที่ให้บริการด้านโครงข่าย การกำหนดปริมาณขั้นต่ำที่ต้องผลิต รวมถึงการกำหนดราคาให้แก่ผู้ขายไฟ และก๊าซธรรมชาติ

ขณะที่มีการกำหนดให้มีรัฐวิสาหกิจอิสระเป็นเจ้าของเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ มีหน้าที่สำรองพลังงานเหล่านี้ พร้อมดูแลสายส่งสู่ครัวเรือน ทั้งนี้ รัฐบาลเดนมาร์ก ยังต้องมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอิสระที่จะให้คำปรึกษาด้านนโยบาย และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเพื่อการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าด้วย 

ทีมงานจากโนเกีย สาธิตวเทคโนโลยีเครื่องมือผ่าตัดระยะไกล

ประเทศนี้กำหนดเป้าหมายให้ปี ค.ศ.2050 พลังงานที่ใช้ทั้งหมด 100% จะต้องมากจากพลังงานหมุนเวียน โดยทุกวันนี้ เดนมาร์กใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพียง 3% เท่านั้น นอกนั้นเป็นพลังงานลม 49% ก๊าซธรรมชาติ 7% ถ่านหิน 22% พลังงานหมุนเวียนจาก Biomass พลังงานแสงอาทิตย์ และขยะ 19% 

ดูเขา แล้วหันมาดูเรา ความแตกต่างทางความคิด และโครงสร้างการบริหารจัดการในเรื่องของพลังงาน ยังดูห่างไกลกันมาก ไม่ว่าจะในบริบทใด

    ในเวลาที่ประเทศต่างๆ เดินไปถึงเป้าหมาย ประเทศไทยเราจะยังเดินต้วมเตี้ยมอยู่ตรงไหน หรือก้าวกระโดดไปยืนอยู่บนเวทีโลกกับเขาได้ คงต้องขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ ความสามารถของรัฐ ผู้นำ และบริษัทพลังงานแห่งชาติอย่าง ปตท.เป็นหลัก

กิตติ สิงหาปัด ทดสอบเตะฟุตบอลกับจอ AI