“ประวิตร” ทุ่ม 4 แสนล้านบาทแก้วิกฤติน้ำ

  • ชง “บิ๊กตู่” นั่งประธานวอร์รูมคุมน้ำท่วม
  • “สทนช.”ยันน้ำท่วมที่อุบลราชธานี เริ่มดีขึ้นแล้ว
  • เคาะงบปี63 ลุย 5 หมื่นโครงการทั่วไทย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการประชุมคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ (กนช.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบโครงสร้างการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและกองอำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ (วอร์รูม) เพื่ออำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำและบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนเพื่อบริหารจัดการมวลน้ำ ได้อย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทรัพยากรน้ำพ.ศ.2561

ประกอบด้วย 1.ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการ รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองผู้บัญชา การ และเลขาธิการ สทนช.เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ควบคุม สั่งการ บัญชาการ และอำนวยการแก้ไขวิกฤติน้ำ โดยบัญชาการร่วมกับกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ในกรณีที่เป็นสาธารณภัยด้านทรัพยากรน้ำหรือวิกฤติน้ำ และ2.กองอำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ มีรองนายกรัฐ มนตรีเป็นประธาน เลขาธิการ สทนช.เป็นรองประธาน และรองเลขาธิการ สทนช. เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่อำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ติดตาม วิเคราะห์แนวโน้ม ควบคุม กำกับ ดูแลและสรุปข้อมูล ประกอบการตัดสินใจของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ และบูรณาการบริหารจัดการวิกฤติน้ำและยกระดับสถาน การณ์กรณีที่มีแนว

ด้านนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าว่า ปัญหาน้ำท่วมภาคอีสาน โดยเฉพาะน้ำท่วม จังหวัดอุบลราชธานี คาดว่า น้ำที่ไหลผ่านสะพานเสรีประชาธิปไตย เร็วขึ้นและจะมีการเร่งระบายน้ำและพร้อมติดตั้งเครื่องดันน้ำ ที่อำเภอพิบูลย์และอำเภอโขงเจียม โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประ มาณ 20 วัน จะระบายน้ำได้หมด และคาดว่า ประชาชนจะเริ่มกลับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยได้ปกติประมาณ วันที่ 27 ก.ย.นี้ โดยปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งจะเริ่มกลับเข้าไปอยู่ในตลิ่งได้ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย. แต่ไม่ได้หมายความว่า น้ำจะแห้งไปหมดเพราะจะมีการผันน้ำไปจัดเก็บไว้ในเขื่อน หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และแก้มลิงที่เตรียมไว้

ส่วนการระบายน้ำในเขื่อนเจ้าพระยานั้น ล่าสุดเขื่อนภูมิพลฯ และเขื่อนสิริกิติ์ ได้ปล่อยน้ำออกจากเขื่อนลดลงแล้ว แต่ยังมีน้ำอีกมวลอีกก้อนหนึ่งที่จะไหลผ่าน เขื่อนเจ้าพระยาในตอนนี้ แต่ปริมาณน้อยกว่ารอบที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ได้สั่งให้เขื่อนเจ้าพระยาหากจะปิด หรือเปิดประตูเขื่อนเจ้าพระยา ต้องแจ้งให้ประชาชนรับทราบ และหากมีปล่อยน้ำมากกว่า 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที ต้องแจ้งให้คณะอนุกรรมการ สทนช. เพื่อรายงานวอร์รูม รับทราบต่อไป

ส่วนผลการประชุม กนช.ได้เห็นชอบ 3 โครงการขนาดใหญ่วงเงินกว่า 18,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างเพื่อการพัฒนา ปี 2561 ของการประปาส่วนภูมิภาคจำนวน 6 โครงการ วงเงินงบประมาณ 11,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จสิ้นจะสามารถผลิตน้ำประปาได้เพิ่มขึ้น 332,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน 2.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปี 2564-68) วงเงิน 6,130 ล้านบาท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำพื้นที่ฝั่งธนบุรี และ3.โครงการแก้ปัญหาอุทกภัยลุ่มน้ำเพชรบุรีตอน ล่าง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพคลองระบายน้ำ D1 จากแม่น้ำเพชรบุรีลงสู่อ่าวไทยได้เร็วขึ้น ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปี 2564-68 ) ก่อนจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะ รัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุมยังพิจารณาแผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปี 2563 ประกอบด้วย 28 หน่วยงาน จำนวน 57,975 โครงการ วงเงินกว่า 310,000 ล้านบาท ที่กระจาย ลงทุกภาคทั่วประเทศ และรับ ทราบความคืบหน้าโครงการสำคัญปี 2562 ที่รัฐบาลใช้งบกลางกว่า 19,000 ล้านบาท เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำและเพิ่มต้นทุนน้ำ จำนวน 144 โครงการ โครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ 30,000 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งงบประมาณที่กระจายให้ทุกจังหวัดแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย.