“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจโควิดระบาดหนัก เพราะประเทศมีวัคซีนไม่พอ-ประชาชนบางส่วนการ์ดตก

  • การฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างช้ามาก
  • รัฐบาลไม่ยอมล็อกดาวน์แบบเบ็ดเสร็จ
  • สายพันธุ์เดลตา ติดง่ายมาก -ศบค. บริหารงานผิดพลาด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทำไม COVID-19 รอบนี้ระบาดหนัก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 18 สิงหาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,314 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเมืองไทยขณะนี้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างมากของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเมืองไทยขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.75 ระบุว่า ประชาชนส่วนหนึ่งประมาทในการป้องกัน และประเทศมีวัคซีนไม่เพียงพอ ในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมา ร้อยละ 36.00 ระบุว่า การฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างช้ามาก ร้อยละ 31.43 ระบุว่า ประชาชนส่วนหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกัน ร้อยละ 25.80 ระบุว่า รัฐบาลไม่ยอมล็อกดาวน์แบบเบ็ดเสร็จ ร้อยละ 21.31 ระบุว่า เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สายพันธุ์เดลตา ติดง่ายมาก ร้อยละ 17.73 ระบุว่า ศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) บริหารงานผิดพลาด ร้อยละ 12.86 ระบุว่า แรงงานต่างด้าวยังคงลักลอบเข้าเมือง ร้อยละ 10.88 ระบุว่า มีการแพร่ระบาดทั่วโลก ประเทศไทยหลบหลีกไม่ได้ ร้อยละ 10.20 ระบุว่า มีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มากขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 0.99 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลไม่มีมาตรการในการป้องกันและรักษาอย่างจริงจัง การอนุญาตของภาครัฐให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ และการจัดสรรงบประมาณในด้านสาธารณสุข ไม่ทั่วถึง และร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนเชื่อมั่นมากที่สุดในการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.91 ระบุว่า หมอ/นักวิชาการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน รองลงมา ร้อยละ 23.36 ระบุว่า สื่อมวลชน ร้อยละ 23.29 ระบุว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 16.97 ระบุว่า หมอ/นักวิชาการทางการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 16.51 ระบุว่า ศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) ร้อยละ 10.81 ระบุว่า ไม่เชื่อใครเลย ร้อยละ 5.33 ระบุว่า นักวิชาการทั่วไป ร้อยละ 3.88 ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐทั่ว ๆ ไป ร้อยละ 1.29 ระบุว่า ดารา นักร้อง เซเลบ ไอดอลชื่อดัง ร้อยละ 0.61 ระบุว่า นักการเมือง ร้อยละ 0.08  ระบุว่า คนในชุมชน และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.83 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.95 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.26 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.47 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.93 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.07 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 7.46 มีอายุ 15 – 25 ปี ร้อยละ 16.97 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.30 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.34 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 20.93 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.36 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.65 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.76 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.23 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.30 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.13 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.27 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 28.92 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.70 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.20 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.19 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.68 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 10.20 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.84 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.10ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.70 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.98 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 22.07 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.43 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.68 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 22.53 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 28.31 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.99 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 8.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 4.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.21 ไม่ระบุรายได้