นิด้าโพลเผย สังคมไทยยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ

21203840 - girl showing stop sign on grey background
  • มองการที่ผู้หญิงแต่งตัวโป๊-ถูกแอบถ่ายรูปไปลงในโซเชียล
  • ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศถึงร้อยละ 23.19%

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับ ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ จำนวน 1,311 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง “ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย”

จากการสำรวจ เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเข้าใจในรูปแบบหรือลักษณะความรุนแรงทางเพศ พบว่า การที่นักเรียนชายรุ่นพี่พยายามข่มขืนนักเรียนหญิงรุ่นน้องที่คิดว่าชอบตัวเอง ตัวอย่างร้อยละ 86 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 2.14 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

การที่สามีบังคับให้ภรรยา (ซึ่งไม่มีงานทำหรือไม่มีรายได้) ค้าบริการทางเพศ โดยขู่ว่าจะไล่ออกจากบ้านหากไม่ยอมทำตาม ตัวอย่างร้อยละ 30 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 8.70 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

การหว่านล้อมจากการคุยออนไลน์ให้ผู้หญิงส่งรูปเปลือยของตนเองไปให้ แล้วขู่ว่าจะประจานให้เสียชื่อเสียงหากไม่ส่งเงินมาให้ ตัวอย่างร้อยละ 90 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 15.10 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

เหตุการณ์จากหัวข้อข่าว “สาวสวยถูกแฟนทำร้ายดับ อ้างหึงหวง” ตัวอย่างร้อยละ 14 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 16.86 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

การที่ผู้หญิงแต่งตัวโป๊และถูกแอบถ่ายรูปไปลงในโซเชียลมีเดียและวิพากษ์วิจารณ์จนเธอรู้สึกอับอาย ตัวอย่างร้อยละ 81 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 23.19 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

การที่พนักงานรู้สึกอึดอัดใจที่ผู้บริหารมักเล่าเรื่องขำขันเชิงเพศและแชร์รูปโป๊เปลือยบ่อยครั้ง รวมทั้งแซวรูปโฉมผู้หญิง ตัวอย่างร้อยละ 76.81 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 219 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

การที่สามีบังคับให้ภรรยามีเพศสัมพันธ์ด้วยในขณะที่ภรรยาไม่ยินยอม ตัวอย่างร้อยละ 31 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 27.69 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

การที่เด็กหญิงไม่พอใจที่ญาติสนิทผู้ชายชอบกอดและหอมแก้ม ตัวอย่างร้อยละ 71.32 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 28.68 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

การที่สามีหรือภรรยามีชู้หรือนอกใจ จนกระทั่งอีกฝ่ายเกิดความเศร้าโศกเสียใจ ตัวอย่างร้อยละ 17 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 47.83 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

การชักชวนให้เหยื่อออนไลน์หลงรัก และหลอกให้โอนเงินให้ ตัวอย่างร้อยละ 50.88 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 49.12 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ

ท้ายที่สุด เมื่อถามประชาชนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงทางเพศ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 64.15 ระบุว่า ผู้ชายขาดความเคารพในผู้หญิง รองลงมา ร้อยละ 50.04 ระบุว่า ผู้ชายขาดความเข้าใจในความรู้สึกยินยอมหรือไม่ยินยอมของผู้หญิง ร้อยละ 47.52 ระบุว่า ผู้หญิงแต่งตัวไม่ดี ให้ท่าผู้ชาย ร้อยละ 3.51 ระบุว่า การเลียนแบบพฤติกรรมที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อ เช่น ละคร สื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 1.53 ระบุว่า ยาเสพติดและสิ่งมึนเมา ร้อยละ 0.69 ระบุว่า การเลี้ยงดูของครอบครัว ร้อยละ 0.53 ระบุว่า ขาดสติ/อารมณ์ชั่ววูบ ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ปัญหาชู้สาว ร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่เกรงกลัวบทลงโทษตามกฎหมาย และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ค่านิยมผู้ชายเป็นใหญ่