นักวิชาการต่างชาติมอง 4 จุด ในประวัติศาสตร์อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของไทยในการยับยั้งการแพร่ระบาดครั้งใหญ่

ภาพจาก AP
  • เปิดข้อมูลความสำเร็จของระบบสาธารณสุขไทยกับการยับยั้งการระบาดครั้งใหญ่
  • ท่ามกลางความสงสัยในระบบการบริหารของรัฐบาลว่าทำไมถึงเอาอยู่
  • ตั้งแต่การรณรงค์การวางแผนครอบครัว การรณรงค์เอชไอวี โครงการตาวิเศษและระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ศ.วาลเดน เบลโล นักวิชาการนักสิ่งแวดล้อมและนักสังคมสงเคราะห์ได้เขียนบทความลงบน fpif.org ว่าทำไมประเทศไทยถึงยับยั้งการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ดี ท่ามกลางความปั่นป่วนทางการเมือง แต่ระบบสาธารณสุขที่ได้รับการสนับสนับสนุนในวงกว้างไม่ได้มาจากกฏหมายจากเบื้องบนทำให้เกิดความแตกต่างกับประเทศอื่นได้

ปฐมบทของการแพร่ระบาดของไวรัสจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างรวดเร็วในในช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศไทยซึ่งถือว่าเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวจีนมีความสะพรึงกลัวมากที่สุด เฉพาะชาวจีนจากเมืองอู่ฮั่นซึ่งเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดเดินทางเข้ามาในเดือนดังกล่าวถึง 7,000 คน

ภายใต้วิถีชีวิตใหม่ของชาวไทยและผู้คนได้กลับไปทำงานใหม่ มีคำถามมากมายว่าทำไมประเทศไทยมีการจัดการรับมือที่มีประสิทธิภาพมากกว่าประเทศอื่นๆ

ความจริงที่ว่าไต้หวัน มีผู้ป่วย 443 ราย และเวียดนาม 332 ราย ซึ่งมีสถิติที่ดีกว่าไทย ซึ่งการมีการติดเชื้อ 3,125 ราย และเสียชีวิต 58 ราย อัตราการรักษาหาย 96%

สิ่งนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบในสหรัฐ, ยุโรปและบราซิล ขณะที่เยอรมัน เป็นหนึ่งในยุโรปที่มีการจัดการได้มีประสิทธิภาพ กับประชากรจำนวน 83 ล้านคนซึ่งอยู่ไม่ห่างจากไทยที่มีจำนวน  70 ล้านคน แต่ยังมีผู้ติดเชื้อ 181,288 รายของเยอรมนีและมีผู้เสียชีวิต 8,498 ราย 

และในเอเชียถ้าเราดูตัวเลขประเทศไทยทำได้ดีกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ซึ่งสองประเทศดังกล่าวมักมักเขียนเป็นเรื่องราวความสำเร็จบ่อยครัง

การศึกษาอย่างละเอียดว่าเหตุใดประเทศไทยจึงสามารถทำได้ดีกว่าประเทศใหญ่ ๆ ส่วนใหญ่อาจจะไม่พร้อมสำหรับบางเวลา ศ.วาลเดน เบลโล ได้อธิบายสิ่งที่เกิดจากการสังเกตของระหว่างติดอยู่ในกรุงเทพในช่วงของการระบาดใหญ่และจากการรู้อะไรเกี่ยวกับประเทศไทยที่เขาได้ติดตามมานานหลายปี

ซอฟต์ล็อคดาวน์

ในช่วงของการระบาดใหญ่ในเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนประเทศไทยได้ปิดประเทศบางส่วน หรือ ซอฟต์ล็อคดาวน์

สถานประกอบการภาครัฐและเอกชนปิดทำการทั่วประเทศ ยกเว้นโรงพยาบาลร้านขายยา ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารให้ซื้อกลับบ้านและบริการที่จำเป็นอื่น ๆ ตลาดสดเปิดกว้าง

ในขณะที่การเดินทางโดยรถบัสระหว่างจังหวัดและการเดินทางทางอากาศได้หยุดลง และไม่มีข้อจำกัดใดๆ สำหรับการห้ามประชาชนเดินทางในท้องที่ ยกเว้นการประกาศเคอร์ฟิวตั้งแต่เวลา 22.00 – 4.00 น. สำหรับในกรุงเทพฯ รถเมล์ รถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินยังคงเปิดให้บริการ

ในช่วงเริ่มต้นมาตรการการป้องกันมีความสับสน การปิดตัวลงของธุรกิจและโรงงานต่างๆ อย่างฉับพลัน โดยไม่สนใจว่าผู้คนจะอยู่รอดได้อย่างไร ทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องอพยพจากกรุงเทพอย่างเร่งรีบ ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 กระจายไปทั่ว

นอกจากนี้ยังขาดการประสานงานระดับชาติ ทำให้การเดินทางไปหลายๆ จังหวัดมีความยากลำบาก ในบางพื้นที่ปิดตัวลงไม่ต้อนรับนักท่องเที่ยวหากโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่น

แม้จะมีข้อผิดพลาดบ้างของความเป็นผู้นำทางการเมือง แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็ทำให้สถานการณ์มีเสถียรภาพไม่นานัก  เช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบอกว่าพวกเขาไม่มีทรัพยากรที่จะทำการตรวจเชื้อไวรัสในระดับวงกว้าง 

ประเทศไทยได้ใช้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อการติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วย, การกักกันผู้ที่ตรวจเชื้อที่มีผลเป็นบวก, การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงในโรงพยาบาล รวมถึงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่งเดินทางมาถึงให้อยู่ห่างจากพื้นที่โซนอันตรายให้กักกันตนเองหรือในสถานที่รัฐจัดให้ 

โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการป้องกันการระบาดในระดับชุมชน พวกเขาตรวจสอบความเคลื่อนไหวของประชาชนทั้งในและนอกหมู่บ้าน ไปเยี่ยมชาวบ้านเพื่อตรวจวัดไข้ แบ่งปันข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับโควิด-19  วิธีการบันทึกข้อมูลสุขภาพในครัวเรือน จากนั้นจะรายงานข้อมูลไปยังสาธารณสุขจังหวัดและรัฐบาลกลาง ซึ่งอสม.มีสมาชิกมากกว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศ ส่วนในกรุงเทพมีประมาณ 15,000 คน

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศจีน

คำอธิบายที่เป็นที่นิยมว่าทำไมประเทศในเอเชียจัดการกับรับมือไวรัสโควิด-19 ได้ดีกว่าสหรัฐฯ และยุโรป คือพวกเขามีรัฐบาลเผด็จการที่สามารถรวบรวมการตอบสนองแบบรวมศูนย์จากด้านบนได้อย่างรวดเร็ว กรณีของไทยกับรัฐบาลที่มาจากกองทัพดูเหมือนว่าจะเหมาะสมกับกฎตายตัวนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เอาแบบอย่างของจีนมาใช้

นับมุมมองนี้ตื้นมากจริงๆ ในขณะที่รัฐบาลไทยประกาศใช้ พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน การต่อสู้กับการระบาดใหญ่ นำโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้มีกลยุทธ์ในจูงใจประชาชนใช้หน้ากากอนามัย การรักษาความสะอาด การเว้นระยะห่างทางสังคมและให้อยู่บ้าน ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นงานนี้ส่วนใหญ่ดำเนินการในระดับรากหญ้าโดย อสม.

การแจ้งเตือนด้วยภาพและเสียงที่ความสุภาพนั้นแพร่หลายทั้งในที่สาธารณะและซูเปอร์มาร์เก็ต ในโทรทัศน์มีคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และหนึ่งในจุดที่ถูกจับตามองมากที่สุดคือการอัพเดทสถานการณ์ทุกวันในเวลา 11.00 น. ของศูนย์บิรหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) นำโดยนายแพทย์ที่ให้ข้อมูลตัวเลข ของประเทศและนานาชาติและใช้โอกาสในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ชาวไทยด้วย

ระบอบการปกครองปัจจุบันคือแบ่งอำนาจออกไป  ไม่ว่าจะเป็นเจตนารมณ์ใดมันให้การตัดสินใจอย่างชาญฉลาดสำหรับผู้นำทางทหารในการมอบเวทีกลางให้กับกระทรวงสาธารณสุขด้วยภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพอย่างทั่วถึง 

สิ่งนี้ตรงกันข้ามกับสหรัฐฯ ที่ประธานาธิบดี “โดนัลด์ ทรัมป์” มีความขัดแย้งกับผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเขา หรือ ฟิลิปปินส์ซึ่งประธานาธิบดี “โรดรีโก ดูแตร์เต้” ใช้ตำรวจและขู่ว่าจะยิงประชาชนแทนที่จะชักชวนให้ปฏิบัติตามนโยบาย

แท้จริงแล้วในมุมมองของผู้สังเกตการณ์บางคน ในการทำงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขไม่จำเป็นต้องมีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน วัตถุประสงค์หลักคือในมุมมองของพวกเขามีสองต่อ: เพื่อรวมรัฐบาลที่มาจากหลายพรรคมีความร้าวฉาน บ่งบอกถึงความสับสนของผู้นำทางการเมืองในการตอบสนองต่อวิกฤติในช่วงแรก

จากสิ่งบ่งชี้ส่วนใหญ่กลยุทธ์การชักชวนที่ประสบความสำเร็จ ศ.วาลเดน เบลโล ระบุว่า การสังเกตส่วนตัวนั้น แสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติตามการรักษาระยะห่างทางสังคม หนึ่งถึงสองเมตร  สังคมไทยคนทั่วไปพยายามที่จะปฏิบัติตามอย่างสงบเสงี่ยมที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกเจ็บปวดของผู้คน 

รถบัสและรถไฟใต้ดินและรถไฟฟ้าจำกัดจำนวนคนเดินเดินทางเพียง 15-20% ซึ่งหมายความว่าผู้คนพักอยู่ที่บ้านกัน ไม่เคยเห็นขนส่งมวลชนว่างเปล่า แยกผู้โดยสาร รวมทั้งการสวมใส่หน้ากากอนามัยกัน

คำถามเกี่ยวกับการสวมใส่หน้ากาก

สำหรับคำถามเกี่ยวกับการสวมใส่หน้ากาก คนไทยไม่ได้รอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบอกให้สวมใส่ พวกเขาฉลาดพอที่จะเพิกเฉยก่อนหน้านี้หรือคำแนะนำที่โง่เขลาขององค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้

แต่เพราะก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ เขาระบุสังเกตุว่า คนไทยสวมใส่หน้ากากจำนวนมากเนื่องจากมลพิษทางอากาศในระดับสูงของกรุงเทพฯ เมื่อความหวาดผวาการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในต้นเดือนมกราคม คนไทยสวมใส่หน้ากากเพิ่ม 90 เปอร์เซ็นต์ และสวมหน้ากากถึง 99% ในช่วงกลางเดือนมีนาคม

ซึ่งการสำรวจได้รับการยืนยันจากการสำรวจการสวมใส่หน้ากากทั่วโลก โดย YouGov ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยในสหราชอาณาจักร ว่าคนไทย 95% สวมใส่หน้ากากในที่สาธารณะและไทย เป็นประเทศที่มีการสำรวจสูงที่สุดใน6 ประเทศกลุ่มอาเซียน ตรงข้ามกับจำนวน 15 เปอร์เซ็นต์ในสหราชอาณาจักร จำนวน 44% ในฝรั่งเศส และ 48% ในสหรัฐฯ

ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ที่ผ่านมา พบว่านักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวนมากที่ยังคงปฏิบัติตามคำแนะนำของ WHO  รัฐมนตรีสาธารณสุขของไทยกล่าวถึงนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกว่า “สกปรก” พร้อมกล่าวว่า “คนไทย 90% สวมหน้ากาก อย่างไรก็ตามไม่มีคนผิวขาวสวมหน้ากาก” (โชคดีที่สุภาพรมว.สาธาณสุข คนนี้นี้ไม่ใช่ผู้ออกสื่อสาธารณะในช่วงวิกฤต) อย่างไรก็ตามเนื่องจาก WHO กลับคำตัดสินว่าแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยในต้นเดือนเมษายน จึงไม่ค่อยพบเห็นชาวตะวันตกไม่สวมใส่หน้ากากอีกต่อไป

สุขอนามัยและโควิด-19

ความรู้สึกของ ศ.วาลเดน เบลโล  คือการรณรงค์การชักชวนประสบความสำเร็จเพราะมันถูกสร้างขึ้นจากองค์ประกอบที่มั่นคงจำนวนหนึ่งหนึ่งในนั้นคือสุขอนามัยส่วนบุคคล คนไทยมีจิตสำนึกที่ถูกสุขอนามัยมาก สำหรับคนต่างชาติไม่รู้ตัวว่าสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยทำคือเข้าบ้านโดยไม่ถอดรองเท้า คนไทยส่วนใหญ่ต้องแน่ใจว่ามีการเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกวันและต้องอาบน้ำอย่างน้อยวันละสองครั้ง 

สิ่งที่ ศ.วาลเดน เบลโล เรียนรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวภรรยาผู้ล่วงลับเป็นคนไทย ยิ่งไปกว่านั้นจากการสังเกตอย่างไม่เป็นทางการของเขา การปฏิบัติที่ถูกสุขลักษณะเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่การปฏิบัติที่ชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางเท่านั้น แต่มีไปทั่วรวมทั้งในชนบท

การปฏิบัติที่ถูกสุขลักษณะผ่านทางวัฒนธรรม และคำแนะนำจากรัฐบาลที่บังคับใช้โดยชุมชนนั้นไม่ใช่เรื่องทั้งหมด

ในความเป็นจริงประเทศไทยเป็นสังคมที่ปั่นป่วนด้วยความขัดแย้งทางสังคม

การประท้วงบนท้องถนนครั้งใหญ่นับเป็นช่วงเวลาระหว่างปี 2547-2557 กลุ่มประชานิยมและอนุรักษ์นิยมต่างต่อสู้เพื่อควบคุมการเมืองของประเทศ ทุกวันนี้รัฐบาลโดยทหารบริหารประเทศแต่ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่

ประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งทางสังคมนี้ ทำให้ผลของการสาธารณสุขน่าทึ่งยิ่งขึ้น แท้จริงแล้วสาธารณสุขเป็นหนึ่งในไม่กี่ด้านที่ไม่เกี่ยวกับการเมือ เป็นหน่วยงานที่มีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นมากกว่าหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งและผู้นำทางการเมืองที่มีชื่อเสียงระดับสูง 

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการรณรงค์ด้านสาธารณสุขจำนวนมาก เพราะพวกเขาไม่ได้ถูกมองว่าเป็นถูกกำหนดจากด้านบน แต่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของภาคประชาสังคม ความสำเร็จของการป้องกันโควิด-19 ของประเทศไทยสร้างขึ้นจากบันทึกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขและภาคประชาสังคมที่มีอายุย้อนหลัง 50 ปี

เมื่อโควิด-19 ปรากฏตัวขึ้นความสัมพันธ์ที่มีการไว้วางใจนี้เริ่มเกิดขี้น ความสัมพันธ์ของผู้คน ในสังคม และการเสียสละทางเศรษฐกิจที่พวกเขาต้องการ หากปราศจากความไว้วางใจระหว่างภาคประชาสังคมและหน่วยงานสาธารณสุขประเทศนี้จะไม่เห็นการใช้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มุ่งมั่นกว่าล้านคนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการยับยั้งการแพร่เชื้อ

4จุดสังเกตด้านสุขภาพของประชาชน

มีประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นในประวัติศาสตร์ของไทยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขและภาคประชาสังคม

จุดสังเกตแรกคือแคมเปญการวางแผนครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ บางทีอาจจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก แม้ว่านี่จะเป็นการรณรงค์ของรัฐบาล แต่ความสำเร็จนั้นเกิดจากความร่วมมือของภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวางบนพื้นฐานของระบบสาธารณสุขที่ให้ยาคุมกำเนิดเพื่อตอบสนองความต้องการที่กว้างขวางสำหรับครอบครัวขนาดเล็กเพื่อขจัดความยากจน

จากปี 2513 – 2553 อัตราการเติบโตของประชากรไทยลดลงเหลือ 0.6%  เมื่อเทียบฟิลิปปินส์ กับร้อยละ 2.04% จริง ๆ แล้วประเทศไทยมีประชากรมากขึ้นในปี 2513 ไทยมีประชากร 36.9 ล้าน ฟิลิปปินส์จำนวน 35.9 ล้าน แต่เนื่องจากการวางแผนครอบครัวที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยและการในฟิลิปปินส์ที่ผู้นับถือซาวศาสนาคริสตจักรคาทอลิกที่ห้ามคุมกำเนิด ปัจจุบันประชากรไทยอยู่ที่ 69.6 ล้านคนในปี 2020 ขณะที่ฟิลิปปินส์มีจำนวน 109.5 ล้านคน

จุดสังเกตที่สองคือการรณรงค์ที่ประสบความสำเร็จของ “นายมีชัย วีระไวทยะ” เพื่อให้คนขายบริการทางสวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ “เอชไอวี” ในปี 2533 ซึ่งเป็นโครงการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัย 100 เปอร์เซ็นต์ที่มีชื่อเสียง 

เช่นเดียวกับแคมเปญการวางแผนครอบครัวสิ่งนี้ไม่ได้ถูกกำหนดจากด้านบน มันขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมโดยสมัครใจของผู้ให้บริการทางเพศที่ได้รับการศึกษาโดยนักกิจกรรมระดับรากหญ้าและการรณรงค์สื่อที่มีชื่อเสียงในระดับสูง

และเช่นเดียวกับแคมเปญการวางแผนครอบครัวมันประสบความสำเร็จอย่างมากโดยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ลดลงจาก 150,000 คนในปี 2534 เหลือน้อยกว่า 14,000 รายในปี 2551การติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ค้าบริการในสถานประเวณีลดลง 2.5% ในช่วงเวลาดังกล่าว “นายมีชัย” ได้่พูดติดตลกในการสัมภาษณ์ว่า “ผู้ให้บริการทางเพศของ เรารู้ว่าพวกเขาอยู่ในแนวหน้าของสงครามต่อต้านโรคเอดส์และเมื่อพวกเขาต่อสู้พวกเขาสวมหมวกกันน็อก ผู้ให้บริการทางเพศของเรามีความปลอดภัยมากแม้ว่าฉันจะไม่แนะนำให้คุณออกไปหาตอนนี้”

การรณรงค์เพื่อประชาสังคม จุดน่าสังเกตที่สามที่มีผลกระทบยาวนานคือการณรงค์ต่อต้านการทิ้งขยะในกรุงเทพนำโดย “คุณหญิชดช้อย โสภณพนิช” นักเคลื่อนไหวทางสังคม รู้จักกันในชื่อโครงการ “ตาวิเศษ”  มันทำให้กรุงเทพกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่สะอาดที่สุดในเอเชียและไม่เพียงพื้นที่ส่วนตัว แต่ในที่สาธารณะที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย และได้รับชื่อเสียงว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่แคมเปญการต่อต้านการทิ้งขยะที่ประสบความสำเร็จในระดับสากล

เป็นอีกครั้งที่ไม่ได้ถูกกำหนดจากด้านบน แต่นักเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องได้ระดมประชาชน เด็กนักเรียน บรรดาธุรกิจและสื่อต่างๆ แม้ว่าจะเกิดขึ้นนานกว่า 30 ปีที่ผ่านมาผู้คนยังคงจำได้เมื่อหลายปีก่อน เขาเคยถามคุณหญิงชดช้อยถึงสาเหตุของความสำเร็จเธอตอบว่า“ ไม่เหมือนกับแคมเปญต่อต้านการทิ้งขยะอื่น ๆ ตาวิเศษ ไม่ได้บอกผู้คนว่าควรทำอย่างไร แต่ดึงดูดความเคารพและเคารพตนเอง เพื่อนบ้าน”

และจุดสังเกตที่สี่คือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศที่เริ่มในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรในช่วงต้นยุค 2543 ซึ่งให้การดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพและราคาไม่แพงมาก คนไทยเข้าถึงการรักษาได้ถึง  98% ด้วยทุนจากภาษีรายได้ทั่วไป

ระบบของไทยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในระบบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก โดยได้รับการยกย่องว่าลดอัตราการตายของทารก ลดจำนวนวันที่ป่วยลง แม้ว่าในโรงพยาบาลของรัฐจะมีคิวยาวทุกวัน เช่นโรงพยาบาลจุฬา แต่คนจนก็เต็มใจรอเพราะบริการที่ส่งมอบนั้นมีคุณภาพดีกว่าที่โรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ หลายๆ คนวิเคราะห์

ศ.วาลเดน เบลโล ระบุว่า จากการสัมภาษณ์บุคคลหนึ่งพบว่าระบบสุขภาพถ้วนหน้า น่าจะเป็นเหตุผลว่าทำไม “ทักษิณ” ยังคงได้รับความนิยมในหมู่คนยากจนในเมืองและในชนบทดังนั้นหากให้มีการเลือกตั้งอิสระอย่างแท้จริง

ไม่ว่าการสังเกตนี้จะเป็นจริงหรือไม่ความจริงของเรื่องนี้ก็คือหลักประกันสุขภาพดังกล่าวได้กลายเป็นรากฐานที่สำคัญของความสัมพันธ์ของความไว้วางใจระหว่างระบบสาธารณสุขและผู้คน เมื่อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด “ผู้คนไม่ได้กังวลด้านค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์” นักธุรกิจหญิงคนหนึ่งเล่าให้ฟัง “พวกเขาไม่ลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากแพทย์หากพวกเขารู้สึกว่ามีอาการติดเชื้อโควิด-19″

เพื่อให้แน่ใจว่ามาตรการบีบบังคับไม่ได้ขาดหายไปในช่วงระยะเวลา “ล็อกดาวน์” บางคนถูกจับกุม ถูกฟ้องร้อง หรือ5^dข่มขู่ว่าจะถูกจับกุมภายใต้กฎหมายและคำสั่งที่ รวมถึงพ.ร.ก. ฉุกเฉินของรัฐบาลเพื่อจัดการกับไวรัสโควิด-19 จากรายงานของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่ามีนักเคลื่อนไหวสามคนถูกฟ้องในข้อหาประท้วงอย่างสงบในขณะที่หลายองค์กรทำเครื่องหมายครบรอบ 6 ปี ของการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  รายงานยังกล่าวถึงการจับกุมและการฟ้องร้องของศิลปินที่โพสต์บนเฟสบุ๊ค ที่ไม่ได้มีการตรวจสุขภาพที่สนามบินสุวรรณภูมิของกรุงเทพฯ ทันที่เขาเดินทางมาถึงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

“สูตรความสำเร็จของไทย”

แล้วสูตรความสำเร็จของไทยในการสำหรับการต้านการแพร่ระบาดครั้งใหญ่  คืออะไร มันไม่ได้เป็นหนึ่งในนักการเมืองเผด็จการสั่งการจากด้านบน มาตรการบีบบังคับก็ไม่มีความจำเป็น

วัฒนธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของสุขอนามัยส่วนบุคคลเป็นองค์ประกอบหนึ่ง แต่สิ่งที่สร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงก็คือการปฏิบัติตามความสมัครใจของประชาชนและบริการอาสาสมัครของอสม. ทั้งหมดนี้สร้างขึ้นในประวัติศาสตร์ของการรณรงค์ด้านสาธารณสุขที่ประสบความสำเร็จและสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขและภาคประชาสังคม

บทเรียนของประเทศไทยสำหรับโลกนี้ก็คือระบบสาธารณสุขที่ดีที่มีความถูกต้องตามกฎหมายสร้างความแตกต่างในยามวิกฤติ