นบข.อัดแสนล้านประกันรายได้ชาวนา พร้อมเงินสนับสนุน 4 ล้านครัวเรือน

  • ทุ่ม56,000ล้านบาทครัวเรือนละไม่เกิน20,000บาท
  • ประภัตรแง้มข่าวดีเพิ่มราคาประกันสูงอีกตันละ500บาท
  • ให้สินเชื่อชะลอการขายและรวบรวมข้าว36,012ล้านบาท

นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(นบข.)เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 ซึ่งมี 2 แนวทาง คือ แนวทางแรกเหมือนปีที่ผ่านมา หรือแนวทางที่จะเพิ่มราคาประกันมากกว่าปีก่อนอีกตันละ 500 บาท โดยเฉพาะข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ และข้าวเปลือกเหนียว เนื่องจากในปีที่ผ่านมาชาวนากลุ่มนี้ไม่ได้ประโยชน์จากโครงการประกันรายได้เกษตรกรเพราะราคาตลาดดีอยู่แล้ว ทำให้กาปรระกันรายได้เกษตรกรในปีที่ผ่านมาใช้ไม่เต็มวงเงินโดยเหลืออยู่ 1,500 ล้านบาท จึงอยากให้โอกาสให้ชาวนากลุ่มนี้ได้รับการดูแลด้วย ซึ่งจะนำมาเสนอนบข.พิจารณาอีกครั้ง 

ทั้งนี้ แนวทางที่ 1 จะเหมือนปีที่ผ่านมา คือ  ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกัน 15,000 บาทต่อตัน ปริมาณประกัน 14 ตันข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกัน 14,000 บาทต่อตัน ปริมาณประกัน 16 ตัน ข้าวเหลือกเจ้า ราคาประกัน10,000 บาทต่อตัน ปริมาณประกัน 30 ตัน ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกัน 11,000 บาทต่อตัน ปริมาณประกัน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกัน 12,000 บาทต่อตัน ปริมาณประกัน 16 ตัน จะใช้วงเงิน 23,495 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาอ้างอิง 22,957 ล้านบาท  และค่าใช้จ่ายดำเนินการ 538 ล้านบาท

ประภัตรโพธสุธน

“ นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่ผมได้เสนอว่ารัฐบาลควรหันมาให้ความสำคัญกับการวิจัยพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดี โดยในวันที่ 22 มิ..นี้จะได้ประชุมร่วมกับนักวิจัยพันธุ์ข้าวและภาคเอกชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน นอกจากนี้ การปลูกข้าวต้องให้ความสำคัญกับพื้นที่ ต้องปรับให้เรียบเสมอกันเพื่อลดการใช้ปุ๋ย ยา และน้ำสอดคล้องกับการทำนาแปลงใหญ่ด้วย

..รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขอแสดงความยินดีกับชาวนาด้วย ที่ นบข.ได้เห็นชอบตามที่นายจุรินทร์  ลักษณ์วิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เสนอให้มีโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี2563/2564 ตั้งแต่วันที่ 1 .. 63 – 31 ..64 โดยให้ใช้แนวทางการดำเนินการเหมือนปีที่ผ่านมา และให้อนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดกฎเกณฑ์กลางราคาอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวไปพิจารณาราคาประกันรายได้ต่อครัวเรือน และนำกลับมาเสนอคณะกรรมการนบข.อีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลชาวนาสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตอย่างแท้จริง 

ขณะเดียวกัน ได้เห็นชอบให้มีมาตรการคู่ขนานเหมือนปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย1. มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี วงเงินรวม 19,826 ล้านบาทโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร วงเงินรวม 15,562 ล้านบาท  และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก ในอัตราชดเชยดอกเบี้ย 3% วงเงินรวม 610 ล้านบาท โดยทั้งสามโครงการนี้ รวมวงเงิน 36,012 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อ 30,284 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 5,728 ล้านบาท คาดว่าจะดูดซับอุปทานในช่วงที่ข้าวเปลือกออกมาสู่ตลาดมาก โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 7 ล้านตันข้าวเปลือก

รัชดาธนาดิเรก

2. โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อัตราสนับสนุน ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท ใช้วงเงิน 56,000 ล้านบาท โดยมีชาวนาได้ประโยชน์ 4 ล้านครัวเรือน  มากกว่าปีที่ผ่านมาสนับสนุนไร่ละ 500 บาท หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท 3. โครงการจัดตลาดนัดข้าวเปลือก และโครงการยกระดับคุณภาพและต่อยอดด้านการตลาดข้าวหอมมะลิของประเทศไทย ใช้วงเงิน 2.85 ล้านบาท

นอกจากนั้น ที่ประชุมรับทราบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี2562/2563 ตั้งแต่ 15..2562 – 31 ..2563 จ่ายแล้ว 30 งวด จำนวน 1.1 ล้านครัวเรือน จำนวน  19,000 ล้านบาท หรือ 92.67% ของงบประมาณเนื่องจากงวดที่23-27 ไม่มีการจ่ายชดเชยเนื่องจากราคาอ้างอิงของข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ข้าวเปลือกเหนียวสูงกว่าราคาประกันรายได้ ส่วนการดำเนินการมาตรการคู่ขนานเพื่อชะลอการจำหน่ายข้าว ผ่านโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มและโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก สามารถดึงอุปทานได้รวม 5.13 ล้านตัน

ส่วนการผลิตข้าวทั่วโลกปี 2563/64 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 8.1 ล้านตัน จาก 493.79 ล้านตัน เป็น 501.96 ล้านตัน ด้านสต๊อกข้าวทั่วโลก  ปลายปี 63/64 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.83 ล้านตัน เป็น 184.18 ล้านตัน โดยจีนมีสต๊อกข้าวมากที่สุดรองลงมา คือ อินเดียและไทย โดยภูมิภาคที่ซื้อข้าวจากไทยมากที่สุด คือ แอฟริกา 4.11 ล้านตัน ในปี 2562 ส่วนปัจจัยที่สนับสนุนการส่งออกข้าวไทยในปี 2563 ได้แก่ การได้รับการจัดสรรโควต้าส่งออกไปเกาหลีใต้ ปริมาณ 28,000 ตันต่อปี และการที่ญี่ปุ่นเปิดประมูลข้าวอย่างต่อเนื่องจึงเป็นโอกาสของข้าวไทย

นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำเรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวไทย เพราะเป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิต โดยกำชับให้กรมการข้าว หน่วยงานวิจัยภาครัฐและเอกชน รวมถึงเครือข่ายเกษตรกรร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพข้าวและการใช้พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรองให้ได้อย่างกว้างขวาง