ทำความรู้จัก “ไขมัน” ก่อนรับประทาน 6 ประเภทไขมันที่ควรรู้

ร่างกายคนเราผลิตคอเลสเตอรอลทั้งชนิดที่ดีและไม่ดี บางส่วนก็ได้รับจากอาหารที่กินเข้าไป โดยอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์สูง จะปัจจัยที่ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีในเลือดเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคภัยร้างแรงมากมาย ขณะที่ไขมันดีจะช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ดีได้ เรามาทำความรู้จักกับไขมัน 6 ประเภท เพื่อให้อาหารที่เราทานเข้าไปไม่ทำร้ายตัวเรา

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated fatty acid)

ไขมันไม่อิ่มเชิงเดี่ยว หรือ โอเลอิก (Oleic acid) จัดเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง และถ้าหากรับประทานเข้าไปมาก ๆ ก็จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีเพิ่มขึ้นและช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีลงได้ด้วย อาหารที่มีไขมันชนิดนี้อยู่ในปริมาณสูงได้แก่ ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่าง ๆ น้ำมันข้าวโพด ปลาที่มีไขมันสูง น้ำมันจากเมล็ดดอกคำฝอย

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fatty acid)

เป็นไขมันชนิดดีเช่นกัน แต่เป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ และจำเป็นต้องรับจากอาหารเท่านั้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีในเลือดได้ อาหารที่มีไขมันชนิดนี้อยู่ในปริมาณสูงได้แก่ ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่าง ๆ อะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา และน้ำมันถั่วลิสง

โอเมก้า 3 (Linolenic หรือ Alpha Linolenic Acid) 

โอเมก้า 3 เป็นไขมันที่โดดเด่นที่สุดในบรรดาไขมันที่ดีต่อร่างกาย เมื่อกรดไขมันชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปช่วยต่อสู้กับอาการอักเสบต่างๆ และยังไปควบคุมการแข็งตัวของเลือด และทำให้ความดันโลหิตและระดับไตรกลีเซอไรด์ในร่างกายลดลง ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและอัมพาต ลดการอักเสบของโรคไขข้อเสื่อมรูมาตอยด์ ลดอาการปวดหัวไมเกรนและปวดประจำเดือน เพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายและลดอาการของโรคภูมิแพ้ได้

อาหารที่มีไขมันชนิดนี้อยู่ในปริมาณสูงได้แก่ ไข่ ดอกกะหล่ำ ปลาแซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล และซาร์ดีน น้ำมันตับปลา ถั่ววอลนัท ถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา และผักโขม เป็นต้น

โอเมก้า 6 (Linoleic Acid)

โอเมก้า 6 เป็นไขมันที่มีทั้งคุณและโทษ ประโยชน์ของมันก็คือช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ โดยลดการแข็งตัวของเลือด ลดการเปิดโรคความดันโลหิตสูง ลดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยบำรุงตับ ป้องกันโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ โดยลดการแข็งตัวของเยื่อหุ้มที่เม็ดเลือดแดง ลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ แต่ควรจะบริโภคให้เหมาะสมเพราะถ้าหากบริโภคมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อหัวใจได้เช่นกัน

ไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid)

ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันที่มีโครงสร้างคาร์บอนจับเรียงกันครบ ซึ่งร่างกายสามารถสร้างได้เอง และยังได้จากการรับประทานอาหารด้วย ถือเป็นไขมันที่ก่อให้เกิดไขมันเลวเพิ่มขึ้นได้หากบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไป โดยไม่ควรเกิน 7% ของแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน และการบริโภคที่มากกินไปยังจะสร้างความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2

อาหารที่มีไขมันชนิดนี้อยู่ในปริมาณสูงได้แก่ หมายถึงไขมันจากเนื้อสัตว์ ไข่ นม นม เนย ชีส ไอศกรีม เค้ก คุ้กกี้ น้ำสลัดสำเร็จรูป พืชสกุลปาลม์เช่น น้ำมันปาลม์ น้ำมันมะพร้าว

ไขมันทรานส์

    ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่ร้ายที่สุดในบรรดาไขมันไม่ดี  โดยไขมันทรานส์นั้นเกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนลงในน้ำมันพืชซึ่งเป็นของเหลว ทำให้น้ำมันเปลี่ยนไปเป็นของแข็ง  โดยไขมันชนิดนี้จะมีมากที่สุดในมาร์การีนชนิดแท่งเนยขาว อาหารที่มีส่วนประกอบของเนยขาวหรือมาร์การีน จำพวกขนมและอาหารฟาสต์ฟู้ด  อาหารทอดที่ต้องใช้น้ำมันปริมาณมาก อย่างเช่น ขนมอบ คุกกี้ เค้ก ขนมปังขาว โดนัท เฟรนช์ฟรายส์ ครีมเทียม คอฟฟี่เมท และ ขนมกรุบกรอบต่างๆ เป็นต้น

โดยในขณะนี้ หลายประเทศ รวมทั้งไทยได้มีการจำกัดจำนวนไขมันทรานส์ในอาหารแล้ว