ทอท.เดินหน้าลุยธุรกิจนอนแอโรว์ ดันบริษัทลูก “AOTTO” หวังหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรไปทั่วโลก

ทอท.เดินหน้าลุยธุรกิจนอนแอโรว์ ดันบริษัทลูก “AOTTO” หวังหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศปลายทางได้อย่างมีมาตรฐานสากลไม่ถูกส่งกลับ ดีเดย์!เปิดให้บริการ เดือน พ.ย.นี้ ตั้งเป้าภายใน 1ปีจะขนส่งสินค้าเกษตรเน่าเสียง่ายได้กว่าปีละ 150ล้านกิโลกรัมต่อปี และในปี70ขนส่งได้ 200ล้านกิโลกรัม มั่นใจประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลาง นําเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรในภูมิภาค 

นายคทา วีณิน กรรมการ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย ทาฟ่า โอเปอเรเตอร์ จำกัด (AOT TAFA Operator Co.,Ltd : AOTTO) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรตามมาตรฐานของประเทศปลายทาง ณ.สนามบินต้นทางก่อนส่งออก (Pre-shipment Inspection Center) เดิม เรียกว่า “Certify Hub” ภายในเขตปลอดอากร ที่สนามบินสุวรรณภูมิว่า บริษัทดังกล่าวเป็นการร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)(ทอท.) กับบริษัท ทาฟ่า คอนซอร์เท่ียม จํากัด (Tafa Consortium) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายและสินค้าที่ต้องการควบคุมอุณหภุมิ โดย ทอท.ถือหุ้นในบริษัทสัดส่วน 49% ซึ่งถือเป็นการดําเนินการตามแผนวิสาหกิจ ทอท. ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้า มาตรฐานการตรวจสอบสินค้าเกษตรที่เน่าเสียง่ายให้แก่ผู้ส่งออกและเกษตรกร ของไทย รวมถึงเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจสอบสินค้าเกษตร ทําให้สินค้าเกษตร คงคุณภาพและได้มาตรฐานก่อนส่งออกไปยังประเทศปลายทางได้อย่างมีมาตรฐานการตรวจสอบสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพยุโรป (EU)ไม่ถูกตีกลับจากปลายทาง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง นําเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรในภูมิภาค

ทั้งนี้บริษัทดังกล่าว ในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งบริษัทเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งเตรียมสถานที่บริเวณอาคารคลังสินค้าหลังท่ี 4 (WH-4) ภายในเขตปลอดอากร สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับบริการ สินค้าเกษตร และสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านทาง ช่องทางพิเศษ”(Perishable Premium Lane) (PPL) ก่อนที่จะเข้าศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนส่งออก (Preshipment Inspection Center)ซึ่งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้านี้จะนำมาตรฐานการตรวจจากประเทศปลายทางมาตรวจที่ต้นทาง  โดยการให้บริการ PPL จะเป็นการให้บริการเสริมและอํานวยความ สะดวกแก่ผู้ส่งออก เปรียบเสมือนการให้บริการชั้นธุรกิจ (Business Class) สําหรับผู้โดยสาร ซ่ึงสินค้าที่ใช้บริการ PPL จะได้รับการดูแลและจัดเตรียมขึ้นเครื่องโดยผู้ชํานาญในการจัดเตรียมสินค้าทางอากาศโดยเฉพาะก่อนท่ีจะจัดส่งไป ประเทศปลายทางต่อไป 

ล่าสุดในวันที่ 29 ก.ย.65 นี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาระบบการตรวจสอบสินค้าการเกษตรก่อนส่งออกร่วมกัน ก่อนที่ AOTTO จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย.65 โดยมั่นใจว่า การเปิดให้บริการขนส่งสินค้าเกษตรที่เน่าเสียง่ายและมีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรตามมาตรฐานของประเทศปลายทาง ณ.สนามบินต้นทางก่อนส่งออกนั้นจะช่วยให้ผู้ส่งออกมั่นใจได้ว่าหากมาส่งสินค้าเกษตรกับ AOTTO สินค้าจะไม่ถูกส่งกลับจากประเทศปลายทางแน่นอน ซึ่งทาง ทอท. ได้มีการประสานความร่วมมือกับประเทศต่างๆที่มีการส่งออกจำนวนมาก นอกจากมาตรฐานทางยุโรปแล้ว ได้มีการตรวจมาตรฐานสินค้าเกษตรที่จะส่งออกไป จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และกลุ่ม LMV ด้วย

นายคทา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ทอท. ให้ความสําคัญกับกิจการขนถ่ายสินค้าทางอากาศซึ่งเป็นส่วนงานท่ีช่วยส่งเสริมนโยบายโลจิสติกส์ของประเทศ โดยได้เข้าดําเนินการบริหารพื้นท่ีเขตปลอดอากรและคลังสินค้า (Free Zone)สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่าสนามบินสุวรรณภูมิ มีปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) โดยเฉลี่ยประมาณ 1.5 ล้านตันต่อปี และในจำนวนสินค้าทั้งหมดนี้จะมีสินค้าประเภทเน่าเสียง่ายโดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร ซึ่งในประเทศต่างๆจะมีการ เข้มงวดในการตรวจสอบนําเข้าสินค้าประเภทนี้ เนื่องจากอาจมีแมลงศัตรูพืช และสารเคมีต่างๆปนเป้ือนถึง10%  หรือประมาณ150 ล้านกิโลกรัม อย่างไรก็ตามแม้ว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโรคโควิด ทำให้ยอดการขนส่งสินค้าเกษตรลดลงบ้างเหลือประมาณ130-140 ล้านกิโลกรัมต่อปี แต่เมื่อสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการบินกลับมาทำการบินปกติ ก็เชื่อมั่นว่า ภายใน 1ปี ที่ AOTTO เปิดให้บริการจะสามารถกลับมาทำการขนส่งสินค้าทางการเกษตรที่เน่าเสียง่ายมาอยู่ที่150 ล้านกิโลกรัมต่อปีแน่นอน 

นอกจากนี้จากแผนงานต่างๆและความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ก็มั่นใจว่าภายใน 5 ปี(ปี70) AOTTO จะมีปริมาณการขนส่งสินค้าประเภทเน่าเสียง่ายโดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร เพิ่มขึ้นอีก 25%หรือขนส่งสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนส่งออกถึง 200ล้านกิโลกรัมต่อปีแน่นอน ซึ่งจะทำให้เพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าเกษตรเพื่อส่งออกของประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มขึ้นด้วย

นายคทา กล่าวต่อว่า ส่วนแผนงานที่จะดำเนินการหลังจากเปิดศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรตามมาตรฐานของประเทศปลายทาง ณ.สนามบินต้นทางก่อนส่งออกไปยังปลายทางแล้ว ภายใน 5 ปีจากนี้จะดำเนินโครงการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการส่งออกเอาสินค้าจากทั่วโลกมาเก็บในคลังสินค้าปลอดอากรที่สนามบินสุวรรณภูมิ หรือที่เรียกว่า แคนทีน ออฟ เดอะเวิล์ด ก่อนที่จะกระจายสินค้าไปยังปลายทางทั่วโลก 

เนื่องจากมองว่า สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามบินที่มีสายการบินจากทั่วโลกมาทำการบิน ขึ้นลง ปีละกว่า 300,000 เที่ยวบินต่อปี มีจุดหมายปลายทางเชื่อมต่อเส้นทางจำนวนมาก หากผู้ประกอบการนำสินค้าที่มีชื่อ และคุณภาพจากแหล่งต้นทาง ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ยา เวชภัณฑ์ หรือ สกินแคร์มาเก็บที่คลังปลอดอากร สนามบินสุวรรณภูมิ หากมีการส่งออกไปขายในภูมิภาคเอเซีย หรือ ส่งออกเชื่อมต่อไปยังยุโรป AOTTO ก็สามารถดำเนินการได้ ซึ่งเสมือนกับการย้ายตลาดโลจิสติกส์เข้ามาอยู่ในประเทศไทย เอาของมาใกล้ตลาดมากที่สุด จากปัจจุบันบริษัทส่งออกต่างๆจะไปนำสินค้าเก็บที่คลังสิงคโปร์ หาก AOTTO เปิดตลาดทำคลังสินค้าและกระจายได้ที่สุวรรณภูมิ จะเป็นช่องทางทำรายได้เข้าประเทศได้อีกมหาศาล