ทอท.เดินหน้าขยายสนามบินดอนเมือง เฟส 3 เปิดให้บริการโฉมใหม่ในปี 70 หวังรองรับปริมาณผู้โดยสารกว่า 50 ล้านคนต่อปี

  • ทอท.เดินหน้าขยายสนามบินดอนเมือง เฟส 3 มั่นใจเปิดประมูลได้ในสิ้นปี66
  • พร้อมทำสร้างเชื่อมต่อเข้า ออก สนามบินไปดอนเมืองโทลล์เวย์ เพิ่มความสะดวกเดินทาง
  • พร้อมเปิดให้บริการดอนเมืองโฉมใหม่ในปี 70 หวังรองรับปริมาณผู้โดยสารกว่า 50 ล้านคนต่อปี

นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบินดอนเมือง เฟส 3 วงเงิน 36,000 ล้านบาท ว่า  การดำเนินการขยายดอนเมืองเฟส 3 จะดำเนินการได้เป็นรูปธรรมภายในปี 66  นี้แน่นนอน โดยขณะนี้ ทอท. อยู่ระหว่างหาผู้ออกแบบรายละเอียด (Detail Design) ในโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จ และสามารถเสนอให้คณะกรรมการ(บอร์ด) ทอท. พิจารณาได้ภายในปลายปี 66 หลังจากนั้นทอท.จะเปิดประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาดำเนินการก่อสร้างขยายขีดความสามารถสนามบินดอนเมืองเฟส 3 ทันที คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 67  และเปิดให้บริการได้ประมาณปี 70 รองรับปริมาณผู้โดยสารได้กว่า 50ล้านคนต่อปี

ทั้งนี้ในการพัฒนาขยายขีดความสามารถสนามบินดอนเมืองเฟส 3 จะประกอบด้วย  ก่อสร้างหลุมจอดอากาศยานด้านทิศเหนือ เพิ่มเติม 12 หลุมจอด, ปรับปรุงอาคารคลังสินค้าเดิม และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 ซึ่งเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศหลังเดิมทางด้านทิศใต้ของสนามบินก่อนอาคารคลังสินค้า ซึ่งอาคารดังกล่าวได้ถูกปิดไม่ได้ใช้งานมานาน  โดย ทอท.มีแผนที่จะทุบ รื้อ เพื่อสร้างเป็นอาคารที่พักผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ 

นายกีรติ กล่าวอีกว่า เมื่อก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 แล้วเสร็จ ทอท. จะย้ายการให้บริการระหว่างประเทศจากอาคาร 1 มาที่อาคาร 3 แทน จากนั้นจะปิดการให้บริการอาคาร 1 เพื่อดำเนินการปรับปรุง(รีโนเวท) อาคารดังกล่าว หลังจากไม่ได้รับการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 60 ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะปรับการให้บริการของอาคาร 1 เป็นอาคารภายในประเทศ เชื่อมต่อกับอาคาร 2 ซึ่งเป็นอาคารภายในประเทศที่หลังปัจจุบัน ส่วนพื้นที่ของอาคาร Service Hall ในอนาคต หากพบว่า ไม่มีความจำเป็นในการรองรับกรุ๊ปทัวร์แล้ว เพราะกรุ๊ปทัวร์ส่วนใหญ่จะใช้บริการอาคารระหว่างประเทศ ก็จะปรับเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้บริการร้านค้า และ ร้านอาหารแทน 

นายกีรติ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ทอท. จะปรับเพิ่มช่องจราจรที่ให้บริการภายใน สนามบินดอนเมืองด้วย ซึ่งปัจจุบันมีขนาด 4 ช่องจราจร ปรับเป็น 6 ช่องจราจร และจะเชื่อมต่อทั้งทางเข้า-ออกกับทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทลล์เวย์ เพื่ออำนวยความะสะดวกในการเดินทางให้ผู้ใช้บริการ   และลดปัญหาการจราจรติดขัดภายในสนามบิน ซึ่งการทำทางเชื่อมนี้ทาง ทอท.จะมีการหารือกับกรมทางหลวง (ทล.) และบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) เพื่อพิจารณาร่วมกัน เนื่องจาก  บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง มีสัญญาสัมปทานกับ ทล. ส่วนความคืบหน้าการจัดทำระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) หรือ รถไฟฟ้าไร้คนขับ ที่จะให้บริการภายในสนามบินดอนเมืองนั้น มองว่ายังไม่มีความจำเป็นเนื่องจากทั้ง 3 อาคาร ผู้โดยสารสามารถเดินเชื่อมต่อกันได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ APM

ทอท.เดินหน้าขยายสนามบินดอนเมือง  เฟส 3 มั่นใจเปิดประมูลได้ในสิ้นปี66 เริ่มทุบรื้ออาคารผู้โดยสารในประเทศเดิมทิศใต้สร้างใหม่รับผู้โดยสารระหว่างประเทศโดยเฉพาะ ส่วนอาคาร 1-2 ปรับรวมให้บริการผู้โดยสารในประเทศอย่างเดียว พร้อมทำสร้างเชื่อมต่อเข้า ออก สนามบินไปดอนเมืองโทลล์เวย์ เพิ่มความสะดวกเดินทาง พร้อมเปิดให้บริการดอนเมืองโฉมใหม่ในปี 70 หวังรองรับปริมาณผู้โดยสารกว่า 50 ล้านคนต่อปี 

นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาสนามบินดอนเมือง เฟส 3 วงเงิน 36,000 ล้านบาท ว่า  การดำเนินการขยายดอนเมืองเฟส 3 จะดำเนินการได้เป็นรูปธรรมภายในปี 66  นี้แน่นนอน โดยขณะนี้ ทอท. อยู่ระหว่างหาผู้ออกแบบรายละเอียด (Detail Design) ในโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จ และสามารถเสนอให้คณะกรรมการ(บอร์ด) ทอท. พิจารณาได้ภายในปลายปี 66 หลังจากนั้นทอท.จะเปิดประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาดำเนินการก่อสร้างขยายขีดความสามารถสนามบินดอนเมืองเฟส 3 ทันที คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 67  และเปิดให้บริการได้ประมาณปี 70 รองรับปริมาณผู้โดยสารได้กว่า 50ล้านคนต่อปี

ทั้งนี้ในการพัฒนาขยายขีดความสามารถสนามบินดอนเมืองเฟส 3 จะประกอบด้วย  ก่อสร้างหลุมจอดอากาศยานด้านทิศเหนือ เพิ่มเติม 12 หลุมจอด, ปรับปรุงอาคารคลังสินค้าเดิม และการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 ซึ่งเป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศหลังเดิมทางด้านทิศใต้ของสนามบินก่อนอาคารคลังสินค้า ซึ่งอาคารดังกล่าวได้ถูกปิดไม่ได้ใช้งานมานาน  โดย ทอท.มีแผนที่จะทุบ รื้อ เพื่อสร้างเป็นอาคารที่พักผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ 

นายกีรติ กล่าวอีกว่า เมื่อก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 แล้วเสร็จ ทอท. จะย้ายการให้บริการระหว่างประเทศจากอาคาร 1 มาที่อาคาร 3 แทน จากนั้นจะปิดการให้บริการอาคาร 1 เพื่อดำเนินการปรับปรุง(รีโนเวท) อาคารดังกล่าว หลังจากไม่ได้รับการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 60 ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะปรับการให้บริการของอาคาร 1 เป็นอาคารภายในประเทศ เชื่อมต่อกับอาคาร 2 ซึ่งเป็นอาคารภายในประเทศที่หลังปัจจุบัน ส่วนพื้นที่ของอาคาร Service Hall ในอนาคต หากพบว่า ไม่มีความจำเป็นในการรองรับกรุ๊ปทัวร์แล้ว เพราะกรุ๊ปทัวร์ส่วนใหญ่จะใช้บริการอาคารระหว่างประเทศ ก็จะปรับเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้บริการร้านค้า และ ร้านอาหารแทน 

นายกีรติ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ทอท. จะปรับเพิ่มช่องจราจรที่ให้บริการภายใน สนามบินดอนเมืองด้วย ซึ่งปัจจุบันมีขนาด 4 ช่องจราจร ปรับเป็น 6 ช่องจราจร และจะเชื่อมต่อทั้งทางเข้า-ออกกับทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทลล์เวย์ เพื่ออำนวยความะสะดวกในการเดินทางให้ผู้ใช้บริการ   และลดปัญหาการจราจรติดขัดภายในสนามบิน ซึ่งการทำทางเชื่อมนี้ทาง ทอท.จะมีการหารือกับกรมทางหลวง (ทล.) และบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) เพื่อพิจารณาร่วมกัน เนื่องจาก  บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง มีสัญญาสัมปทานกับ ทล. ส่วนความคืบหน้าการจัดทำระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) หรือ รถไฟฟ้าไร้คนขับ ที่จะให้บริการภายในสนามบินดอนเมืองนั้น มองว่ายังไม่มีความจำเป็นเนื่องจากทั้ง 3 อาคาร ผู้โดยสารสามารถเดินเชื่อมต่อกันได้ ไม่จำเป็นต้องใช้ APM