ตื่นคุมเข้มโควิดสายพันธุ์เบงกอล ห้ามเดินทางจากอินเดียเข้าไทย เผยตัวเลข 1-20 เม.ย.เข้ามาแล้ว 602 คน

ไวรัสสายพันธฺเบงกอล จากประเทศอินเดีย ที่ถูกระบุว่าอันตรายมากจากการพัฒาจากไวรัสโควิดกลายพันธุ์สองต่ำแหน่งเป็นไวรัสสามต่ำแหน่ง ทำให้วิทยาศาสตร์ทั้งในอินเดีย ตลอดจนประเทศชั้นนำ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) สันนิษฐานว่าอาจเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคโควิดในอินเดียอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน 

จากการแพร่ระบาดรอบใหม่ที่รุนแรงมากขึ้น ตัวเลขการติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นทะลุหลัก 3 แสนราย จนรัฐบาลต้องประกาศล็อกดาวน์แต่ยังไม่สามารถต้านทานได้ ระบบสาธารณสุขกำลังล่มสลาย คนป่วยล้นโรงพยาบาล หลายประเทศเห็นเป็นกรณีเร่งด่วนที่จะต้องเข้าช่วยกันสนับสนุนกู้วิกฤต

จนมีกระแสข่าวเศรษฐีอินเดียหาทางหนีออกจากประเทศของตนเองโดยเร็วที่สุดทำให้ราคาค่าโดยสารสายการบินที่ออกจากอินเดียพุ่งนับสิบเท่ากว่าราคาปกติและยังหาไม่ได้ เช่น บินออกจากเมืองมุมไบไปดูไบ เมื่อวันที่23 และ24 เมษายน ราคาสูงถึง 80,000 รูปี (1,000 ดอลลาร์) แพงกว่าราคาปกติราว 10 เท่า เส้นทางนิวเดลี-ดูไบ พุ่งไปกว่า 50,000 รูปี แพงกว่าปกติ 5 เท่า 

ขณะที่เครื่องบินเช่าเหมาลำ 13 ที่นั่งจากเมืองมุมไบไปยังดูไบ ราคา 38,000 ดอลลาร์หรือเกือบ 1.2 ล้านบาทสำหรับเที่ยวไปเที่ยวเดียว

ชาวอินเดียเดินทางเข้าไทย 602 คนตั้งแต่ 1-20 เม..

สำหรับประเทศไทย มีข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองถึงตัวเลขชาวอินเดียระหว่าง 1-20 เมษายน พบว่ามีจำนวน 602 คน แบ่งเป็นเข้ามาทำงาน 426 คน กลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน 110 คน เป็นกลุ่มนักธุรกิจ มีคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรคนไทย จำนวน 30 คน นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนนักศึกษา จำนวน 16 คน มีถิ่นที่อยู่ในไทย จำนวน 10 คน และคณะทูต ผู้แทนรัฐบาล จำนวน 8 คน และเข้ามารักษาพยาบาลที่ไม่ใช่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 คน

ทั้งนี้กลุ่มคนดังกล่าวทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ทำการ ตรวจเอกสารที่สถานทูต ประเทศต้นทางออกให้ และจะดูเงื่อนไขวีซ่าตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และ ตามที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กำหนด เป็นหลัก หากพบว่าผิดเงื่อนไขก็ปฏิเสธการเข้าเมือง และผลักดันกลับทันที

คุมเข้มชาวอินเดียใน ASQ ห้ามออกจากห้องพัก

ด้านกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ประกาศว่าจากสถานการณ์ COVID-19 เชื้อกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อการเดินทางเข้าประเทศไทย

เรียน ผู้บริหารโรงแรม ASQ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลคู่สัญญาทุกแห่ง จากการประชุมพิจารณาสถานการณ์ COVID-19 เชื้อกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อการเดินทาง ในวันที่ 25 เมษายน 2564 เรื่อง การระงับการเดินทางเช้าประเทศเป็นการชั่วคราวของผู้ที่เดินทางมาจากอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้เดินทาง ซึ่งเป็นชาวต่างชาติของประเทศดังกล่าว และสถานการณ์เชื้อไวรัส COVD-19 กลายพันธุ์สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพวัคซีน

ในการนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพขอแจ้งโรงแรม ASQ และโรงพยาบาลคู่สัญญาทุกแห่งให้เข้มงวดการออกจากห้องพักของประเทศดังกล่าวข้างต้น โดยไม่อนุญาตให้ออกจากห้องตลอดระยะเวลาการกักกันตัว 11 วัน และไม่อนุญาตให้เข้าร่วมกิจกรรมผ่อนคลายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 กลายพันธุ์ภายในประเทศและเกิดประสิทธิภาพในการป้องกันควบคุมโรค COVID-19

จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการตามมาตรการอย่างเคร่งครัดต่อไปด้วย

สถานฑูตระงับ COE ห้ามเดินทางเข้าไทย

ขณะเดียวกันสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Royal Thai Embassy, New Delhi ประกาศยกเลิกและระงับการออก COE (Certificate of Entry หรือ หนังสือรับรองการเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย) สําหรับ Non-Thai Nationals ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2021

จากสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19  (CCSA) จึงได้มีข้อจํากัดสําหรับชาวไทยที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยในเที่ยวบินถัดไปดังนี้

1.COE ทั้งหมดที่ได้ออกให้ไม่ใช่คนไทยเข้าไทยจากอินเดีย โดยวันนี้ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2021 จะถูกยกเลิก

2.การประกาศ COEs สําหรับชาวต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวไทย ที่จะเดินทางมาถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2021 เป็นต้น ไปจะถูกระงับจนกว่าจะมีการแจ้งต่อไป

สถานเอกอัครราชทูตฯ จะไม่รองรับผู้โดยสารที่ไม่ใช่คนไทย ในเที่ยวบินวันที่ 1, 15 และ 22 พฤษภาคม 2021

ส่วนโลกโซเชียลได้มีการแชร์ประกาศของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี เกี่ยวกับเที่ยวบินที่จะเดินทางมาประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา โดยพบว่า แม้ไม่ใช่การเช่าเหมาลำ แต่ผู้ที่เดินทางส่วนใหญ่มีทั้งคนไทย และไม่ใช่คนไทย ซึ่งมีการประกาศรายชื่อที่หน้าเพจของสถานเอกอัครราชทูต