ตรวจสอบแจกเงิน 5,000 :ปัญหาอยู่ที่ AI ?!!?

วันนี้ จะมาคุยกัน เกี่ยวกับข้อดีข้อด้อย ของมาตรการเยียวยา 5,000 บาท ซึ่งจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ผู้ที่เข้าเกณฑ์ได้รับความเดือดร้อนจากวิกฤตโควิด-19 โดย จำนวน 5,000 บาท เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 3 เดือน ซึ่งล่าสุด มีผู้ลงทะเบียนของรับความช่วยเหลือแตะ 28 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของคนไทยในประเทศ

ซึ่งหลังจากการเปิดให้ลงทะเบียนของรับความช่วยเหลือมาระยะหนึ่ง ระบบการลงทะเบียนผ่านว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ล่มมาแล้วไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ กระทรวงการคลังได้ประกาศขอปิดการลงทะเบียน เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูลการขอลงทะเบียนทั้งหมด

โดยตลอดช่งงของการเปิดให้ลงทะเบียน และการตรวจสอบสิทธิ มาตรการดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในมาตรการที่ีมีความคาดเคลื่อน ความวุ่นวาย และมีข้อร้องเรียนถึงการตรวจสอบคุณสมบัติที่เกิดความผิดพลาด ทำให้เกิดข้อครหา และความไม่พอใจอย่างต่อเนื่อง

เช่น กรณีผู้ประกอบอาชีพหาบเร่และอาชีพขายของในตลาดนัด ที่ถูกปฏิเสธการช่วยเหลือ โดยแจ้งมาว่าเป็นเจ้าของกิจการ หรือ การถูกตัดสิทธิ โดยได้รับแจ้งมาว่าเป็นเกษตรกร ทั้ง ๆ ที่ตนเองทำอาชีพอื่น และทางบ้านไม่เคยลงทะเบียนเป็นเกษตรกรเลย

หรือ ถูกตัดสิทธิโดยได้รับแจ้งว่าส่งประกันสังคมเกิน 6 เดือน แต่ในความเป็นจริงส่งไม่ถึง 6 เดือน หรือเคสร้องเรียนที่ระบุว่า อายุเกิน 18 ปี เรียนในระบบการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.)  และทำงานไปด้วย ไม่ได้รับสิทธิเพราะแจ้งว่าเป็นนักศึกษา

หรือในทางตรงกันข้าม มีกรณีที่ไม่ควรรับได้รับสิทธิ แต่กลับได้รับเงินเยียวยา เช่นมีกรณีที่สอบถามมายังกระทรวงการคลังว่า เป็นพนักงานการบินไทย ได้รับเงินเยียวยาแล้ว ต้องการจะขอยกเลิกและคืนเงิน 5,000 บาท ที่ได้รับมา เพราะบริษัทเพิ่งประกาศห้ามพนักงานรับเงินเยียวยาเนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น

กรณีเหล่านี้ กระทรวงการคลัง ได้เปิดกลไกการขอทบทวนสิทธิ์ หรืออุธรณ์สิทธิ ในวันที่ 20 เม.ย. 2563 ซึ่งให้ทำผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เท่านั้น ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่กระทรวงการคลัง เพราะไม่ได้มีช่องทางการรับเอกสาร ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 

โดยระบุด้วยว่า ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือน เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการเริ่มนับสิทธิ์  

ทั้งนี้ การดำเนินการทบทวนสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง รวมทั้งการพิจารณาผู้ที่ได้รับสิทธิที่ “อยู่ระหว่างการพิจารณา” จะมีการตรวจสอบข้อมูล และลงพื้นที่ตรวจสอบหน้างาน โดยจะแจ้งผลการทบทวนโดยเร็วที่สุด

ทำให้มีคำถามถึง การใช้ AI ระบบคัดกรองไม่มีประสิทธิภาพ ว่าไม่สามารถใช้งานไม่ได้จริง และขอให้ควรทำการเปลี่ยนระบบ เพื่อให้การตรวจสอบถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น 

ระบบปัญญาประดิษฐ์  หรือ AI (Artificial Intelligence) คืออะไร คือ การออกแบบให้คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ หรือ 

การเรียนรู้ของเครื่องจักร(machine learning) ทำงานอย่างใดอยางหนึ่ง ตามที่ตั้งโปรแกรมไว้ ซึ่งในกรณีนี้ AI ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของบุคคล ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวกับฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งหมดที่มี  เพื่อคัดแยกและคัดกรองผู้ได้รับสิทธิออกจากผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ

โดยกระทรวงการคลัง ระบุว่า ในการตรวจสอบได้นำข้อมูลของผู้ลงทะเบียนไปตรวจสอบคุณสมบัติหลายด้านประกอบกัน จากฐานข้อมูลข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการปกครอง สำนักงานประกันสังคม กรมขนส่งทางบก กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น

ส่วนความผิดพลาด กระทรวงการคลังชี้แจง เช่น กรณีไม่ได้เป็นเกษตร  แต่มีพ่อแม่ หรืออยู่ในทะเบียนบ้านที่หัวหน้าครอบครัวเป็นเกษตร อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ เมื่อหัวหน้าครอบครัวที่เกษตรเป็นคนมาขึ้นทะเบียนเกษตรประจำปี  จะต้องระบุสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำเกษตรกรรมด้วย ดังนั้น ผู้ที่ปรากฏชื่อในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร จึงไม่ผ่านเกณฑ์เยียวยามาตรการ 5,000 บาท

หรือกรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ซึ่งได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน และอยู่ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมแล้ว จึงไม่มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท 

แต่หลังจากนี้ การตรวจสอบจะไม่ได้ใช้ระบบ AI แล้ว แต่จะลงไปตรวจสอบในพื้นที่ หรือข้อมูลในพื้นที่เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราลงทุนระบบ AI มาด้วยจำนวนเงินหลักร้อยหลักพันล้านบาท กรณีนี้ควรจะเป็นกรณีศึกษาที่ต้องหาความรู้ต่อไปว่า เหตุผลใดเราจึงไม่สามารถที่ใช้ AI ในการจัดการระบบในครั้งนี้ได้ 

ซึ่งส่วนหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้ความเห็นว่า สิ่งที่เราขาดแคลนคือ การมีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ที่ถูกต้อง และสะอาดเพียงพอ ที่จะทำให้ระบบ AI สามารถที่จะทำงานได้โดยมีความผลิดพลาดน้อยที่สุด

ทั้งระบบการจัดเก็บข้อมูลภาครัฐ ที่ยังมีความซ้ำซ้อนในแต่ละหน่วยงาน  เก็บข้อมูลสะเปะสะปะ ยังไม่มีการออกระบบแบบสอบถามที่เหมาะสม หรือในบางหน่วยงาน มีการเก็บข้อมูลของประชาชนชนจริง แต่ข้อมูลที่ไม่สามารถใช้งานได้เลย เพราะเก่า ไม่ทันสมัย และไม่มีคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมในการค้นหา

นอกจากนั้น อีกประเด็นหนึ่ง แบบไทยๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหา คือ “ข่าวลือ” ต่างๆ ที่ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งพยายามปกปิดข้อมูล ไม่ให้ข้อมูลในระบบ หรือร้ายกว่านั้น คือให้ข้อมูลเท็จ เช่น การหาข้อมูลของรัฐเพื่อเก็บภาษีย้อนหลัง รัฐจะเอาข้อมูลไปเพื่อประโยชน์ทางความมั่นคง  หรือธนาคารจะเอาข้อมูลไปขาย ฯล

ดังนั้น นอกเหนือจากการเร่งแก้ไขการตรวจสอบสิทธิเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท ให้ถูกต้องครบถ้วน และใกล้เคียงความจริง ส่งเงินไปยังผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ มากที่สุดแล้ว การเรียนรู้จากบทเรียนดังกล่าว เพื่อยกเครื่องและสร้างระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ของประเทศก็เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นให้เร็วที่สุด