“ดุสิตโพล” เผยโควิด-19 ช่วยกระตุ้นคนไทย โอน-จ่ายเงินแบบออนไลน์สูงขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (5 ธ.ค.64) สวนดุสิตโพล โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เผยผลสำรวจความคิดเห็น“สถานการณ์โควิด-19 กับการชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตของคนไทย” จากประชาชนทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 1,047 คน ผ่านช่องทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-2 ธ.ค.2564 

ทั้งนี้ผลสำรวจพบว่า สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างชัดเจน โดยมีการใช้จ่ายผ่านระบบออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเป็นสังคมไร้เงินสดเร็วขึ้น 

โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 87.11% เคยชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น โอนเงิน ซื้อของออนไลน์ ชำระค่าสินค้าและบริการ ฯลฯ ส่วนที่ยังไม่เคยใช้มีเพียง 12.89%

สำหรับสาเหตุที่กลุ่มตัวอย่างยังไม่เคยใช้บริการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ได้แก่

อันดับ 1 ใช้งานไม่สะดวก สะดวกชำระเงินสดมากกว่า 71.85%

อันดับ 2 ทำไม่เป็น กลัวโอนผิด 57.04%

อันดับ 3 กลัวโดนหลอก 35.56%

อันดับ 4 ไม่มีแอปพลิเคชั่น 31.85% 

อันดับ 5 ไม่มีสมาร์ทโฟน/ไม่มีอินเทอร์เน็ต 11.85%

ส่วนผู้ที่เลือกใช้บริการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตเนื่องจาก

อันดับ 1 สะดวก สบาย ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้บริการที่ใดก็ได้ 93.51%

อันดับ 2 ลดการใช้เงินสด ป้องกันการสัมผัสและเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 81.52%

อันดับ 3 มีการสรุปยอด สรุปบัญชีชัดเจน 48.73%

อันดับ 4 ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง 44.44% 

อันดับ 5 ไม่มีค่าธรรมเนียม 40.92%

สำหรับบริการที่ประชาชนเลือกชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต ได้แก่

อันดับ 1 ซื้อของออนไลน์ 78.88%

อันดับ 2 ชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต 76.46%

อันดับ 3 ทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น โอนเงิน ตัดบัญชี 73.16%

อันดับ 4 สั่งอาหารออนไลน์ 66.01%

อันดับ 5 ผ่อนชำระค่าบ้าน ค่ารถ 42.13%

นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบก่อนและหลัง เมื่อมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ประชาชนชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 80.81% เท่าเดิม 17.32% และ ลดลง 1.87%

สำหรับปัญหาที่พบจากการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต คือ

อันดับ 1 ระบบล่ม 64.28%

อันดับ 2 ระบบแต่ละธนาคารไม่เหมือนกัน ใช้งานยาก ขั้นตอนเยอะ 47.98%

อันดับ 3 ใช้เงินเกินกว่าแผนที่กำหนดไว้ 43.82%

อันดับ 4 โดนแฮกข้อมูล นำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต 27.40%

อันดับ 5 ชำระเงินผิด โอนเงินผิด 22.43%

ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 60.65% ค่อนข้างเชื่อมั่นในความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ต แต่อีก 17.19%, ไม่ค่อยเชื่อมั่น 15.47% และ 6.59% ไม่เชื่อมั่นเลย