ดีแทค เปิดโครงการ “ดีแทค ทิ้งให้ดี”

  • ชวนมาร่วมจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์
  • เพราะมือถือเก่าคือเรื่องเล่าของความทรงจำ
  • นำมาทิ้งที่ศูนย์บริการดีแทค ทั้ง 51 แห่งทั่วประเทศ

นายชารัด เมห์โรทา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทคได้เริ่มดำเนินการจัดเก็บซากขยะโทรศัพท์มือถือเก่ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบของเรา ผมทำความเข้าใจจากสถิติที่เราเก็บได้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ดีแทคสามารถเก็บขยะมือถือได้ถึง 1,774,338 เครื่อง เข้าสู่ระบบรีไซเคิล ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 22,330,044 กิโลคาร์บอน หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ได้มากถึง 2,481,116 ต้น ดังนั้น จึงคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ

ทั้งนี้จากสถิติของหน่วยงาน กรมควบคุมมลพิษ สรุปภาพรวมปี 2561 ระบุว่า มีขยะอันตรายมีพิษได้รับการจัดการอย่างถูกต้องเพียง 13% โดยจำนวนนี้ ได้รวมถึง ขยะในกลุ่มอุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์มือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ครองสัดส่วนของซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ สูงถึง 65% จากจำนวนขยะอันตรายมีพิษทั้งหมด 

ดังนั้นดีแทคในฐานะองค์กรธุรกิจที่ให้บริการด้านโทรคมนาคม และเป็นผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของประเทศ ตระหนักถึงความรุนแรงของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของผู้คนในระยะยาว โดยดีแทคได้ยกระดับมาตรการการจัดการซากโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เชื่อมต่อ ให้เข้มข้นมากขึ้น โดยเปิดโครงการ “ดีแทค ทิ้งให้ดี” ที่เชิญชวนผู้ใช้งานอุปกรณ์สื่อสารที่มีอุปกรณ์สื่อสารที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว และยังเก็บไว้ในบ้าน ให้มาทิ้งที่ศูนย์บริการดีแทค ทั้ง 51 แห่งทั่วประเทศ

นายชารัด กล่าวว่า โครงการทิ้งให้ดี ทิ้งที่ดีแทคนั้น  เพราะมือถือเก่า…คือเรื่องเล่าของความทรงของทุกคน โดยส่วนตัวเมื่อปี 2548 ซื้อเครื่องมือถือใหม่ และใช้อยู่ระยะหนึ่ง ได้ส่งต่อให้ลูกสาว เพื่อเป็นรางวัลของความสำเร็จและผลการเรียนที่ดีของลูกสาว ซึ่งลูกสาวรักมือถือเครื่องนี้มาก นับได้ว่ามือถือ เครื่องนี้ มีเรื่องราวดีๆมีความทรงจำที่งดงาม จึงเก็บไว้มาตลอด 15 ปี และวันนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้อง “ทิ้งให้ดี” จึงนำมาทิ้งที่ศูนย์บริการดีแทค ซึ่งและมีถังรับขยะมือถืออิเล็กทรอนิกส์ จึงขอเชิญชวนทุกคน หันมาใส่ใจรักษ์สิ่งแวดล้อมและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติกันให้มากขึ้น