“ดีอี” ดันไทยก้าวสู่ศูนย์กลางดิจิทัลอาเซียน

  • เร่ง“แคท”ยกระดับเคเบิลใต้น้ำเชื่อมอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ
  • หวังดึงดูดนักลงทุนดิจิทัลทั่วโลกลงทุนในอีอีซี
  • เดือนก.ค. เปิดให้ยื่นดิจิทัล พาร์ค ศรีราชา

น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) เปิดเผยว่า เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลอาเซียนในปี2563นั้น กระทรวงดีอี จึงเร่งรัดให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท เร่งขยายความจุเครือข่ายเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ รองรับความต้องการใช้บริการอินเตอร์เน็ตที่เติบโตแบบก้าวกระโดดมากในช่วงที่ผ่านมา และเชื่อว่ายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนโยบายรัฐบาลที่มีเป้าหมายให้ประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัล โดยดีอี ได้ให้สิทธิ์ แคท ไปดำเนินการขยายความจุ และสร้างเคเบิลใยแก้วแก้วใต้น้ำระหว่างประเทศ เพื่อรองรันความต้อวการใช้งานอินเตอร์เน็ต

สำหรับภารกิจที่แคท ต้องดำเนินการคือ 1.การขยายความจุเครือข่ายเคเบิลใยแก้ วในประเทศเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมาใช้เงินลงทุน 2,000 ล้านบาท 2.การขยายความจุเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศในเส้นทางสิงคโปร์ จีน ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา ใช้เงินลงทุน 1,000 ล้านบาท โดยทั้ง2 โครงการได้ดำเนินการเสร็จแล้ว ซึ่งแคท สามารถนำไปใช้งานที่จะเพิ่มขึ้น อีกทั้งปริมาณความจุเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นนั่น จะช่วยกระตุ้นและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เกิดการสร้างงานและธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงสร้างโอกาสทางการศึกษา สาธารณสุข อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้ด้วย

และ3.การสร้างเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศเส้นทางใหม่ เชื่อมประเทศในเอเชียแปซิฟิค ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ไทย จีน เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ งบลงทุน 2,000 ล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี2564 ซึ่งจะส่งเสริมการเป็นศูนยกลางดิจิทัลอาเซียนได้อย่างสมบูรณ์

สำหรับความคืบหน้าโครงการดิจิทัลพาร์ค พื้นที่กว่า 700 ไร่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ขณะนี้ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ(ประชาพิจารณ์) อีกครั้ง หลังจากที่เปิดให้เอกชนที่สนใจยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมพัฒนาพื้นที่ดิจิทัลพาร์ค เมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าไม่มีรายใดมายื่นเอกสาร ทำให้ดีอี ต้องแก้ไขเงื่อนไข(ทีโออาร์)ใหม่ และต้องรับฟังความเห็นในครั้งนี้ โดยคาดว่าภายในเดือนก.ค.62 จะเปิดให้มายื่นเอกสาร และคาดว่าภายในไตรมาส4 ของปี2562 โดยเงินลงทุนระยะแรก 4,000 ล้านบาท

พ.อ.สรรพชัย หุวนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า จากที่แคท ได้สิทธิ์จากกระทรวงดีอี ในการดำเนินการดังกล่าวแล้ว แคท สามารถนำความจุเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ไปสร้างรายได้ และต่อยอดการสร้างงาน สร้างธุรกิจใหม่ รวมถึงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วย

“การขยายความจุเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และสร้างเส้นทางเคเบิลใยแก้วใต้น้ำเส้นใหม่ ถือเป็นการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อเตรียมรองรับนักลงทุนที่จะมาลงทุนในประเทศไทยโดยเฉพาะการมาลงทุนในพื้นที่พิเศษเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกพื้น (อีอซี)”