“ดร.เศรษฐพุฒิ” ออกโรงเตือน ระวัง “กับดัก” ในตลาดเงิน-ตลาดทุน

  • ชี้ชนวนระเบิดที่อาจตูมตามขึ้นในโลก
  • ระบุกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง นอนแบงก์-กองทุนเก็งกำไร FX
  • หวั่นตลาดหุ้น เงินทุนไหลออก กระทบ ‘ค่าบาท’ ผันผวนหนัก

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) กล่าวกับสื่อมวลชนล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า สถาน

การณ์เศรษฐกิจของประเทศไทย อาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะ จากตลาดทุน และตลาดเงินของประเทศใหญ่ๆอย่าง สหรัฐ 

และอังกฤษ รวมถึงประเทศที่ได้รับความเชื่อมั่นว่า ปลอดภัยในการลงทุน

ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ปัญหาของตลาดทุน ตลาดเงิน อาจกลายเป็นระเบิดหลายลูกที่พร้อมจะระเบิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงปีหน้า หรือ 2566 และ

จะส่งผลกระทบถึงประเทศไทย และท่ัวโลก เมื่ออัตราดอกเบี้ยไม่อยู่ในทิศ ทางที่ต่ำอีกต่อไป ในขณะที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นต่อเนื่องตามลำดับ

กลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากการเสวยสุขอยู่กับอัตราดอกเบี้ยต่ำมานาน จะเกิดสภาวะที่เรียกว่า สภาพคล่องหดหาย และหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างมากก็ โดยกลุ่มธุรกิจที่น่ากังวลที่สุด ก็คือ ธุรกิจ Non-Bank ในต่างประเทศ, กองทุนระดับโลกท่ีมีความเสี่ยงสูง, Private Equity Fund หรือ กองทุนเพื่อการลงทุนในหุ้นนอกตลาดที่ให้ผลอบแทนสูงพอๆกับความเสี่ยงที่สูง โดยเฉพาะ Leverage การใช้เครื่องมือที่ทำให้กู้ยืมเงินมาลงทุนได้มากขึ้นในระบบ FX

“พวกนี้ไม่มีใครเห็น ไม่มี Visibility เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น สภาพคล่องมีปัญหา และหนี้สูง ธุรกิจเหล่านี้ อาจจะระเบิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ทันรู้ตัว และ ถ้าเกิดระเบิดแล้ว ก็อาจจะลุกลามได้” ผู้ว่าการ ธปท.กล่าว

“เปรียบเทียบเหมือน ‘น้ำลดตอผุด’ เราอยู่ในโลกที่สภาวะดอกเบี้ยต่ำมานาน เมื่อโลกเข้าสู่สภาวะดอกเบี้ยสูง สภาพคล่องหด หนี้ในระบบโดยรวมจึงสูงขึ้นมาก” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าว 

ความไม่ปกติคือ โดยทั่วไปแล้วกลุ่มที่เปราะบาง หรือมีความเสี่ยงสูง คือธุรกิจพวก SMEs หรือประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (EM) แต่ครั้งนี้ วิกฤตกลับเกิดขึ้นในประเทศเศรษฐกิจปลอดภัยที่สุด ตลาดเงินตลาดทุนปลอดภัยที่สุด เช่น สหราชอาณาจักร 

โดยล่าสุด ความผันผวนนี้ ไประเบิดที่ Pension Fund กองทุนบำเหน็จบำนาญ และ ตลาด US Treasury (ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ) ที่ปกติปลอดภัยมาก สภาพคล่องดีมาก แต่ช่วงหลังสภาพคล่องเริ่มหดหาย กลายเป็นโรคSyndrome ที่เริ่มออกอาการไม่ค่อยดีตามๆกัน

ผู้ว่าการ ธปท. ยอมรับว่าโจทย์ Smooth Takeoff ที่เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้นั้น ปรากฏในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันไม่น่าจะได้เห็นความ Smooth แล้ว แม้เศรษฐกิจประเทศไทยจะยัง Takeoff อยู่ 

ปัจจัยที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่เคยประเมินไว้ มีทั้งปัจจัยภายในประ เทศ คือการบริโภคภายในประเทศ การท่องเที่ยว รวมถึงยังมีผลกระทบจากความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกถดถอย 

แต่หลังจากที่ได้เดินทางไปงานประชุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IMF หรือ World Bank พบว่า สิ่งที่สำคัญมาก และเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักคือ Market Dysfunction ความล้มเหลวของตลาดทุน-ตลาดการเงิน

ความไม่ปกติโดยทั่วไป มักจะอยู่ในกลุ่มที่เปราะบาง หรือมีความเสี่ยงสูงเช่นธุรกิจ SMEs รวมถึงประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (EM) แต่ครั้งนี้ วิกฤตกลับเกิดขึ้นในประเทศที่มีเศรษฐกิจปลอดภัยที่สุดตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

“ระเบิดเกิดที่ไหนก็ได้ หากไประเบิดในที่ที่มีความเสี่ยง ก็พอเข้าใจได้ แต่ขณะนี้ปัญหาเกิดในที่ที่ปกติเราไม่เคยคิดว่ามันเสี่ยง” 

ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวย้ำ ก่อนจะเสริมว่า สำหรับปี 2566 จะมีกับดักระ เบิดอีกมากมายที่ต้องเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ไม่น่ากังวล ก็คือ แบงก์ เพราะมีทัศนวิสัย (Visibility) ที่เห็นชัด และมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี หลังจากผ่านวิกฤตหนักๆ มา

สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น จะทำให้นักลงทุนเกิดความตื่นตระหนก และเข้าสู่โหมดปิดรับความเสี่ยง (Risk Off) โดยมี 3 ดัชนีชี้วัดที่จะอ่อนไหว และผันผวนเป็นพิเศษคือ ตลาดหุ้น, กระแเสเงินทุนเข้า-ออก (Fund Flow) และค่าเงินบาท 

“มีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะตก เงินทุนต่างชาติไหลออก และค่าเงินอ่อนหรือแกว่งไปมา”

อย่างไรก็ตาม ข้อดีคือประเทศไทยยังคงมีความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ดีกว่าที่อื่น เนื่องจากประเทศไทยเคยผ่านบทเรียนจากวิกฤตต้มยำกุ้งมาแล้ว

ต่อคำถามที่ว่า ท่ามกลางความเสี่ยงเช่นนี้ แบงก์ชาติรับมืออย่างไร ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ธปท. จะประเมินใกล้ชิดทุกครั้งที่แถลง หรือให้สัม

ภาษณ์ ก็จะมีการมอนิเตอร์เหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา

สำหรับประเทศไทยจำเป็นจะต้องกังวลสิ่งใดมากที่สุด ผู้ว่าการธปท. ระบุถึงความกังวลใน 2 เรื่อง ได้แก่

1.ความไม่สมเหตุสมผลของนโยบาย เช่น อังกฤษที่ออกนโยบายไม่สอดคล้องกันระหว่างการเงิน-การคลัง และความไม่สมเหตุสมผลเหล่านี้ มีคำพูดประโยคหนึ่งที่นักการเงินมักใช้กันก็คือ “Market will punish stupid policy.” สื่อความหมายว่า “ตลาดจะลงโทษนโยบายโง่ๆเหล่านั้นเอง” 

ขณะที่กรณีตัวอย่างในไทยที่น่ากังวลคือ นโยบายประชานิยมที่ดูดีระยะสั้น เช่น ล้างหนี้ กยศ. หรือลบเครดิตบูโร

 
“อาจฟังดูน่าเบื่อ แต่ขณะนี้ เศรษฐกิจไทยต้องการการเน้นเสถียรภาพมากกว่า การกระตุ้น หากอยากกระตุ้นก็ต้องเน้นTargeting ซึ่งจะต้องเฉพาะเจาะจงลงไปในกลุ่มเปราะบาง ไม่ควรหว่านแหไปทั่ว” ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวและยืนยันว่าธปท.ได้ปรึกษาหารือกับกับรมว.กระทรวงการคลังอยู่ตลอดเวลาในใการออกนโยบายการเงิน การคลัง

2.ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics Risk) ซึ่งในระยะยาว จะมีความสำคัญมาก ทั้งยังต้องติดตามด้วยว่ากระบวนการจัดการการผลิต ในห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain จะปรับตัวอย่างไร โดยเฉพาะในทิศ ทางที่ชัดเจนของการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจ

และสำหรับคำแนะนำผู้ประกอบการ กับนักลงทุนก็คือ ต้องรู้จักปรับตัวให้สามารถรับกับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการบริหารธุรกิจ และความเสี่ยงในโลกที่ผันผวนให้เกิดความยืดหยุ่น 

สำหรับคำแนะนำผู้ประกอบการและนักลงทุน ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ กล่าวย้ำว่า Resiliency นั้นมีความสำคัญมาก และแนะนำผู้ประกอบการให้บริหารความเสี่ยงในโลกที่ผันผวนดีๆ โดยที่ต้องมีความยืดหยุ่นต่อวิกฤตอยู่เสมอ