“ดร.บิ๊ก”ดนันท์ สุภัทรพันธ์ุ ข้ามฝากจากเอ็นที นั่งแท่น กจป.ไปรษณีย์ไทย มีผล 17 พ.ค.นี้

  • ของขวัญวันเกิดครบ 48 ปี ด้วยตำแหน่งกจป.ไปรษณีย์ไทย
  • มีสัญญา 4 ปี รับเงินเดือนละ 4 แสนบาท 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2564 ที่ผ่านมา นายรัฐพล ภักดีภูมิ ประธานกรรมการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พร้อมด้วยนายชัยฤทธิ์ แพทยย์สมาน กรรมการ ไปรษณีย์ไทย ได้ลงนามในสัญญาจ้าง นายดนันท์ สุภัทรพันธ์ุ ใด้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไปรษณีย์ไทย หรือ กจป. มีผลตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.นี้เป็นต้นไป มีระยะเวลาสัญญา 4 ปี อัตราเงินเดือน 400,000 บาท 

สำหรับประวัติการทำงานของนายดนันท์ นั้นถือเป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง อายุน้อย โดยจะมีอายุครบ 48 ปี บริบูรณ์ในวับรับตำแหน่งกจป.ไปรษณีย์ไทย  โดยเร่ิมต้นทำงานที่การสื่อสารโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย (กสท.) และได้รับทุนจากการศึกษาเพื่อศึกษาต่อในต่างประเทศ และเมื่อเรียบจบกลับมาทำงานใช้ทุน โดยในระหว่างทำงาน การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)​ ได้แยกกิจการไปรษณีย์ การสื่อสารออกจากกัน โดยแบ่งเป็น 2 บริษัท คือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด หรือแคท โดยนายดนันท์ ได้เลือกที่จะอยู่ทำงานกับแคท จนถึงการควบรวบกิจการระหว่าง แคท กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)​ เป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)​  ทำงานด้วยความมุ่งมั่น จากการเป็นพนักงาน จนถึงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาดเอ็นที และปัจจุบันกำลังจะเป็น “กจป.ไปรษณีย์ไทย”

ส่วนประวัติการศึกษา วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Electrical and Systems Engineering)มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิ ต (Electrical and Systems Engineering)มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ,วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (Telecommunications Engineering) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา , บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA-Executive) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์) (เกียรตินิยม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังหลักสูตร Global Business Leader รุ่นที่ 1  ,Lead Business Institute (in collaboration with Cornell University), หลักสูตรนักบริหารระดับสูง “ธรรมศาสตร์เพื่อสังคม” (นมธ.) รุ่นที่ 8 ,หลักสูตรอบรมด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับผู้บริหาร รุ่นที่ 3 ,สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (ร่วมกับ สถาบัน Institute for Global Law and Policy (IGLP) แห่งคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด)