“ฐากร”​ เครื่องติด เดินหน้า 5 จีเต็มสูบ!

  • ดึง 3 มหาวิทยาลัยรัฐตั้งศูนย์ทดลองทดสอบ
  • หากไม่เร่งทำวันนี้ “ไทย”อาจล่าหลังตามไม่ทันเพื่อนบ้าน
  • ย้ำ5จี เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของโลก

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังการลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.)  มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.)  มหาวิทยาลัยสงขลานครนิทร์ (มอ.) เพื่อร่วมมือจัดตั้งศูนย์ทดลองทดสอบ5จี ว่า  กสทช.ต้องการเดินหน้าการเตรียมพร้อมประเทศไทย เข้าสู่ยุค 5 จีในช่วยปลายปี2563 ดังนั้นในช่วงนี้ กสทช.ก็ต้องร่วมมือมหาวิทยาลัยดังกล่าว เพื่อทดลองทดสอบการนำเทคโนโลยี 5 ใช้ในการภาคการผลิต ภาคการบริการ การขนส่งสินค้า การเกษตรกรรม เป็นต้น โดยคาดว่าในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า จะเห็นผลที่ชัดเจนย่ิงขึ้น 

“กสทช.ต้องการขับเคลื่อนประเทศไทย ไปสู่ยุค 5 จี เพราะ5 จี จะเทคโนโลยี ที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจแลเะสังคมของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย  หากไทยไม่ปรับตัว ไม่เตรียมความพร้อมรตั้งแต่วันนี้ อาจตกขบวนและล่าช้ากว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในประเทศกลุ่มอาเซียน ซึ่งขณะนี้ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ก็ได้เตรียมความพร้อมที่จะทดลองทดสอบ 5 จี เช่นกัน “

นายฐากร กล่าวต่อว่า  หลังจากการลงนามเอ็มโอยู ในครั้งนี้แล้ว ทางมหาวิทยาลัย จะต้องไปจัดทำโครงการที่จะนำเทคโนโลยี 5 จีไปใช้ในการทดลองทดสอบ เสนอให้คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ.(กองทุนกทปส.) พิจารณาอนุมัติวงเงินสนับสนุน คาดว่าแต่ละมหาวิทยาลัยจะใช้เงินงบประมาณดำเนินการราว 50 ล้านบาท  ซึ่งก่อนหน้านี้กองทุนกทปส. ได้อนุมัติวงเงินดังกล่าวให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปดำเนินการทดสอบก่อนหน้า ซึ่งคาดว่าภายใน 2-3 เดือนข้างหน้าจะเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมว่าได้ทดลองทดสอบกับอุตสาหกรรมประเภทใด

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิต รองเลขาธิการกสทช. กล่าวว่า ขณะนี้กสทช.อยู่ระหว่างร่างกฎระเบียบสำหรับการทดลองทดสอบ 5 จี  เพื่ออำนวยความสะดวกให้ก้บผู้ประกอบการโทรคมนาคมในการขอใช้คลื่นความถี่ได้อย่างรวดเร็ว โดยคลื่นที่จะนำมาใช้ทดลองทดสอบครั้งนี้จะเป็นย่าน 26 กิ๊กกะเฮิรตซ์ กับ 28 กิ๊กกะเฮิรตซ์  คาดว่าภายใน 2 เดือนข้างหน้าจะดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดให้เอกชนที่สนใจยื่นขอทดลองในพื้นที่กสทช.กำหนดต่อไป 

สำหรับการทดลองทดสอบในมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความเป็นไปได้ที่จะทดลองกับภาคเกษตรกรรมการ เป็นสมา์ทฟาร์มเมอร์ ขณะที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะทดลองกับระบบความปลอดภัย การจัดเก็บข้อมูลยืนยันตัวตน ในพื้นที่ภาคใต้ เป็นการนำร่อง ส่วนที่มหาวิทยาเชียงใหม่ เบื้องต้น จะนำมาใช้ในการสื่อสารระหว่างโรงพยาบาลกับรถพยาบาล รวมถึงสื่อสารกับทีมแพทย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามต้องขึ้นอยู่กับการเสนอโครงการของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย