คลัง เดินหน้าจัดทำงบประมาณสมดุลในอีก 10  ปี ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพและขยายฐานการจัดเก็บภาษี 

  • ปีงบประมาณ67 จัดเก็บรายได้เกินเป้า 200,000 ล้านบาท
  • นำไปโปะขาดดุลและเพิ่มงบประมาณรายจ่าย
  • พร้อมสร้างความเข้าใจสร้างคนเข้าสู่ระบบภาษีมากขึ้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 10 ปีข้างหน้า จะต้องจัดทำงบประมาณสมดุลด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีและขยายฐานภาษี ซึ่งจากโครงสร้างภาษีในปัจจุบัน กระทรวงการคลัง สามารถขยายฐานภาษีได้อีก เพราะยังไม่ถึงจุดสูง ในเบื้องต้นจะต้องพยายามดึงกลุ่มคนที่มีรายได้ให้เข้ามามีส่วนร่วมและเข้าสู่ระบบชำระภาษีให้มากขึ้น รวมถึงลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงด้วย  

ทั้งนี้ในช่วงที่ประเทศไทยเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 และ 2564 จำนวนผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและมีภาษีต้องชำระลดลง แต่เมื่อปี2565 จำนวนผู้ยื่นแบบและมีภาษีที่ต้องชำระกลับมาเพิ่มขึ้น  โดยปี2562 มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีผู้ยื่น 11.80 ล้านคน มีผู้ชำระภาษี 4.02 ล้านคน  ปี2563 มีผู้ยื่นแบบภาษี 10.6 ล้านคน มีผู้ชำระภาษี 3.95 ล้านคน ปี 2564 มีผู้ยื่นแบบ 10.30 ล้านคน มีผู้ชำระภาษี 4.17 ล้าน  ส่วนปี2565 คาดว่าจะมีผู้ยื่นแบบภาษี 11.30 ล้านคน ขณะที่ผู้ชำระภาษียังไม่ทราบจำนวน ต้องรอให้การเสียภาษีให้เสร็จสิ้นในเดือนมี.ค.2566 

“ ขณะนี้ศรษฐกิจไทยสามารถผ่านพ้นช่วงโควิดมาได้แล้ว การใช้นโยบายการคลัง จำเป็นต้องกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยต้องลดขนาดการขาดดุล เพื่อเข้าสู่สมดุลภายใน 10 ปีข้างหน้า แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายลดการขาดดุล แต่การทำงบประมาณรายจ่ายยังเป็นแบบขยายตัว เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และการตั้งงบลงทุนในงบประมาณรายจ่ายจะต้องไม่น้อยกว่า 20 % ของงบประมาณรายจ่าย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของเศรษฐกิจไทย”

นายอาคม กล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ2567  รัฐบาลคาดว่าจะมีรายได้เกินกว่าเป้าหมายไว้ราว 200,000 ล้านบาท โดยเป้่หมายรายได้สุทธิที่ตั้งไว้ที่ 2.49 ล้านล้านบาท โดยรายได้ที่เกินมานั้น ส่วนหนึ่งจะนำช่วยลดขาดดุล เพื่อทำให้การขาดดุลในปีงปบระมาณ2567 ลดลงมาอยู่ที่ 593,000 ล้านบาท จากปีงบประมาณ2566 ขาดดุล 695,000  ล้านบาท และส่วนที่เหลือนำมาเพิ่มงบประมาณรายจ่ายปีถัดไป

นายอาคม กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอของพรรคการเมืองบางพรรค ที่เสนอให้ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเสนอว่า คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 40,000  หมื่นบาทต่อเดือน ไม่ต้องมีภาระภาษี จากปัจจุบันที่คนที่มีรายได้ ต่ำกว่า 26,000 บาทต่อเดือน ไม่ต้องมีภาระภาษีนั้น 

ต้องไปพิจาณารายละเอียดของแหล่งที่มาของรายได้ ที่จะนำมาใช้จ่ายในโครงการต่างๆ  เพราะแต่ละโครงการใช้จ่ายเงินจำนนวนมาก