คนไทยแห่ซื้อมอเตอร์ไซค์ 3 เดือนแรกกว่า 5 แสนคัน

  • พาณิชย์ชี้ดันธุรกิจจำหน่ายมอเตอร์ไซค์ และเกี่ยวเนื่องโต
  • ทั้งยอดจดทะเบียนตั้งธุรกิจใหม่ และผลประกอบการ
  • ..-เม..66 ตั้งบริษัทใหม่พุ่ง 41% ทุนจดทะเบียนพุ่ง 50%

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเดือนเม..66 พบว่า ธุรกิจจำหน่ายรถจักรยานยนต์ อะไหล่ และบริการที่เกี่ยวเนื่อง มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ และผลประกอบการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดย ปี 63 จดทะเบียนจัดตั้ง 194 ราย ทุนจดทะเบียน 330.56 ล้านบาท แม้ปี64 จัดตั้ง 183 ราย ลดลง 5.67% ทุน 237.35 ล้านบาท ลดลง 28.20% แต่กลับมาเพิ่มขึ้นมากในปี 65 โดยจัดตั้ง283 ราย เพิ่มขึ้น 54.64% ทุน 525.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 121.48% และยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 4 เดือน (..-เม..)ปี 66 โดยจัดตั้ง 134 ราย เพิ่มขึ้น  41.06% และทุน 193.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.69% 

ส่วนผลประกอบการ ซึ่งเป็นรายได้รวมของธุรกิจสอดคล้องกับการจัดตั้งธุรกิจใหม่ โดย ปี 63 อยู่ที่ 398,000 ล้านบาท  กำไร 35,100 ล้านบาท และลดลงในปี 64 โดยมีรายได้รวม 373,000 ล้านบาท ลดลง 6.25% กำไร 26,100 ล้านบาท ลดลง  25.69% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลกำไรที่ลดลงของธุรกิจขนาดใหญ่ อย่างปี 64 เทียบปี 63 ธุรกิจขนาดใหญ่มีผลกำไรลดลง 9,600 ล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจมีลกำไรลดลงตาม ขณะที่ขนาดเล็ก กำไรลดลง 55 ล้านบาท แต่ขนาดกลางกำไรเพิ่มขึ้น 542 ล้านบาท 

สำหรับการลงทุนในธุรกิจส่วนใหญ่เป็นคนไทย มูลค่าการลงทุน 21,600 ล้านบาท คิดเป็น 61.91% ของการลงทุนในธุรกิจทั้งหมด และมีการลงทุนจากชาวต่างชาติ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น มูลค่า 11,800 ล้านบาท สัดส่วน 33.96% จีน  419 ล้านบาท สัดส่วน 1.20% มาเลเซีย 221 ล้านบาท 0.63% เป็นต้น  ส่งผลให้  สิ้นเดือนเม..66 มีธุรกิจจำหน่ายรถจักรยานยนต์ อะไหล่ และบริการที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินกิจการอยู่ 3,690 ราย มีมูลค่าทุน 34,963.03 ล้านบาท 

ปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจนี้ขยายตัวมากขึ้น เพราะรถจักรยานยนต์มีความคล่องตัว หาที่จอดง่าย ประหยัดน้ำมัน ค่าบำรุงรักษาไม่สูง แปลงเป็นเครื่องมือทำมาหากินได้ง่าย อีกทั้งยังมีการออกแบบหลากหลายประเภทให้เหมาะกับการใช้งาน รวมถึงยังเป็นของเล่นสำหรับกิจกรรมอดิเรก เป็นของสะสม และบางกลุ่มที่ชื่นชอบตกแต่งรถ ส่งผลให้ธุรกิจอื่นเช่น ธุรกิจอะไหล่ตกแต่งรถจักรยานยนต์ ธุรกิจบริการซ่อมบำรุง ได้รับประโยชน์ไปด้วย รวมถึงธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ก็เติบโตด้วยเช่นกัน” 

ทั้งนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า เดือนม..-มี..66 ไทยมียอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์557,843 คัน และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 122,812 คัน หากเทียบสัดส่วน จะพบว่า ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์สูงกว่ามีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลถึง 435,031 คัน หรือ มากกว่าประมาณ 4.5 เท่า