การทางพิเศษเซ็ง!ทางด่วนN1ล้มไม่เป็นท่าหลังม.เกษตรศาสตร์แจ้งไม่อนุญาตให้สร้างหน้ามหาวิทยาลัย

  • “ศักดิ์สยาม”ไฟเขียว กทพ.-ทางหลวง ใช้เงินกองทุนTFFIF-มอเตอร์เวย์ ลงทุนร่วมกันสร้างทางด่วน
  • ส่วนทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ N1-N2 หากติดปัญหาพื้นที่ไหนให้เว้นก่อสร้างไว้ส่วนไหนสร้างได้สร้างไปก่อน
  • ด้านผู้ว่า กทพ. ลั่น!ด่วนN1หน้าเกษตรศาสตร์ล้มไม่เป็นท่าหลังได้รับหนังสือจาก ม.เกษตรศาสตร์ไม่อนุญาติสร้างด่วนN1

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้ให้นโยบายการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)ให้ไปดำเนินการและทำให้เกิดประโยชน์จาก กองทุนรวมโครงสร้างพื้นเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ Thailand Future Fund (TFFIF)ที่ กทพ.ระดมผ่านกองทุนรวมเพื่อมาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพราะจากการระดมทุนมา 1 ปี วงเงิน รวมกว่า 44,000ล้านบาท ทางกทพ.ต้องมีภาระการจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ลงทุนกว่าปีละ 1,000ล้านบาท ขณะที่ยังไม่มีการลงทุนให้เกิดรายได้ล่าสุดทาง กทพ. ได้เข้ามารายงานว่า จะขอดำเนินการในโครงการทางพิเศษ หรือ ทางด่วน ในโครงการที่ทางกรมทางหลวง (ทล.)ไม่สามารถดำเนินการได้แทน ซึ่งจะเป็นการร่วมดำเนินการร่วมกัน ส่วนรูปแบบการลงทุนจะป็นการร่วมทุนกันระหว่าง กทพ. และ ทล. โดย กทพ.จะใช้งบประมาณการก่อสร้างจากที่มีการระดมทุนจากประชาชนทั่วไปในรูปแบบกองทุนรวม Thailand Future Fund (TFFIF) ส่วนทล.จะใช้งบประมาณการก่อสร้างจาก กองทุนมอเตอร์เวย์ ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)

ทั้ังนี้โครงการที่ กทพ. และ ทล. จะร่วมลงทุนด้วยกันและให้ กทพ.เป็นตัวหลักในการก่อสรางดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในเขต กทม. และ ปริมณฑล ครั้งนี้คือ โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ทางยกระดับ ช่วง ศรีนครินทร์-สนามบินสุวรรณภูมิ(M7) ขนาด 6ช่องจราจร คร่อมบนทางมอเตอร์เวย์ในปัจจุบัน และ โครงการทางยกระดับ รังสิต-นครนายก ซึ่งการร่วมมือดังกล่าวจะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองและปริมณฑล ขณะเดียวกันจะช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องของการเวนคืนที่ดิน เนื่องจาก กทพ. จะมีประสบการณ์ในการดำเนินการด้านนี้มากกว่าหน่วยงานอื่นๆ

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ซึ่งนอกจากทั้ง 2 โครงการ ในส่วนของโครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1ของ กทพ.เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบนถนนหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ-N2 เชื่อมต่อจากแยกเกษตรไปยังถนนประเสริฐมนูกิจและถนนประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อการเดินทางในแนวตะวันออก-ตะวันตก เพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงโครงข่ายทางพิเศษกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) และเพิ่มทางเลือกการเดินทางให้แก่ประชาชนนั้น

เบื้องต้นขณะนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของแนวเขตทางหน้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจาก มหาวิทยาลัยเกรงจะมีมลพิษจากการจราจร ดังนั้นได้ให้นโยบาย กทพ. ว่า ช่วงไหนหากไม่สามารถก่อสร้างได้ ก็เว้นช่วงไป ส่วนช่วงไหนสามารถก่อสร้างได้ก็ให้ดำเนินการไปก่อน ส่วนหน้า มหาวิทยาลัย หาก ไม่สามาถสร้างทางยกระดับก็ให้ลองศึกษาการสร้างอุโมงค์ลอดหน้ามหาวิทยาลัยแทน แม้ว่าค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นอีก 2-30,000 ล้านบาทก็ตามก็ลองศึกษาและเสนอมายังกระทรวงคมนาคมก่อนที่จะเสนอไปยังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)เพื่อพิจารณาต่อไป

ด้านนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) กล่าวว่า การเสนอร่วมดำเนินการในโครงการทางพิเศษ ของ ทางหลวงนั้นถือเป็นทางออกที่ ทล. ไม่สามารถดำเนินการได้ทันทีกรณีที่จะต้องมีการเวนคืน ที่ทาง กทพ. มีประสบการดำเนินการเวนคืนมากกว่า และเคียร์มวลชนได้ง่ายกว่า ทล. ขณะเดียวกันการลงทุนเบื้องต้นเป็นลักษณะ กทพ.ดำเนินการแทนจะจ่ายผลประโยชน์ให้กับทล. ซึ่งจ่ายคืนแบบไหนอย่างไรนั้นจะต้องมาหาข้อสรุปในรายละเอียดอีกครั้ง ขณะเดียวกันเป็นทางออกที่ กทพ.จะนำเงินจากกองทุนรวมมาลงทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ ขึ้น และมีรายได้เกิดขึ้น เพราะขณะนี้ กทพ. ต้องมีภาระการจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท นอกจากนั้นในได้การแจ้งจากมหวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า ไม่อนุญาตให้ กทพ. สร้างทางยกระดับN-1หน้า ม.เกษตร เนื่องจากเกรงมีปัญหามลภาวะเป็นพิษ