กริยา มารยาทผู้นำ

คําพูด กริยา มารยาทโดย ดร.วีรพงษ์ รามางกรู

  • กริยา“ผู้นำ”สะท้อนระบบปกครอง
  • กับความนึกคิดของประชาชนผู้ฟัง
  • การนอบน้อมถ่อมตนเป็นส่ิงสำคัญ

กริยาวาจาของผู้นำประเทศใดๆ ย่อมมีความสำคัญต่อประเทศชาตินั้นๆ อย่างมาก บางทีกริยามารยาทของผู้นำย่อมสะท้อนระบบการปกครองของประ เทศว่า เป็นระบอบใดแสดงให้เห็นความรู้สึกนึกคิดต่อประชาชน และ  แสดง ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนเจ้าของประเทศด้วยว่า มีรสนิยมในการฟัง อย่างไร 

ในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แต่เนื่องจากประชาชนมีเป็นจำนวนมาก จะทำการปก ครองด้วยตนเอง ก็ย่อมทำไม่ได้ เช่น สภานิติบัญญัติ จะเป็นสภาของประชา ชนทั้งหมดก็ไม่ได้ ก็ย่อมมีความจำเป็นอยู่เองที่ประชาชนต้องเลือกตัวแทนของตนเข้ามาทำหน้าที่แทนตนในการออกกฎหมาย ออกข้อบังคับ และ ทำหน้าที่จัดการบริหารราชการแผ่นดิน 

ประชาชนผู้แทนราษฎรเหล่านี้จึงทำหน้าที่เลือกผู้นำ หรือนายกรัฐมนตรีเข้าทำการบริหารประเทศ นายกรัฐมนตรี หรือผู้นำประเทศ จึงทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในการจัดการบริหารประเทศ ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีเป็นผู้แทนราษฎรเลือกขึ้นมารับใช้ประชาชน ถ้าหากเขาเหล่านี้ประพฤติปฏิบัติ ฝ่าฝืนต่อเจตนารมย์ของประชาชนแล้ว 

จอห์น ล็อคนัก ปราชญ์ชาวอังกฤษ บิดาของประชาธิปไตย กล่าวว่า ประ ชาชนย่อมมีอำนาจถอดถอน หรือ ประชาชนย่อมมีอำนาจปฏิวัติถอดถอนผู้ปก ครอง ผู้นำระบอบประชาธิปไตย จึงพูดจานอบน้อม ถ่อมตัว กับ ประชาชน กับ สื่อมวลชน เป็นตัวแทนของประชาชนในอีกโสตหนึ่ง หากจะมีผู้นำใดพูดจา หยาบคาย กักขฬะ ไม่ให้เกียรติแก่สื่อมวลชน หรือ ประชาชน ก็จะถูกวิพากษ์ วิจารณ์ หรือ ถูกโต้ตอบอย่างรุนแรง เพราะสื่อมวลชนย่อมมีศักดิ์ศรี เป็นฐา นันดรสี่ของสังคม ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ที่สุดในฐานะเจ้าของประเทศ และเจ้าของอธิปไตย หาใช่รัฐบาลโดยผู้นำประเทศไม่ 

ผู้นำไทย ตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม จอมพลถนอม กิตติขจร นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ม.ร.ว.คึกฤทธ์ิ ปราโมช พล.อ.เปรม ติณสลูานนท์ พล.อ.ชวลติ ยงใจยทุธ พล.อ.สุจินดาคราประยูร ยังไม่เคยเห็นผู้นำของไทยท่านใดใช้กิริยามารยาทกักขฬะ คำพูด คำจาหยาบคาย ดูถูกเหยียดหยามผู้สื่อข่าว และ ประชาชนเลย

การที่ผู้นำใช้กริยามารยาทไม่สุภาพก็ดี วาจาดูถูกเหยียดหยาม หยาบคายก็ดี เป็นการแสดงให้เห็นว่า ตนไม่ได้เคารพนับถือประชาชนเจ้าของประ เทศเลย ไม่ได้นับถือสื่อมวลชนที่เป็นตตัวแทนของเจ้าของประเทศเลย เพราะตนไม่คิดว่า ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย 

ผู้นำที่ไม่ได้มาจากประชาชน แต่มาทำการปกครองประชาชนมาดูแล มา เป็นผู้ให้กับประชาชน ไม่ได้มีแนวความคิดว่า ตนมาจากประชาชน มาทำงานให้ประชาชน ถ้าทำไม่ดีอาจจะถูกประชาชนเปลี่ยนตัวเป็นคนอื่นได้ ไม่ได้คิดว่าในการเลือกตั้งทั่วไป ประชาชนอาจจะเลือกคนอื่นมาเป็นผู้นำแทนตนได้ 

ความที่คิดว่าตนต้องกลับมาเป็นผู้นำประเทศอีก ทำให้ต้องทำอะไรหลายอย่างที่เผด็จการทหารเขาไม่เท่ากัน แต่ก็ต้องฝืนทำ แต่ส่ิงที่ยังรับไม่ได้คือคำติชมด้วยความสุจริตใจในฐานะที่เป็นบุคคลสาธารณะ ยังรับไม่ได้ หากจะมีการติชม การแสดงความเห็นอย่างเปิดเผย การพูดอย่างตรงไปตรงมา 

  • เมื่ออยากกลับมาเป็นผู้นำอีกหน
  • ควรรับคำติชมด้วยความสุจริตใจ

การที่ยังไม่ปลดกฎเกณฑ์ที่ตนตั้งขึ้นในการจำกัดเสรีภาพในการทำกิจกรรมทางการเมือง คือ ห้ามนักการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง การห้ามชุม นุมเกินกว่า 5 คน และ คำว่ากิจกรรมทางการเมือง รัฐบาลเป็นผู้ตีความว่า อะ ไร คือ กิจกรรมทางการเมือง แต่ถ้าเป็นฝ่าย 3 มิตรดำเนินการ ก็ไม่เป็นไร คน ไทยในหมู่คนชั้นสูงด้วยกันไม่ชอบความไม่เป็นธรรม แต่ถ้าไม่เป็นธรรมกับคน ชั้นล่าง กับคนต่างวรรณะ กลับไม่เป็นไร บางทีก็ไม่รู้สึกด้วยซ้ำ

น่าจะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำประเทศใช้กริยามารยาทเช่นนี้ ใช้คำหยาบคายในที่สาธารณะซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเยาวชนรุ่นต่อๆไป ที่น่าหว่ง ก็คือ กลัวจะเป็นวัฒนธรรมทางการเมือง ที่วงการทางการเมืองรุ่นต่อๆไปจะนำไปใช้ มึง มาพาโวยในที่สาธารณะ 

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยใช้คำว่า “กูไม่กลัวมึง” ใช้เพียงครั้งเดียวและใช้ในขณะที่ท่านมิได้ดำรงตาแหน่งใดๆในรัฐบาลเลย ไม่พูดพร่ำเพรื่อ เหมือนบางคน

เมื่อจะกล่าวถึงผู้นำทางการเมืองเรา ก็มักจะนึกถึงผู้นำของประเทศมหาอำนาจเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำของสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับผู้นำของประเทศเราเอง แม้ว่าการประชุมสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษค่อนข้างจะเถื่อน มีการโห่ฮาเป็นระยะๆ และ  ไม่ค่อยให้เกียรติผู้นำประเทศ 

แต่ผู้นำประเทศก็มักจะให้เกียรติผู้นำฝ่ายค้าน รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร เพราะรัฐบาลก็เป็นรัฐบาลของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ฝ่ายค้านก็เป็นฝ่ายค้านของสมเด็จพระบรมราชินีนาถเช่นกัน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี รวมทั้งผู้นำฝ่ายค้าน และรัฐมนตรีเงา ของ ระบอบการเมืองอังกฤษ จึงพูดจา สุภาพกับสาธารณชน 

สาหรับอเมริกานั้น เป็นวัฒนธรรมของนักการเมืองสหรัฐอยู่แล้วที่จะเป็นคนสุภาพ การอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภาบางครั้งก็จะเผ็ดร้อนแต่ภาษาที่ใช้ ก็ใช้ภาษาสุภาพให้เกียรติซึ่งกันและกัน เราจะไม่เคยได้ยินประธานานาธิบดีสหรัฐ กล่าวคำผรุสวาทเลย ผู้นำการเมืองที่ใช้วาจากักขฬะหยาบคายสมัยก่อน ก็เห็นจะมีแต่ประธานาธิบดีแห่ง ยูกันดา “อีดี อา มิน” เท่านั้น

ในการประชมุคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และสมัชชาประชาชาติ ก็เป็นไปด้วยความสุภาพ ที่เห็นไม่สุภาพก็มีประธานาธิบดีนิกิต้า ครุช ชอพ แห่ง สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเซียต ที่ใช้รองเท้าขึ้นมาตบโต๊ะในห้องประชุม เป็นการแสดงความหยาบคาย แต่ก็ไม่พูดหยาบคายในที่ประ ชุม และ ที่สาธารณะ 

สาหรับประเทศไทย ผู้นำไม่ว่า จะเป็นทหาร หรือพลเรือน ทุกคนก็ใช้คำ พูด กริยามารยาทสุภาพ แม้แต่ จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร ก็ใช้วาจาสุภาพ หนักแน่น อย่างทหาร แต่ก็สุภาพเรียบร้อย 

ย่ิง พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ด้วยแล้ว ยิ่งใช้มธุรสวาจาที่สุภาพอ่อนหวานเสียยิ่งกว่าพลเรือน จนได้รับสมญาว่า “จิ๋วหวานเจี๊ยบ” พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ และ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ซึ่งมีประโยคประจาว่า“ไม่มีปัญหา” หรือ “no problem” และ เสียสัตย์เพื่อชาติ ก็ใช้คำสุภาพเรียบร้อย 

  • ควรเอาหนังสือ“สมบัติผู้ดี”กลับมา
  • สำเนียงส่อ“ภาษา”กริยาส่อ“สกุล”

พล.อ.ประภาส จารุเสถียร ที่เคยกล่าวพาดพิงถึงอาจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อย่างมีอารมณ์ แต่ก็ไม่หยาบคาย ทำนองว่า “กินขนมปัง กอดเมียฝรั่ง จะรู้อะไร” คงหมายถึงเรื่องการเมือง แต่ก็โดน ม.ร.ว.คึกฤทธตอบเอาว่า “ตนนั้นเหนือกว่าทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ และชาติวุฒิ” แม้จะเป็นเรื่องที่เจ็บแสบแต่ก็ ไม่ได้หยาบคาย หนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้หยาบคาย เรียกท่านว่า หม่อมป้าบ้าง เสาหลักประชาธิปไตยบ้าง มีอยู่หนเดียวเดียวที่ท่านคงจะโกรธเขียนลงคอลัมน์ซอยสวนพลูในหนังสือพิมพ์สยามรัฐว่า“กูไม่กลัวมึง”

นอกนั้นก็ไม่เคยได้ยินผู้นำของไทยระดับนายกรัฐมนตรี พูดจาหยาบคาย ถ้าจะมีบ้างก็อาจจะเป็นระดับรัฐมนตรี สมาชิกสภาที่เป็นพลเรือนส่วนที่ป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่นั้น ไมเ่คยได้ยิน 

ในหลักสูตรชั้นประถมศึกษาสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ดี สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ดี นักเรียนทุกคนต้อง อ่านหนังสือแบบเรียนอันโด่งดังชื่อ “สมบัติผู้ดี” เขียนโดย เจ้าพระยาพระเสด็จ สุเรนทราธิบดี หรือ ม.ร.ว.เปีย มา ลากุล อ่านซ้ำๆอยู่หลายปี ไม่ทราบว่า เดี๋ยวนี้ยัง คงอ่านอยู่หรือไม่ หนังสือเล่มนี้ ได้รับการโจมตีจากฝ่ายซ้ายว่า  เป็นกริยามารยาท และคำพูด คำทัก ทายแบบฝรั่ง ซึ่งเราพยายามทำให้เห็นว่า ชาติของเราไม่ได้ป่าเถื่อน มีกริยามารยาท เป็นชาติที่มีวัฒนธรรมเช่นเดียวกับ“นานาอารยประเทศ” 

สมัยเมื่อเรียนหนังสืออยู่ชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นยุคของ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และมาสมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษา เป็นยุคของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โรงเรียนต่างๆจัดให้มีการคัดเลือกนักเรียนที่มีกิริยามารยาท และ พูดจาเรียบร้อยที่สุดในโรงเรียน เพื่อรับรางวัลในวันไหว้ครูประจำปี ทำให้นักเรียนพูดจามารยาทเรียบร้อยในห้องเรียนขณะที่มีครูสอนและในที่สาธารณะ ใครพูดหยาบคายจะถูกตีถูกลงโทษ 

แต่นอกชั้นเรียน เป็นไปอย่างหน้ามือ เป็นหลังมือ โดยเฉพาะกับเพื่อนสนิท โดยใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 2 ตามแบบที่พบในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง ที่ย่ิงไปกว่านั้น นอกจากจะเรียกเพื่อนที่สนิทด้วยคาว่า “ไอ้” แล้ว ยังนิยมเรียกชื่อพ่อ แทนชื่อของเพื่อนแล้วใช้คำว่า“ไอ้” นำหน้าด้วย 

เพื่อนหลายคนจำชื่อเพื่อนไม่ได้ แต่จำช่ือพ่อของเพื่อนได้ แล้วใช้เรียกเป็นชื่อเพื่อนไปด้วย วัฒนธรรมอย่างนี้มีเฉพาะ ลาว กับ ไทย เท่านั้นไม่แน่ใจว่า จีน ญวน และ เขมร จะมีอย่างนี้หรือไม่ ชื่อพ่อจึงเป็นสิ่งที่ต้องเก็บเป็นความลับอย่างยิ่ง สำหรับเด็กไทยสมัยนั้น

คำพูดหยาบคายเป็นที่นิยมใช้พูด กันในหมู่คนชั้นสูง โดยเฉพาะอย่างย่ิงในบรรดาเจ้าขุนมูลนายที่ใ้ช้กับทาส และบ่าวไพร่ของตนเอง และไม่ถือเป็นคำหยาบ ในขณะเดียวกัน คำหยาบ ก็ใช้กันในหมู่คนชั้นต่ำที่เป็นไพร่ ชาวไร่ ชาวนา กับ พรรคพวกเพื่อนฝูงกันเอง และไม่ถือว่า เป็นคำหยาบคาย แต่สำ หรับคนชั้นกลางด้วยกัน และ พูดกับคนอื่นที่ไม่สนิทสนม ก็จะไม่ใช้คำพูดที่ หยาบคาย 

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเฉพาะในยุค “เชื่อผู้นำชาติ พ้นภัย” ที่พยายามแสดงให้เห็นว่า คนไทยนั้นเป็นชาติศิวิไลซ์ การกำหนดกริ ยามารยาทตามหนังสือ “สมบัติผู้ดี” ของเจ้าพระยาพระเสด็จ สุเรนทราธิบดีเสนาบดีกระทรวงธรรมการในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นเรื่องที่นำมาใช้ปฏิบัติกันอย่างแข็งขัน 

คนที่เกิดก่อนปี 2500 ขึ้นไปย่อมต้องถูกบังคับให้อ่านหนังสือนี้ทุกคน แต่สมัยนี้ไม่แน่ใจว่า จะยังอยู่ในหลักสูตรสำหรับเด็กนักเรียนหรือไม่เพราะเคยถูกประนามว่า เป็นหนังสือ ของ ชนชั้นปกครองของอังกฤษเมื่อผ่าน พ้นยุคสงครามเย็นไปแล้ว ก็น่าจะเอากลับมาใช้อีกได้ 

การมีกริยามารยาท คำพูดเป็นสิ่งหน่ึงของการแสดงความเท่าเทียมกันของสังคมประชาธิปไตย ที่ประชาชนมีศักดิ์ศรีความป็นมนุษย์เท่าเทียมกันไม่มี ใครสูงต่ำกว่ากัน ยกเว้นในสังคมที่มีการถือชั้นวรรณะ เพราะถือว่าเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงชั้นวรรณะดังคำกล่าวที่ว่า

สำเนียงส่อภาษา กริยาส่อสกุล