กระเป๋ารถเมล์สาย 73 ติดโควิด – ขสมก.เปิดไทม์ไลน์ละเอียด ยิบ-ผู้โดยสารผวาทั้งคัน

วันที่ 24 เม.ย.64 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพแจ้งว่า เมื่อวันที่ 23 เม.ย.64 เวลา 13.30 น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถปรับอากาศ สาย 73 เพศหญิงอายุ 33 ปี ได้เข้ารับการตรวจหาโควิด – 19 ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาเมื่อเวลา 20.30 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าพนักงานคนดังกล่าว เป็นผู้ติดเชื้อ จึงให้พนักงานรออยู่ที่บ้าน โดยจะนำรถพยาบาลมารับพนักงานไปรักษาตัวที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 24 เม.ย.

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จากผู้อำนวยการเขตการเดินรถที่ 8 จึงได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ดังต่อไปนี้

  1. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการแจ้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแจ้งรายละเอียดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) (ตามแนวทางปฏิบัติกรณีพบผู้ติดเชื้อฯ) โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข
  2. พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) อย่างเคร่งครัด โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสาร
    และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รวมทั้ง มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ก่อนปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง ซึ่งอุณหภูมิร่างกายของพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 13 – 22 เมษายน 2564 อยู่ที่ 36.5 องศาเซลเซียส

สำหรับไทม์ไลน์ของพนักงานสรุปได้ ดังนี้

วันที่ 13 เม.ย.64 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 หมายเลข 8 – 67043 ตั้งแต่เวลา 05.00 – 11.45 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 14 เม.ย.64 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 หมายเลข 8 – 67043 ตั้งแต่เวลา 05.00 – 11.40 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 15 เม.ย.64 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 หมายเลข 8 – 67030 ตั้งแต่เวลา 04.30 – 11.20 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 16 เมษายน 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ เมื่อเวลา 08.30 น. ได้เดินทางไปพบแพทย์ ณ คลินิกที่ตั้งอยู่บริเวณซอยอินทามระ 18 ต่อมาเวลา 09.00 น. ได้นั่งวินรถจักรยานยนต์รับจ้างบริเวณซอยอินทามระ 16 ไปกรมการขนส่งทางบก (จตุจักร) เพื่อต่อใบอนุญาตเป็นพนักงานเก็บค่าโดยสารและเดินทางกลับที่พักอาศัย ในเวลา 10.00 น. ระหว่างทางได้แวะซื้อกาแฟที่ร้านอเมซอน สาขาบิ๊กซีสะพานควาย

วันที่ 17 เม.ย.64 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 หมายเลข 8 – 67043 ตั้งแต่เวลา 07.15 – 15.25 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 18 เม.ย.64 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 หมายเลข 8 – 67119 ตั้งแต่เวลา 05.45 – 12.30 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 19 เม.ย.64 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 หมายเลข 8 – 67043 ตั้งแต่เวลา 04.40 – 12.25 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 20 เม.ย.64 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 หมายเลข 8 – 67043 ตั้งแต่เวลา 04.40 – 11.30 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 21 เม.ย.64 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 หมายเลข 8 – 67043 ตั้งแต่เวลา 04.30 – 10.40 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

วันที่ 22 เม.ย.64 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 หมายเลข 8 – 67043 ตั้งแต่เวลา 04.10 – 11.10 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที ต่อมาเวลา 19.00 น.เจ้าหน้าที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แจ้งว่ามารดาของพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ

วันที่ 23 เม.ย.64 เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ เมื่อเวลา 13.30 น. ได้เดินทางไปที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) และเดินทางกลับที่พักอาศัยในเวลา 16.00 น.

ต่อมาเวลา 20.30 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าพนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ จึงให้พนักงานรออยู่ที่บ้าน โดยจะนำรถพยาบาลมารับพนักงานไปรักษาตัวที่ศูนย์ฯ ในวันที่ 24 เม.ย.64

วันที่ 24 เม.ย.64 เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้นำรถพยาบาลมารับพนักงานไปทำการรักษาในเวลา 13.00 น.

ทั้งนี้มื่อพนักงานขับรถโดยสารนำรถกลับเข้าอู่ในแต่ละรอบ จะมีการฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70 % จึงมั่นใจได้ว่ารถโดยสารขององค์การมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

นอกจากนี้ องค์การได้พักการใช้งานรถโดยสารปรับอากาศ สาย 73 จำนวน 3 คัน ที่พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ รถโดยสาร หมายเลข 8 – 67043, 8 – 67030 และหมายเลข 8 – 67119 เป็นระยะเวลา 3 วัน
เพื่อทำการฉีดพ่น ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในรถ รวมถึง อู่จอดรถและท่าปล่อยรถโดยสาร

อย่างไรก็ตามองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการตรวจสอบ พบว่าพนักงานขับรถโดยสาร จำนวน 1 คน ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารคันเดียวกับพนักงานผู้ติดเชื้อ จึงให้พนักงานขับรถโดยสารดังกล่าวหยุดงาน
ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) หากได้ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป

ทั้งนี้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) อย่างเคร่งครัด ได้แก่ การสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสาร การล้างทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลังนำรถออกวิ่งให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเดินทาง