กระทรวงเกษตรฯเร่งวางแผนรับมือภัยแล้ง วางหมากจัดสรรน้ำอย่างเคร่งครัด

  • เฉลิมชัยสั่งบริหารจัดการแหล่งน้ำทั้งระบบแก้ภัยแล้งระยะสั้นและระยะยาว
  • เพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำพร้อมทำฝนหลวงช่วยบรรเทาความเดือดร้อน
  • ด้านอธิบดีกรมชลฯเผยทำแผนปฏิบัติการจ้างงานเสริมรายได้ให้เกษตรกรยามเพาะปลูกไม่ได้

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตนได้สั่งการให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด  โดยแผนการจัดสรรน้ำทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 ระหว่างวันที่ 1 ..2562 – 30 เม..2563 มีน้ำจัดสรรให้ 17,699 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ..) แบ่งเป็น อุปโภคบริโภค 2,300 ล้าน ลบ.รักษาระบบนิเวศและอื่น  7,006 ล้าน ลบ.สำรองน้ำต้นฤดูฝนปี 2563 (..-.. 63) รวม 10,540 ล้าน ลบ.. เกษตรฤดูแล้งปี2562/2563 จำนวน 7,874 ล้าน ลบ.และอุตสาหกรรม 519 ล้าน ลบ.รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรรับทราบสถานการณ์น้ำต้นทุน แนวทางการบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติมาเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย ทดแทนการทำนาปรัง ซึ่งจะกำหนดชนิดพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 22 จังหวัดในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาซึ่งมีน้ำเพียงพอเฉพาะการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และเลี้ยงพืชต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ยังให้กรมชลประทานขุดสระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทานขนาด 1,260 ลบ..ให้เกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุนทั่วประเทศ 40,000 บ่อ เพื่อกักเก็บน้ำบรรเทาและชะลอความแห้งแล้ง เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดินในฤดูฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้ง ในระดับไร่นาให้เกษตรกรสามารถมีน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับปลูกพืชผักแบบผสมผสานเลี้ยงปลาและตกกล้าเตรียมสำหรับทำนาในฤดูเพาะปลูก ซึ่งเป็นการทำการเกษตรแบบใช้น้ำน้อย 

นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ปี 2563 มีแผนก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็กและแก้มลิงรวม 421 โครงการเมื่อดำเนินการเสร็จทั้งโครงการจะเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1,232,121 ไร่ และเพิ่มปริมาตรเก็บกัก 942.00 ล้าน ลบ.ส่วนโครงการที่ดำเนินการก่อนนี้จะเสร็จปี 2563 ได้พื้นที่ชลประทาน 176,968 ไร่ และปริมาตรน้ำเก็บกัก 199.54 ล้าน ลบ.จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ปัจจุบันสภาพฝนมีความผันแปรสูงมาก ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำท่าและน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2562 ในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำเกินแผนที่ได้จัดสรรไว้  ทำให้เกิดปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม ส่งผลต่อระบบนิเวศและคุณภาพน้ำด้านการเกษตรกรรมอุปโภคบริโภค จึงมีแผนการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูแล้ง ปี 2562/2563 จำนวน850 ล้าน ลบ..

นอกจากนี้ยังได้สั่งการกรมฝนหลวงและการบินเกษตรปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกพืช ป่าไม้ และเพิ่มน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ โดยมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคทั้ง 5 ศูนย์ และจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วเพื่อติดตาม เฝ้าระวังสภาพอากาศ และสามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้เมื่อสภาพอากาศเอื้ออำนวยในการช่วยเหลือพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม การเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งการบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า  และจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 11 – 13 หน่วยปฏิบัติการเพื่อปฏิบัติการฝนหลวงให้ครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำหลักในพื้นที่ 77 จังหวัด ซึ่งจะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 230 ล้านไร่

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกรที่ไม่สามารถทำการเกษตรในฤดูแล้งได้ กรมชลประทานมีแผนปฏิบัติการการจ้างแรงงานปีงบประมาณ 2563 (งบลงทุนสำหรับงานซ่อมแซม บำรุงรักษา ขุดลอก ปรับปรุงงานชลประทาน  ก่อสร้างแหล่งน้ำระบบส่งน้ำเพื่อชุมชน แก้มลิง การจัดการคุณภาพน้ำและโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ ซึ่งดำเนินการจ้างแรงงานทั่วทุกภาคของประเทศ วงเงินประมาณ 3,100 ล้านบาท สามารถจ้างแรงงานได้ไม่น้อยกว่า 41,000 คน ระยะเวลา 3-7 เดือน เกษตรกรจะได้ค่าจ้างแรงงาน 24,000-58,000 บาท /คน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ดำเนินการ ซึ่งเป็นมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาระยะสั้นในฤดูแล้งนี้