กรมเจ้าท่ากาง “โรดแมป”แผนพัฒนาท่าเรือ 2 ชายฝั่งทะเลภาคใต้


 

กรมเจ้าท่า เผยคืบหน้าพัฒนาท่าเรือ 2 ชายฝั่งทะเลภาคใต้  ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย รวม 16 ท่าเรือ ขณะนี้แล้วเสร็จในส่วนท่าเรือฝั่งอันดามัน 6 ท่าเรือ คาดแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2569 พร้อมเดินหน้าขุดลอกร่องน้ำ 3 ลุ่มน้ำ อำนวยความสะดวก เดินเรือ ท่องเที่ยว  และการประมง

นายสมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) ปิดเผยถึงความคืบหน้า  แผนพัฒนาท่าเรือ 2 ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยว่า เพื่อสนับสนุนการเดินทางและการท่องเที่ยว โดยมีความคืบหน้า สำหรับชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งกรมเจ้าท่ามีแผนพัฒนาท่าเรือชายฝั่งอันดามันระหว่างปี พ.ศ.2561-2567 จำนวน 13 ท่า งบลงทุน 1,864.47 ล้านบาท ปัจจุบัน ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือปากเมง จังหวัดตรัง (ท่องเที่ยวหมู่เกาะทะเลตรัง ถ้ำมรกต เกาะมุก เกาะกระดาน) ท่าเรือสุระกุล จังหวัดพังงา (ท่องเที่ยวอ่าวพังงา เกาะปันหยี เขาพิงกัน เกาะเจมส์บอนด์ เขาตะปู) ท่าเรือเกาะลันตาใหญ่ และท่าเรือศาลาด่านตั้งอยู่ที่เกาะลันตาน้อย (ท่องเที่ยวดำน้ำ และเชื่อมโยงไปยังเกาะพีพี เกาะรอก หาดปากเมง) ท่าเรือสวนสาธารณะธารา ท่าเรือท่าเล จังหวัดกระบี่ (สนับสนุนการเดินทางข้ามฟาก ระหว่างเทศบาลเมืองกระบี่ที่ท่าเรือสวนสาธารณะธารา ไปยังท่าเรือท่าเล หรือท่าเลนตั้งอยู่บนเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ ที่มีชุมชนอาศัยอยู่ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีเกษตร)มีท่าเรือ อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2565 จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือปากคลอง จิหลาด จังหวัดกระบี่ เป็นท่าเรือต้นทาง – ปลายทาง ไปยังเกาะพีพี ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก  

รวมทั้งมีแผนพัฒนาระหว่าง พ.ศ.2567-2569 จำนวน 6 แห่ง โดยมีท่าเรือ 4 แห่ง อยู่ในเส้นทางเดินเรือขนส่งผู้โดยสารและรถยนต์ เชื่อมโยงจากจังหวัดกระบี่ – พังงา – ภูเก็ต ร่นระยะเวลาเดินทางจากจังหวัดกระบี่ไปจังหวัดภูเก็ตลง 1.5 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับทางบก ได้แก่ ต้นทางที่ท่าเรืออ่าวท่าเลน จังหวัดกระบี่ ปลายทางที่ท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต และท่าเรือที่อยู่ในเส้นทางได้แก่ท่าเรือมาเนาะห์ และท่าเรือช่องหลาด จังหวัดพังงา และมีแผนพัฒนาท่าเรืออีก 2 แห่ง ในจังหวัดกระบี่ ได้แก่ ท่าเรืออ่าวน้ำเมา และท่าเรือเกาะพีพี

รวมทั้งมีแผนพัฒนาระหว่าง พ.ศ.2567-2569 จำนวน 6 แห่ง โดยมีท่าเรือ 4 แห่ง อยู่ในเส้นทางเดินเรือขนส่งผู้โดยสารและรถยนต์ เชื่อมโยงจากจังหวัดกระบี่ – พังงา – ภูเก็ต ร่นระยะเวลาเดินทางจากจังหวัดกระบี่ไปจังหวัดภูเก็ตลง 1.5 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับทางบก ได้แก่ ต้นทางที่ท่าเรืออ่าวท่าเลน จังหวัดกระบี่ ปลายทางที่ท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต และท่าเรือที่อยู่ในเส้นทางได้แก่ท่าเรือมาเนาะห์ และท่าเรือช่องหลาด จังหวัดพังงา และมีแผนพัฒนาท่าเรืออีก 2 แห่ง ในจังหวัดกระบี่ ได้แก่ ท่าเรืออ่าวน้ำเมา และท่าเรือเกาะพีพี

สำหรับ ชายฝั่งทะเลอ่าวไทย กรมเจ้าท่ามีแผนพัฒนาท่าเรือชายฝั่งอ่าวไทยระหว่างปี พ.ศ.2563 – 2567 จำนวน 3 ท่า งบประมาณรวม 387.12 ล้านบาท โดย  อยู่ระหว่างดำเนินการจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2565 จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือปะทิว จังหวัดชุมพร (ท่องเที่ยวดำน้ำดูฉลามวาฬ ที่เกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่)   คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2566 จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ท่าเรืออ่าวมะขามป้อม จังหวัดระยอง (ท่องเที่ยวเกาะมันนอก มันกลาง มันใน และเชื่อมโยงไปยังเกาะเสม็ด อันมีชื่อเสียงได้)   รวมทั้ง มีแผนพัฒนา พ.ศ.2566 – 2568 จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือเกาะกูดซีฟร้อนท์ จังหวัดตราด สนับสนุนการเดินทางและการท่องเที่ยวเชื่อมจากท่าเรือแหลมศอกไปยังเกาะกูด

ขณะที่การขุดลอกเปิดเส้นทางทางน้ำอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน  ในงานขุดลอกร่องน้ำและทางเดินเรือ ของสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 พื้นที่ภาคใต้  มีพื้นที่ในการดูแล จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัดจัดอยู่ใน 3 ลุ่มน้ำ ของระบบการจัดการน้ำ ของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดยมีจังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในลุ่มน้ำที่ 19 ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน , จังหวัดสงขลา พัทลุง และนครศรีธรรมราชบางส่วน อยู่ในลุ่มน้ำที่ 20 ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา จังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส อยู่ในลุ่มน้ำที่ 21 ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ซึ่งแต่ละจังหวัดในการดูแลด้านการขุดลอกร่องน้ำ จะมีวิถีของชาวเรือ วัฒนธรรมและเศรษฐกิจในการเดินเรือที่แตกต่างกัน โดยทั้ง  3 ลุ่มน้ำนี้ ในปีงบประมารณ 2565  มีความคืบหน้ารวม 87.85 %

  
โดย จังหวัดนครศรีธรรมราช  ร่องน้ำส่วนใหญ่ของจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นร่องน้ำที่รับน้ำจากเทือกเขาหลวง ซึ่งน้ำจากเทือกเขาหลวง จะไหลออกสู่ปากทะเลอ่าวไทย ปัจจุบัน ในปีงบประมาณ 2565 คืบหน้า 80.45 %                                                                                      
ร่องน้ำในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด  (สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราชบางส่วน) เป็นพื้นที่รองรับน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงประชาชนรอบทะเลสาบสงขลา ซึ่งการขุดลอกร่องน้ำในพื้นที่ทะเลสาบ นอกจากจะช่วยประชาชนในเรื่องร่องน้ำทางเดินเรือ การประกอบอาชีพประมง การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ รวมถึงการระบายน้ำด้วย ในปีงบประมาณ 2565 คืบหน้า 83.10%    

                                                                             
รวมทั้งส่วนร่องน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ซึ่งจะมีพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้และบางอำเภอของจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา คือ จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในส่วนของจังหวัดชายแดนใต้นั้น ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และประกอบอาชีพประมงเป็นหลักในปีงบประมาณ 2565 คืบหน้าแล้ว 100 %