กรมอุทยานฯตื่น! คุมเข้มแหล่งท่องเที่ยวไม่ให้เกิดการทำลาย-ละเมิดกฎการเข้าชม หวั่นซ้ำรอยถ้ำนาคา

  • กำชับทุกหน่วยงานดูแลแหล่งท่องเที่ยวที่มีลักษณะโดดเด่น 
  • ไม่ให้เกิดการทำลาย ละเมิดกฎการเข้าชม 
  • พร้อมนำข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบมาหาแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว

นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1-16 และทุกสาขา ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ผู้อำนวยการสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชสำรวจแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ถูกรบกวนหรือถูกทำลายจากนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม เพื่อออกมาตรการป้องกันไม่ให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมีลักษณะโดดเด่นและมีคุณค่าสุ่มเสี่ยงต่อการถูกทำลาย

สำหรับกรณีเขตอุทยานแห่งชาติภูลังกา .บึงกาฬ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้าไปเที่ยวชมถ้ำนาคา ต่อมามีข่าวว่านักท่องเที่ยวบางส่วนใช้มือสัมผัสผนังหิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเกล็ดงู จนกลายเป็นข้อกังวลว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผนังหิน ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นแห่งนี้ได้ในอนาคต ประกอบกับมีการโพสต์ข้อความนักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งได้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปดื่มภายในแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกในเขตอุทยานแห่งชาติภูลังกานั้น เมื่อพบว่ามีนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ขึ้นชมถ้ำนาคา ละเมิดกฎที่กำหนดว่า ห้ามแตะต้องกลุ่มหินต่าง  ภายในถ้ำ ห้ามขีดเขียน ขูดลบ ขีดฆ่า ทา หรือพ่นสีและแป้งอันเป็นการกระทำผิดตาม มาตรา 19  แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ .. 2562 จึงได้ประกาศปิดการท่องเที่ยว “ถ้ำนาคา” ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกาเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายนเป็นต้นไป จนกว่าทางอุทยานแห่งชาติจะดำเนินการกำหนดมาตรการปกป้องไม่ให้มีการทำลายทรัพยากรชาติได้

นอกจาก นี้ ยังกำชับให้หน่วยงานในสังกัด ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติประสานเจ้าหน้าที่สถาปนิก ซึ่งประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์หรือเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง เพื่อออกแบบและจัดสร้างอุปกรณ์ที่เหมาะสม สำหรับป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปขีดเขียนรูปภาพข้อความ การขูดขัดขีดหิน การปักธูป โรยแป้งส่องเลขเสี่ยงโชค การใช้มือสัมผัสบนผนังหิน การขีดเขียนผนังถ้ำ ก้อนหินขนาดใหญ่ ตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ให้เข้มงวดตามประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่องห้ามไม่ให้นำเข้าไป หรือจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทในอุทยานแห่งชาติ พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่หมั่นตรวจตราตามสถานที่แหล่งท่องเที่ยว ลานกางเต็นท์  ซึ่งเป็นจุดล่อแหลมต่อการนำเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์เข้าไปดื่มภายในเขตอุทยานแห่งชาติ

พร้อมกันนี้สั่งให้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกแห่งสำรวจแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ถูกรบกวน ถูกทำลายจากนักท่องเที่ยว ตลอดจนพฤติกรรมอื่น  ที่เป็นการทำลายลักษณะเดียวกันรายงานผลโดยด่วน รวมทั้งให้หน่วยงานต้นสังกัดรวบรวมรข้อมูลต่าง  และประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาในระยะยาวต่อไป