กพท.ประกาศฉบับที่2กพท.ออกประกาศฉบับที่2กำหนดเงื่อนไขให้อากาศยาน-บุคคลเดินทางเข้าประเทศทั้ง11 กลุ่ม ต้องปฎิบัติเคร่งครัด

กพท.ออกประกาศฉบับที่2 กำหนดเงื่อนไขให้อากาศยาน-บุคคลเดินทางเข้าประเทศทั้ง11 กลุ่ม ต้องปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด – 19 หลังรัฐคลายล็อกเฟส5อย่างเคร่งครัด

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) หรือ กพท.เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามในประกาศ กพท.ฉบับที่ 2 เรื่องกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยานทำการบินเข้าออกประเทศไทย (ฉบับที่ 2) เพื่อให้​วิธีการปฏิบัติของผู้เดินทางตั้งแต่เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ต้นทางถึงเมื่อเข้ามาในไทย​ ตามที่กำหนดไว้ในแนวปฏิบัติของ​ศบค.

โดยมีสาระสำคัญ ว่า ตามที่ได้ออกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยานทำการบินเข้าออกประเทศไทย ประกาศ ณ วันที่ 29 มิฤนายน พ.ศ.2563
เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตทำการบินของอากาศยานที่เดินทางมาจากต่างประเทศ นั้น
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีแนวทางการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง
พระราชกำหนตการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 12) ประกาศ ณ วันที่
3 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โควิด – 19) ที่ 7/2563 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 6)สั่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1. ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง เงื่อนไขในการอนุญาต
ให้อากาศยานทำการบินเข้าออกประเทศไทย ประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ข้อ 2. ห้ามอากาศยานขนส่งบุคคลทำการบินเข้ามายังท่าอากาศยานในประเทศไทยเว้นแต่เป็นกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

(1) อากาศยานราชการหรือที่ใช้ในราชการทหาร (State or Military aircraft)
(2) อากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (Emergency landing)
(3) อากาศยานที่ขอลงทางเทคนิค (Technical landing) โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง
(4) อากาศยานที่ทำการบินเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทำการบินทางการแพทย์
หรือการขนส่งสิ่งของเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิต -19 (Humanitarian aid, medical and relief flights)
(5) อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินรับส่งบุคคลกลับประเทศไทยหรือกลับ
ภูมิลำเนา (Repatriation flights)
(6) อากาศยานขนส่งสินด (Cargo flights)
(7) อากาศยานที่ชนส่งบุคคลที่สามารถดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามที่กำหนด
ในข้อ 3

ข้อ 3. การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ ทางอากาศยาน สามารถกระทำได้ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข เงื่อนเวลาและหลักเกณฑ์ของผู้มีอำนาจ
ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ และกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อการป้องกันการระบาดของโรคและจัดระเบียบจำนวนบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้สอดคล้องกับความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการคัดกรองและการจัดสถานที่ไว้แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต

(1) ผู้มีสัญชาติไทย
(2) ผู้มีเหตุยกเว้นหรือเป็นกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด อนุญาต หรือเชิญให้เข้ามาในราชอาณาจักรได้ตามความจำเป็น โดยอาจกำหนด
เงื่อนไขและเงื่อนเวลาก็ได้
(3) บุคคลในคณะทูต คณะกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือผู้แทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐต่างประเทศซึ่งมาปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือบุคคลในหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นตามที่
กระทรวงการต่างประเทศอนุญาตตามความจำเป็น ตลอดจนคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของบุคคลดังกล่าว
(4) ผู้ขนส่งสินด้ตามความจำเป็น แต่เมื่อเสร็จภารกิจแล้วให้กลับออกไปโดยเร็ว
(5) ผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะซึ่งจำเป็นต้องเดินทางเข้ามาตามภารกิจและมีกำหนดเวลาเดินทางออกนอกราชอาณาจักรชัดเจน

(6) ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของผู้มีสัญชาติไทย
(7) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่
ในราชอาณาจักร
(8) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีใบอนุญาตทำงานหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ตลอดจนคู่สมรสหรือบุตรของบุคคลดังกล่าว
(9) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาของสถานศึกษาในประเทศไทยที่ทางการไทยรับรอง ตลอดจนบิดามารดาหรือผู้ปกครองของบุคคลดังกล่าว ยกเว้นนักเรียนหรือนักศึกษาของ
โรงเรียนนอกระบบตามกฏหมายว่าตัวยโรงเรียนเอกชนหรือสถานศึกษาอื่นของเอกชนซึ่งมีสถานะคล้ายกัน
(10) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งมีความจำเป็นต้องเข้ามารับการตรวจรักษาพยาบาลในประเทศไทย และผู้ติดตามของบุคคลดังกล่าว แต่ต้องไม่เป็นกรณีเข้ามาเพื่อการรักษาพยาบาลโรคโควิด – 19
(11) ผู้ไม่มีสัญชาติไทยซึ่งได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อตกลง
พิเศษ (special arrangement) กับต่างประเทศ

ข้อ 4. บุคคลผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อ 3. จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน
โรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิต – 19) ที่7/2563 สั่ง ณ วันที่
30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นตันไป