กนอ.ลงนามร่วมดำเนินงานจัดตั้งนิคมฯโรจนะชลบุรี 2 (เขาคันทรง) มูลค่า2,100 ล้านบาท

  • ลุยพัฒนาพื้นที่รับทัพลงทุนปี64
  • ทุ่มงบ2,100ล้านบนพื้นที่900ไร่
  • รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายอีอีซี

นางสาวสมจิณณ์พิลึกผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยว่ากนอ.และบริษัทสวนอุตสาหกรรมโรจนะจำกัด(มหาชน) ได้ร่วมลงนามในสัญญาเพื่อร่วมกันจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี2 (เขาคันทรง) ตำบลเขาคันทรงอำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรีบนพื้นที่900 ไร่มูลค่าการลงทุนรวม2,100 ล้านบาทรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ตามนโยบายของภาครัฐได้แก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่อุตสาหกรรมการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบครบวงจรอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรและอุตสาหกรรมเบาเป็นต้น

ทั้งนี้นิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี2 (เขาคันทรง) ถือเป็นนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานที่เป็นพื้นที่การลงทุนใหม่ในภาคตะวันออกที่ได้ยื่นขอเป็นเขตส่งเสริมตามโครงการอีอีซีแล้วขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)  และเมื่อรายงานอีไอเอได้รับความเห็นชอบแล้วคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการพัฒนาพื้นที่ทั้งหมด1 ปีโดยจะพร้อมเปิดรับนักลงทุนที่สนใจเข้าใช้พื้นที่ประกอบกิจการได้ในเชิงพาณิชย์ในปี2564

 สำหรับรูปแบบการจัดตั้งนิคมฯได้ออกแบบโดยให้ความสำคัญในการพัฒนารอบพื้นที่ทั้งหมดของโครงการฯตามแนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ(Eco-Industrial Town )ประกอบด้วยพื้นที่สีเขียวพื้นที่แนวกันชนแบบเชิงนิเวศ( Eco-Belt ) รวมถึงการออกแบบให้มีการบริหารจัดการด้านการบำบัดน้ำเสียให้สามารถนำน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วมาปรับปรุงคุณภาพและนำไปใช้ประโยชน์ภายในโครงการใหม่อีกครั้ง(Recycle) เพื่อลดอัตราการระบายน้ำทิ้งออกนอกพื้นที่ด้วย

ขณะเดียวกันการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี2 (เขาคันทรง) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติเช่นจีนญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปที่สนใจในพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งทางทำเลที่ตั้งและความพร้อมด้านโลจิสติกส์ทั้งทางบกทางเรือและทางอากาศเช่นโครงข่ายทางด่วนมอเตอร์เวย์ทางด่วนบางนา-ชลบุรีท่าเรือแหลมฉบังสนามบินแห่งชาติสุวรรณภูมิที่มีส่วนช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ระบบการขนส่งและการกระจายสินค้าในภาคการผลิตมีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียอีกทั้งนิคมฯดังกล่าว ยังเป็นพื้นที่เป้าหมายของรัฐบาลที่สามารถยื่นขอเป็นเขตส่งเสริมอีอีซี

 “ปัจจัยต่างๆเหล่านี้กนอ.เชื่อว่าจะเป็นกลไกสำคัญในการดึงดูดการลงทุนเข้าไทยมากกว่า6,000 ล้านบาทและเพิ่มการจ้างงานในพื้นที่ได้มากกว่า10,000 อัตราในอนาคตต่อไป”