กกร.โยนผ้าขาวปรับลดส่งออก-จีดีพีปีนี้ใหม่

  • ไม่ขอลุ้นแม้มีครม.ใหม่เพราะสารพัดปัจจัยลบ
  • 6เดือนหลังปีนี้ยังขาดปัจจัยหนุน
  • พร้อมยื่นสมุดปกขาวให้รัฐบาลใหม่

 นายปรีดีดาวฉายประธานสมาคมธนาคารไทยในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน( กกร. )เปิดเผยว่าที่ประชุมกกร. ได้ปรับกรอบประมาณการอัตราการเติบโตของการส่งออกในปีนี้  ลงมาที่ติดลบ1%- 1.% จากเป้าหมายเดิมท่ีคาดว่าจะขยายตัว  3-5%และแม้ว่ารัฐบาลใหม่จะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังแต่กกร. ก็มองว่าอาจไม่เพียงพอที่จะชดเชยผลจากการส่งออกที่ลดลงท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอลงและทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าจึงปรับกรอบประมาณการอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ปีนี้ลงมาที่2.9-3.3% จากเดิม3.7-4.0% สำหรับอัตราเงินเฟ้อปีนี้  ยังคงไว้ที่กรอบเดิมคือ0.8-1.2%  

ท้ังนี้ใน5 เดือนแรก(ม.ค.-พ.ค.) ของปีนี้  เครื่องชี้เศรษฐกิจของประเทศไทย  มีสัญญาณที่อ่อนแรงสะท้อนจากการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวขณะเดียวกันจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยก็ขยายตัวในระดับต่ำมีเพียงการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวจากแรงหนุนมาตรการพยุงเศรษฐกิจของภาครัฐ 

ขณะเดียวกัน6เดือนสุดท้ายของปีนี้กกร. ได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยว่าจะยังอยู่ท่ามกลางความท้าทายและขาดปัจจัยหนุนโดยแม้ว่าการส่งออกอาจจะกลับมาฟื้นตัวได้บ้างจากปัจจัยฐานและความเป็นไปได้ที่น้อยลงที่สหรัฐฯจะเก็บภาษีล็อตสุดท้ายจากจีนหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้กลับมาสู่เส้นทางการเจรจากันอีกครั้งและทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากความซบเซาของการค้าโลกรวมทั้งปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วและอาจยังมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าอีกหากธนาคารกลางสหรัฐฯส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยทำให้แนวโน้มการส่งออกทั้งปีนี้อาจมีความเป็นไปได้ที่จะไม่ขยายตัว

“ กกร.ได้ทำข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายการยกระดับคุณภาพแรงงานไทยประกอบด้วย 1 การปรับขึ้นค่าจ้างควรขึ้นตามความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดไตรภาคี2การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานและการพัฒนาฝีมือแรงงาน3การเพิ่มกำลังคนทดแทน”

นอกจากนี้กกร. ยังได้จัดทำสมุดปกขาวไว้เพื่อที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ชุดใหม่เพื่อให้นำไปดำเนินการโดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของเอกชนการทำงานของรัฐที่ควรร่วมกับเอกชนมากขึ้นการดำเนินโครงการต่างๆของรัฐที่มีอยู่ให้ต่อเนื่องเช่นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เป็นต้น