กกพ. เร่งแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี รับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

  • ผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมพลังงานสะอาด
  • ระบุเทรนด์หมุนเวียนต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสม
  • ราคาเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า วิวัฒนาการพลังงาน ช่วงเริ่มต้นการใช้ไฟฟ้าปี 2493-2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการผลิตไฟฟ้า โดยการใช้น้ำมัน ถ่านหิน พอปี 2524 เริ่มมีการนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้า ทำให้ต้นทุนลดลง โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นตัวหลักในการผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าและต่อมาปลายปี 2535 เริ่มมีบริษัทรับผลิตไฟฟ้า อาทิ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป เข้ามาดำเนินการลดภาระการลงทุนของรัฐบาล

ถัดมาปี 2537-2543 เริ่มมีเอกชนเข้ามามากขึ้น โดยมี 3 การไฟฟ้ากำกับภายใต้ระบบสัญญา และปี 2543-2546 เริ่มมีแนวทางตลาดเสรีระบบ Power pool โดยต้องสร้างตัวกลางมากำกับระหว่างผู้เล่นเอกชนและภาครัฐ ซึ่งระบบ Power pool Model ต้องยกเลิก และมีการพิจารณาแปรรูปให้เป็นเอกชนมากขึ้น และปี 2549 เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการผลิตไฟฟ้าหน่วยเล็กในพื้นที่เข้ามา โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนในรูปของการทดลอง และปี 2550 เกิดการก่อตั้งพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน โดยแบ่งแยกชัดเจนระหว่างผู้ผลิต เพื่อความเท่าเทียม

ทั้งนี้ ปี 2556 มีพลังงานหมุนเวียนแอดวานซ์มากขึ้นทั้ง Solar Roof เดิมให้ผลิตเข้าระบบโดยใช้ระบบ Adder และเริ่มมี EV Battery ฯลฯ โดยปล่อยให้เรียนรู้ระบบไฟ และเริ่มมีการแปรรูปแก๊สธรรมชาติ โดยการนำเข้า LNG และพัฒนาระบบมาเรื่อย ๆ ในปี 2560-2561 เริ่มมีการแข่งขันการนำเข้าแก๊สเข้ามาทดลองต่างๆ ปี 2562 กกพ.มองเห็นวิวัฒนาการต่าง ๆ ทั้งพลังงานหมุนเวียน ระบบไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงพิจารณาเปิด ERC Sandbox โดยให้หน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการทดลองทั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือระบบ อาทิซื้อขายซื้อขายผ่านระบบต่าง ๆ

ทั้งนี้ ถือเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และถือเป็นสถานการณ์โควิด-19 เข้ามาพอดี ทำให้ Energy Transition พัฒนาเร็วขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงในรูปของเทคโนโลยีราคาที่สวิงไปมา เพราะการใช้ไฟฟ้าลดลง ราคาจึงถูก แต่เมื่อหลายประเทศเริ่มฟื้นตัวความต้องการใช้ไฟฟ้าค่อนข้างเยอะ เริ่มมีปัญหาด้านราคา ซึ่งระบบอาจจะต้องปรับปรุงให้รองรับการเปลี่ยนแปลง

“ปี 2565 ปัจจุบันเรากำลังเจออยู่คือการเกิดวิกฤตซ้อนวิกฤต ทั้งโควิด การฟื้นประเทศ หลายประเทศอยู่ระหว่างการพัฒนาสงครามทางการเมือง ทำให้ราคาสวิงจะเห็นว่าค่าไฟและเชื้อเพลิงต่าง ๆ มีราคาขึ้นมาสูงค่อนข้างเยอะ อนาคตจะต้องมองว่าจะบริหารจัดการในส่วนที่เป็นกันกำลังการผลิตอย่างไร” นายคมกฤช กล่าว

ทั้งนี้ อนาคตพลังงานจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะพลังงานหลักที่มาจากก๊าซธรรมชาติ LNG ถ่านหิน ซึ่งอาจจะน้อยลงไปเพราะตามเทรนด์โลกที่ประกาศบนเวที COP26 เพื่ออุณหภูมิ 1.5 องศา จะเหลือพลังงานที่เป็นธรรมชาติคือ แก๊สเป็นหลัก รวมถึงกลุ่ม Future Energy ไฮโดรเจน แบตเตอรี่ Storage และพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการใช้มากขึ้น พลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับ EV หรือแม้กระทั่งปัจจุบันจะเห็นว่า บ้านที่อยู่อาศัยแทนที่จะเป็นคนซื้อพลังงานจะกลายเป็นผู้ผลิตพลังงานมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม อนาคตจะมีการใช้ Mobile ในการสื่อสารกับอุปกรณ์เพื่อเปิด-ปิดระบบไฟฟ้ามากขึ้น ถือเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา ว่าในช่วง Energy Transection กกพ.จะวางระบบอย่างไร เพื่อวางกรอบพลังงานอนาคต ทั้งนี้ อนาคตจะมีการสื่อสารผ่านระบบไร้สายมากขึ้น Business Model ก็เปลี่ยนไป โดยจะเป็น Energy ที่มาพร้อมกับ service พร้อมรวบรวมไฟฟ้าเหลือใช้มาขายต่อ

สำหรับการกำกับของกกพ. ได้เตรียมพร้อมปรับปรุงเกณฑ์รองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ประกอบด้วย 1. โครงการ ERC sandbox ดำเนินการระยะ 1 ในปี 2563 มี 32 โครงการ โดยการทดลองมีหลากหลายรูปแบบ เช่น โซล่าหลังคา ที่มีแค่ผลิตและขายเข้าระบบกับผลิตและใช้เองและผลิตใช้เองเหลือขายซึ่งพอเหลือขาย เป็นต้น ส่วนปัจจุบันทำอยู่ระยะที่ 2 เป็นการตอบสนองประสิทธิภาพการใช้พลังงานหมุนเวียน (RE) โดยจากเวทีCOP26 ที่ใช้เรื่องของพลังงานหมุนเวียนมากีดกันทางการค้าในอนาคต จึงมองว่าใครที่อยากจะใช้ RE มีแพลตฟอร์มต่าง ๆ มาทดลองได้ เพราะการใช้จริง ๆ ทางกกพ. ดูอยู่ว่าระเบียบและกฎเกณฑ์กติกาโลกจะออกมาอย่างไร 

2.การกำหนดอัตราไฟฟ้าสีเขียว หรือ Green tariff เพื่ออำนวยความสะดวกภาคอุตสาหกรรมและผู้ประสงค์จะใช้พลังงานสีเขียวโดยจะคัดไฟให้เลยว่าจะเอาเฉพาะที่เป็นพลังงานแสงอาทิตย์หรือเป็นพลังงานลมหรือชีวมวล แต่พลังงานสีเขียวจะต้องมีอัตราที่แพงกว่า 

และ 3 การปรับปรุงกฎระเบียบประเภทใบอนุญาตต่าง ๆ เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้เอง (หลังมิเตอร์) รวมทั้งการซื้อขายพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ เป็นต้น

นายคมกฤช กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการดังกล่าวจะนำไปสู่แผนยุทธศาสตร์กกพ. 5 ปี (2566-2570) ที่จะตอบโจทย์การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และดิจิทัล เทคโนโลยี โดยจะเน้นในเรื่องของความเพียงพอและควานมั่นคงด้านพลังงานเป็นหลัก เพราะถ้าต้องการพลังงานหมุนเวียนจะประกอบด้วย

1.สัดส่วนที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ 2. เกิดการแข่งขันจะนำไปสู่การราคาที่ถูกลงจะต้องเน้นในเรื่องของแก๊สหรือไฟฟ้าจะต้องให้มีการแข่งขันและมีผู้เล่นมากขึ้น ส่วนข้อ 3. และ ข้อ 4. จะเข้าสู่ในเรื่องของ low Carbon economy and Society ที่เน้นพลังงานสีเขียว และ 5. ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น

กกพ. จะต้องกำกับให้มีความปลอดภัยรวมถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และการอยู่ร่วมกันของสังคมการผลิตพลังงานหมุนเวียนให้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ เสรีภาพของผู้ใช้พลังงานต้องเข้าถึงได้ โดยบ้านเรื่องจะต้องสามารถเลือกที่จะผลิตพลังงานและใช้เองบนพื้นฐานความเป็นธรรมของผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานที่เหลือและสุดท้ายขาดไม่ได้คือนอกจากจะพัฒนาไปสู่อนาคตแล้วเราจะต้องเป็นศูนย์กลางที่มีธรรมาภิบาล บนฐานข้อมูลที่สำคัญที่เป็นดิจิตอลทรานฟอร์เมชันเข้าถึงข้อมูลง่าย และอธิบายให้ประชาชนเป็นหลัก”