ตามปกติ เดือนต.ค. ของทุกปี จะเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว ที่ฝนจะเริ่มลดลง และลมหนาวเริ่มโชยมา แต่ปีนี้ฟ้าฝนดูเหมือนไม่ยอมเลิกรา ยังคงมีฝนตกกระหน่ำ จนกลายพื้นที่ทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด
และในภาวะที่มีน้ำท่วมและอากาศชื้น จะเป็นช่วงที่เชื้อโรค แข็งแรง ทำให้เรามีโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้มากกว่าช่วงปกติ วันนี้เรามี 10 โรคที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงอากาศชื้น น้ำท่วมมาฝากกัน ว่ามีโรคอะไรที่สำคัญ และควรจะรับมืออย่างไร
โรคที่ 1 น้ำกัดเท้าจากเชื้อราและแผลพุพองเป็นหนอง เกิดจากการแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือภาวะอับชื้นจากเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่เปียก หรือไม่สะอาดเป็นเวลานาน โดยจะมีอาการเท้าเปื่อย เป็นหนอง และเริ่มคันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย จากนั้นผิวหนังจะพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก ป้องกันได้ด้วยการอาบน้ำ ล้างเท้าให้สะอาด เช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหลังลุยน้ำ หากมีบาดแผลควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ
โรคที่ 2 ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ไวรัวแพร่กระจายในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย ทำให้ติดต่อได้ง่ายกับทุกเพศทุกวัน แถมปัจจุบัน ไข้หวัดยังมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นเรื่อน ป้องกันได้ด้วย การไม่สัมผัส หรือเข้าใกล้ผู้ป่วย รวมถึงพักผ่อนให้มากๆ
โรคที่ 3 ปอดบวมเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หากสูดดมเป็นเวลานาน หรือน้ำสกปรกเข้าปากหรือจมูก อาจจะทำให้เกิดการอักเสบ อาการไข้สูง ไอมาก หอบหายใจเร็ว เห็นชายโครงบุ๋ม ริมผีปากซีดหรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่ายหรือซึม หากมีอาการควรรีบพบแพทย์ทันที
โรคที่ 4.โรคตาแดง ติดต่อได้ง่ายในเด็กเล็กแต่เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย มีอาการระคายเคือง ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง ป้องกันได้ด้วยล้างดวงตาให้สะอาดเมื่อถูกฝุ่นละออง หรือ่น้ำสกปรก หมั่นล้างมือบ่อยๆ ไม่ควรขยี้ตา
โรค 5.โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายจากการกิน หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่โรคอุจาระร่วง ไปจนถึงโรคบิดแบะ โรคไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย ป้องกันได้โดยล้างมือให้สะอาด กินอาหารที่สุกสะอาด กำจัดขยะมูลฝอย ขจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน
โรคที่ 6.โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนในน้ำท่วมขัง โดยโรคนี้จะติดต่อทางบาดแผล รอยขีดข่วน หรือไชเข้าตามเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ มิเช่นนั้นอาจถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยสมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ ทำความสะอาดที่พักไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนู
โรคที่ 7.โรคไข้เลือดออก น้ำท้วมขัง เป็นแหล่งเพราะพันธุ์ของยุง โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะพบได้ทุกวัยในทุกพื้นที่ การรักษาห้ามใช้ยาแอสไพริน โดยป้องกันระวังไม่ให้ถูกยุงกัด
โรคที่ 8 โรคไข้มาลาเรีย เป็นอีกโรคติดต่อโดยยุงก้นปล่อง เป็นพาหะนำเชื้อโรค อาการทั่วไปคล้ายไข้หวัด แต่หลังจากนั้นจะหนาวสั่นและไข้สูงตลอดเวลา อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงยุงการถูกยุงกัดหรือสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด
โรคที่ 9 โรคหัด เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบในฤดูฝน หากมีการแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตได้ โดยหลายครั้งในพื้นที่น้ำท่วมขัง จะพบโรคหัดในเด็กเพิ่มขึ้น
โรคที่10 โรคสุดท้าย คือ โรคเครียดวิตกกังวล มักจะเกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในภาวะน้ำท่วมขังนานๆ หรือประสบปัญหาทรัพย์สินเสียหายจากน้ำท่วม ซึ่งอาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด ผู้ที่ประสบปัญหาควรที่จะพยายามลดความวิตกกังวล ขณะที่ผู็ใกล้ชิดควรสังเกตอาการและให้ความช่วยเหลือ ช่วยให้คนที่ประสบภัย ไม่ต้องทุกข์ที่ใจเพิ่มขึ้น