แม้ว่ากลโกงการหลอกให้เหยื่อโอนเงิน ของ “แก็งคอลเซนเตอร์” จะเคยเป็นข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์มาหลายครั้งหลายหน มีคนตกเป็นเหยื่อเป็นตัวอย่างมาแล้วจำนวนมาก
แต่พอถึงตาเราเข้าจริงๆ รับโทรศัพท์แล้วได้รับข้อความที่น่าตกใจเกี่ยวกับ “บัญชี” เกี่ยวกับ “ฐานะทางการเงิน” หลายคนก็อดที่จะลังเลไม่ได้ว่า เออ!นี่มันเรื่องจริง หรือเราถูกหลอก
มาเปิด 5 เรื่องราวที่ “แก็งคอลเซนเตอร์”มักจะใช้เพื่อโทรหาเหยื่อ เมื่อไรที่ “เรารับโทรศัพท์” แล้วได้รับฟังเรื่องราวเหล่านี้ ให้คุณๆ แน่ใจได้เลยว่านี่แหละ “แก็งคอลเซนเตอร์”
- บัญชีเงินฝากถูกอายัด หรือเป็นหนี้บัตรเครดิตจำนวนมาก
ข้ออ้างที่นิยมใช้มากที่สุด คือหลอกว่าเราถูกอายัดบัญชีเงินฝาก จากเหตุผลต่างๆ เช่น เป็นหนี้บัตรเครดิต หรือกู้เงินผ่านสินเช่ื่อบุคคลและไม่มีการชำระ โดยมิจฉาชีพจะเพิ่มความน่าเชื่อถือขึ้นด้วยการใช้เสียงอัตโนมัติ เช่น “คุณเป็นหนี้บัตรเครดิตกับทางธนาคาร กด 0 เพื่อติดต่อพนักงาน” เมื่อเราตกใจ ก็จะตกหลุมพรางรีบต่อสายคุยกับมิจฉาชีพทันที
หากได้รับโทรศัพท์แบบนี้ และคุณมีความไม่มั่นใจ ให้วางสายนี้ และติดต่อธนาคารที่เรามีบัญชีโดยตรง - บัญชีเงินฝากพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือการฟอกเงิน
มิจฉาชีพจะโทรมาหลอกเหยื่อต่อว่าบัญชีของคุณถูกอายัด เนื่องจากพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือติดปัญหาการฟอกเงิน และพยายามขอให้เหยื่อโอนเงินทั้งหมดมาตรวจสอบ ถ้าได้รับโทรศัพท์แบบนี้ แน่ใจได้ 100% เลยว่าเป็น “แก็งมิจฉาชีพ” เพราะถ้าคุณพัวพันกับยาเสพติดหรือฟอกเงิน ตำรวจคงมาจับคุณแล้ว คงไม่โทรมา
- .คุณได้เงินคืนภาษี
ข้ออ้างคืนเงินภาษีนี้ มักจะถูกเลือกมาใช้ในช่วงที่มีการยื่นภาษีและมีการขอคืน โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งว่า เหยื่อได้รับภาษีคืนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะต้องยืนยันรายการและทำตามคำบอกที่ตู้เอทีเอ็ม แต่แท้จริงแล้วขั้นตอนที่มิจฉาชีพให้เหยื่อทำนั้นเป็นการโอนเงินให้กับมิจฉาชีพ - โชคดีรับรางวัลใหญ่
มิจฉาชีพจะอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทหรือตัวแทนองค์กรต่าง ๆ แจ้งข่าวดีว่า ได้รับเงินรางวัลหรือของรางวัลที่มีมูลค่าสูง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อ จะหลอกเหยื่อให้โอนเงินค่าภาษีให้
- .ข้อมูลส่วนตัวหาย
มิจฉาชีพ จะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน และแจ้งว่า “ข้อมูลส่วนตัวของคุณ”หายไปจากระบบ โดยเล่าเหตุการณ์ที่ดูน่าเชื่อถือ ที่ทำให้ข้อมูลของลูกค้าสูญหาย เช่น เหตุการณ์น้ำท่วม จึงขอให้เหยื่อแจ้งข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน เพื่อมิจฉาชีพจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปปลอมแปลงเพื่อขอสินเชื่อ หรือทำธุรกรรมทางการเงิน ถ้ารับโทรศัพท์แล้ว ได้ยินได้ฟังเรื่องราวเหล่านี้ 99.99% ให้แน่ใจเลยว่า เราถูกหลอก อย่าไปหลงกลหรือหลงเชื่อ แต่ถ้ายังมี 0.01%ที่ยังไม่แน่ใจ ให้วางสายนี้แล้วติดต่อตรงไปที่ธนาคารพาณิชย์ที่เรามีบัญชีอยู่ เพื่อให้รู้แน่ก่ว่า…ข้อมูลทั้งหมดที่ได้ เราคุญอยู่กับ “ธนาคาร”ตัวจริง
ขอบคุณภาพจาก money hub