- ใช้แบบครั้งเดียว ปลอดภัยมากขึ้น
- สแกนได้ทั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และร้านสะดวกซื้อ
- เริ่มใช้แอพฯ 5 ธนาคารแรกไตรมาส 4 ปีนี้
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายนโยบายสถาบันการเงิน กล่าวว่า เพื่อเป็นการขยายโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน ในการชำระเงินด้วระบบอิเลกทรอนิกส์ ซึ่งการใช้คิวอาร์โค้ดในการซื้อขายสินค้าและบริการ ถือเป็นโครงสร้างทางการเงินอิเลกทรกนิกส์หนึ่งที่สร้างความสะดวกให้สังคมไร้เงินสด และที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีร้านค้าที่รับชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดประมาณ 5 ล้านร้านค้า และมีวงเงินที่ชำระผ่านคิวอาร์โค้ดประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้คิวอาร์โค้ดให้กับลูกค้ามากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความสะดวกในการแยกแยะการชำระเงิน และการศึกษาพฤติกรรมลูกค้า ของร้านค้าและผู้ให้บริการ ธปท.ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และภาคเอกชน และฟินเทค พัฒนาการชำระเงินในลักษณะการใช้คิวอาร์โค้ด รูปแบบใหม่ MyPromptQR ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากแนวทางที่ลูกค้าต้องสแกนคิวอาร์โค้ดของร้านค้า เป็นให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า ลดความนยุ่งยากของลูกค้าในการต้องสแกน กดตัวเลข และชำระเงินลง โดยตั้งเป้าให้แอพพิเคชั่นกระเป๋าสตางค์ และแอพพลิเคชั่นโอนเงินอิเลกทรอนิกส์เข้าร่วมให้มากที่สุด และในอนาคตจะขยายไปถึงร้านค้าในอาเซียนด้วย
นายยศ กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า การใช้ MyPromptQR ลูกค้าจะสามารถกดคิวอาร์โค้ดของตัวเองได้จากแอพพลิเคชั่นของธนาคารพาณิชย์ หรือแอพพลิเคชั่นกระเป๋าที่ลูกค้ามี ซึ่งจะเป็นคิวอาร์โค้ดแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เมื่อลูกค้าได้คิวอาร์โค้ดซึ่งเชื่อมกับบัญชีตัวเองมาแล้ว ก็สามารถให้ร้านค้าสแกนเพื่อชำระเงินค่าสินค้าและบริการได้ ซึ่งหลังจากชำระแล้ว คิวอาร์โค้ดนั้นจะหมดอายุทันที ผู้อื่นไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก ซึ่งทำให้มีความปลอดภัยสูง โดยธปท. สมาคมธนาคารไทย ร่วมกับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ร้านสะดวกซื้อ และฟินเทค ร่วมพัฒนามาย คิวอาร์โค้ดมาระยะหนึ่งแล้ว โดยในขณะนี้ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เดอะมอลล์ กรุ๊ป บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เครือเซ็นทรัล เซ็นทรัล เจดี มันนี่ และร้านสะดวกซื้ออีกจำนวนหึ่ง มีความพร้อมที่จะสแกนมาย คิวอาร์โค้ดของลูกค้าเพื่อชำระเงินได้แล้ว
ขณะที่ในส่วนของแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการ มาย คิวอาร์โค้ดนั้น ในขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์ที่แอพพลิเคชั่นชำระเงินทางมือถือ ได้เข้าร่วมโครงการแล้วทั้ง 8 ธนาคาร ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสิน ธนาคารธนชาต และธนาคารยูโอบี ซึ่งในช่วงต้นไตรมาสแรก แอพพลิเคชั่นของธนาคารจะพร้อมใช้มาย คิวอาร์โค้ดได้ทั้งสิ้น 5 ธนาคาร และอีก 4 ธนาคารจะพร้อมในต้นปีหน้า