อุบลฯยังอ่วมหนัก!ชาวบ้านร้านตลาดยังสัญจรผ่านถนนหนทางหลวงไม่ได้ 8 แห่ง



นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) แจ้งว่า  จากผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัยพายุโพดุลและคาจิกิ  ในส่วนของกรมทางหลวงพบว่าถนนทางหลวงถูกน้ำท่วมขณะนี้ 5 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ปราจีนบุรี และศรีสะเกษ  มีถนนเสียหายจำนวน 14 สายทาง ซึ่งเป็นถนนทางหลวงที่การจราจรผ่านไม่ได้  8 แห่ง สำหรับจังหวัดอุบลราธานีนั้นขณะนี้พบว่าสถานการณ์น้ำได้เริ่มลดลง ทั้งนี้ ฝั่งขาเข้าเมืองอุบลฯ (ด้านซ้ายทาง) รถทุกชนิดยังผ่านไม่ได้และฝั่งขาเข้าอำเภอวารินชำราบ (ด้านขวาทาง) รถทุกชนิดยังผ่านไม่ได้ มีรายละเอียด ดังนี้

จ.อุบลราชธานี จำนวน 7 แห่ง

1. ทล.24 ตอน บ้านสวน – เขื่องใน ช่วงกม.ที่ 418 – 420

มีน้ำท่วมสูง ระดับน้ำสูง 95 ซม. ประชาชนที่จะเดินทางสามารถใช้ทางเลี่ยงเลี้ยวขวา ทล.231 ไปอ.เมืองอุบลราชธานี

2. ทล.2382 ตอน เขื่องใน – ธาตุน้อย ช่วงกม.ที่ 12 – 17

โดยมีน้ำท่วมสูง  10 – 35 ซม. ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ทำการติดตั้งป้ายเตือน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์การจราจรในพื้นที่  

3. ทล.2383 ตอน ม่วงสามสิบ – ดู่น้อย ช่วงกม.ที่ 11 – 15

โดยมีน้ำท่วมสูง 15 – 20 ซม. ซึ่งเส้นทางนี้ได้มีการปิดการจราจร กม.10 – 17 ประชาชนที่จะสัญจรเส้นทางนี้ต้องใช้ทางเลี่ยงทล.23 เข้าสู่ ทล.212

4. ทล.2404 ตอน เขื่องใน – นาคำใหญ่ ช่วงกม.ที่ 4+929 (สะพานห้วยเรือ)

เส้นทางนี้จะมีคอสะพานชำรุด ทำให้ต้องมีการปิดการจราจร ซึ่เจ้าหน้าที่ได้ทำการติดตั้งป้ายเตือน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์การจราจรในพื้นที่

 5. ทล.2404 ตอน เขื่องใน – นาคำใหญ่ ช่วงกม.ที่ ช่วงกม.ที่ 14 – 15

ซึ่งเส้นทางนี้มีน้ำท่วมสูง 10 – 80 ซม. เจ้าหน้าที่ได้ทำการติดตั้งป้ายเตือน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์การจราจรในพื้นที่

6. ทล.2408 ตอน นาคำใหญ่ – โพนเมือง ช่วงกม.ที่ 14 – 18 

เส้นทางนี้มีน้ำท่วมสูง ระดับน้ำสูง 10 – 20 ซม. โดยเจ้าหน้าที่ได้ทำการติดตั้งป้ายเตือน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์การจราจรในพื้นที่

7. ทล.2412 ตอน ท่าวารี – ท่าศาลา ช่วงกม.ที่ 9 – 10 

มีน้ำท่วมสูง ระดับน้ำสูง 20 ซม. ซึ่งได้ทำการติดตั้งป้ายเตือน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์การจราจรในพื้นที่

จ.ศรีสะเกษ จำนวน 1 แห่ง    

 1. ทล.2412 ตอน ท่าศาลา – ละทาย ช่วงกม.ที่ 12 – 16

เส้นทางนี้มีน้ำท่วมสูง 0 ซม. เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการติดตั้งป้ายเตือน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์การจราจรในพื้นที่

ทั้งนี้ กรมทางหลวง ได้ติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์นำทาง วางแนวคอนกรีตแบริเออร์กั้นน้ำ ให้เป็นแนวเส้นทางในบริเวณทางหลวงที่ถูกน้ำท่วม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ทาง พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์จนกว่าจะคลี่คลาย โดยขอให้ประชาชนผู้ใช้ทางโปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด 

อย่างไรก็ตามหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือ ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อ ได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และ   สายด่วนกรมทางหลวง 1586 สามารถโทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง