

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า ภายหลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้มีรายชื่อรัฐมนตรีที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมที่มีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ดำรงตำแหน่ง รมว.คมนาคม นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ์ รมช.คมนาคม จากพรรคพลังประชารัฐ และ นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม จากพรรคประชาธิปัตย์นั้น โดยเมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่ผ่านมาทางทีมงานนายอธิรัฐ ได้เดินทางมาพบข้าราชการประจำสำนักรัฐมนตรี (สลค.)กระทรวงคมนาคม เพื่อเลือกห้องทำงาน โดยนายอธิรัฐได้เลือกห้องทำงานชั้น 3 ซึ่งเดิมเป็นห้องทำงานของนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม ส่วนนายถาวร เสนเนียม ได้ไปอยู่ห้องทำงานชั้น 3 อาคาร3 เดิมเคยเป็นห้องรัฐมนตรีช่วยคมนาคม มาหลายสมัย ซึ่งสภาพห้องต้องมีการปรับปรุงขนานใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันได้ปิดตายไว้ ส่วนนายศักดิ์สยาม นั้น ห้องทำงานจะอยู่ชั้น 2 อาคาร1 เช่นเดิม เช่นเดียวกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในทุกสมัยเคยใช้
โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ 1 เดือน นายเจือ ราชสีห์ ซึ่งเป็นตัวแทนของทางทีมงานนายถาวร เสนเนียม ได้เดินทางมาที่กระทรวงคมนาคม ฝ่ายสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี เพื่อขอข้อมูลในการดำเนินการต่างๆของโครงการที่กระทรวงคมนาคมดำเนินการอยู่ ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และ ทางอากาศ เพื่อไปศึกษาข้อมูลก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ
ล่าสุดวันนี้(12 กค) ทางทีมงานของนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ์ ได้เดินทางมายังกระทรวงคมนาคม อีกครั้งเพื่อจะขอดูห้องแต่ไม่สามารถเข้าไปดูได้เนื่องจากนายไพรินทร์ ยังคงมาทำงานอยู่ จึงได้มีการนัดหมายกับ ทีมงานข้าราชการ สลค.เพื่อที่จะมาดูห้องในวันเสาร์ที่13- อาทิตย์ที่14 ก.ค.นี้แทนส่วนการเข้ามาทำงานคาดว่าน่าจะหลังวันที่ 18 ก.ค. ภายนหลังจากที่มีการถวายสัต์เรียบร้อยแล้ว
ส่วนประเด็นเรื่องการแบ่งงาน ก็เป็นที่วิจารณ์ อย่างกว้างขวาง หลังมีการแจ้งให้ข้าราชการหลายหน่วยงานทราบ นายอธิรัฐ มีความประสงค์ จะกำกับดูแลงาน กรมทางหลวง ,กรมทางหลวงชนบท และงานระบบรางทั้งหมด อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา งานในส่วนของกรมทางหลวงซึ่งถือเป็นกรมใหญ่และมีงบประมาณมาก มักจะถูกกำกับดูแลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขณะที่งานที่เกี่ยวข้องกับระบบรางทั้งหมด ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญตั้งโครงการรถไฟความเร็วสูง ,รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โครงการรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆในเมือง ก็ถือเป็นภารกิจหลัก ที่รัฐมนตรีว่าการจะเป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งท้ายที่สุดจะต้องไปดูว่า ประเด็นเรื่องการแบ่งงาน จะกลายเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐมนตรีที่อยู่ต่างพรรคการเมือง
สำหรับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม จะประกอบด้วย กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ,สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.),กรมเจ้าท่า(จท.) สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) กรมท่าอากาศยาน(ทย.) กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ,องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)
บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ,บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน)(ทอท.),บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย(บวท.) ,การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.),การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.),บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด(แอร์พอร์ตลิ้ง), บริษัท ไทย-อะมาดิอุส เซาท์อีสต์ เอเซีย จำกัด ,บริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.),