“สุริยะ” ตรวจสอบสถานการณ์การปล่อยฝุ่น พีเอ็ม 2.5



  • สั่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบโรงงานที่มีความเสี่ยงปล่อยฝุ่น
  • เน้นโรงงานที่มีการใช้พลังงานจากหม้อน้ำและหม้อต้ม
  • ที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการลงพื้นที่ตรวจโรงงาน ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานสังกัดของกระทรวงฯร่วมมือกับผู้ประกอบการ เร่งตรวจสอบ และหามาตรการลดปัญหาฝุ่นละออง พีเอ็ม 2.5 ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยเน้นเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการ เชิงพื้นที่การป้องกัน และลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง

ทั้งนี้ ในส่วนกระทรวงฯจะมีการตรวจสอบ และติดตามสถานการณ์โรงงาน ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สามารถก่อให้เกิดฝุ่นละออง จำนวน 6,104 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นโรงงานที่มีการใช้พลังงาน ในหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนและอุปกรณ์การเผาไหม้อื่น ๆ ท่ี มีจำนวนอุปกรณ์รวมกัน 13,629 เครื่องทั่วประเทศ แบ่งเป็น โรงงานภาคกลาง 3,338 แห่ง, ภาคเหนือ 286 แห่ง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 513 แห่ง, ภาคตะวันออก 1,148 แห่ง, ภาคตะวันตก 324 แห่ง และภาคใต้ 495 แห่ง โดยส่วนใหญ่ฝุ่นละออง พีเอ็ม 2.5 จะเกิดจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีการใช้พลังงานในหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนและอุปกรณ์การเผาไหม้อื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, โรงสีข้าว, ผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้ง, การฟอกย้อม, การเกษตรแปรรูป, เคมีภัณฑ์, การแปรรูปไม้, สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

สำหรับโรงงานในกลุ่มเสี่ยงที่ใช้พลังงานในหม้อน้ำ หม้อต้ม ที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และอุปกรณ์การเผาไหม้อื่น ๆมี จำนวน 13,629 เครื่อง ส่วนใหญ่ใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันเตา, น้ำมันดีเซล, น้ำมันก๊าด, ก๊าซธรรมชาติ,ก๊าซหุงต้ม , ชีวมวล และถ่านหิน เป็นต้น และที่ผ่านมากรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้มีการจัดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ สำหรับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน โดยการปรับแต่งการเผาไหม้ เพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง แก่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการ และต่อไปก็จะขยายไปโรงงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ นายสุริยะ กล่าวว่า จากก่ารลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงาน 2 แห่งในคร้ังนี้ เป็นโรงงาน ที่มีหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน คือ บริษัทไมลอทท์ แลบบอราทอรี่ จำกัด ที่ ประกอบกิจการผลิตเครื่องสำอาง น้ำหอมปรับอากาศ วัสดุสังเคราะห์สำหรับซักฟอก เพื่อการส่งออก พบว่าบริษัท ได้เปลี่ยนระบบหม้อต้ม (Boiler) จากการใช้น้ำมันเตา ไปเป็นก๊าซหุงต้ม ท่ีมี ีประสิทธิภาพการเผาไหม้สูง ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง พร้อมทั้งยังจัดให้มีการใช้รถดูดฝุ่นและฉีดพรมน้ำบริเวณถนน ด้วยน้ำที่นำกลับมาใช้ซ้ำ (Re-use) ที่ บำบัดมาจากน้ำเสียจากกระบวนการผลิต เมื่อมีการตรวจวัดปริมาณฝุ่น พีเอ็ม 2.5 ภายในบริษัท ก็อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน