สำรวจบ้านว่างในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไม่มีคนอยู่ถึง 525,889 หน่วย ส่งสัญญาณล้นตลาดหรือไม่



  • เผยโซนบางพลี-มีนบุรี-ลาดกระบังยังปลอดภัยบ้านว่างน้อย
  • โซนอันตรายบ้านล้นไม่มีคนอยู่โซนนนทบุรี-บางนา-บางใหญ่ 

นายโสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด ในนามของประธานก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิประเมินค่านายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับความอนุเคราะห์จากการไฟฟ้านครหลวงประมาณการจำนวนบ้านว่าง (บ้านทุกประเภทที่ใช้เกณฑ์ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน15 หน่วยต่อเดือนคือไม่ได้ใช้หรือแทบไม่ได้เข้าใช้สอยบ้านเลย

ทั้งนี้ตัวเลขบ้านว่างมีความสำคัญต่อการวางแผนทั้งภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการวางนโยบาย และแผนต่อการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย การไฟฟ้านครหลวงที่ติดตั้งมิเตอร์แต่มีผู้ใช้น้อยซึ่งอาจไม่คุ้มค่า ภาคเอกชนโดยเฉพาะนักพัฒนาที่ดินที่จะต้องระมัดระวังไม่พัฒนาในที่ๆมีสินค้าล้นตลาด สินค้าเหล่านี้อาจมาขายแข่ง รวมถึงสถาบันการเงินที่อำนวยสินเชื่อ นักลงทุนตลอดจนผู้ซื้อบ้านที่พึงมีข้อมูลการลงทุนซื้อบ้านอย่างรอบรู้

นายโสภณ กล่าวว่า จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีบ้านว่างทั้งห้องชุดและบ้านแนวราบ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว อยู่525,889 หน่วย โดยปีๆหนึ่งมีการผลิตที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ110,000-120,000 หน่วย ซึ่งเท่ากับว่าถ้าไม่ผลิตที่อยู่อาศัยใหม่ปีครึ่ง ยังมีบ้านเหล่านี้เป็นอุปทานขายได้ในตลาด จึงนับว่าบ้านว่างมีจำนวนมหาศาล แต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นสัญญาณอันตราย

สำหรับบ้านว่าง 525,889 หน่วยนี้คิดจากจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมด 5,097,815 หน่วย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือราว 10.3% ของทั้งหมด แสดงว่าในบ้าน 10 หลัง จะมีหลังที่ว่างอีกหลัง มีผู้อยู่อาศัยสัดส่วนนี้ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเกิดวิกฤติเมื่อ 20 ปีก่อน  โดยในปี2538 นั้นพบบ้านว่าง 14.5% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดในขณะนั้น และต่อมาในปี 2541 พบบ้านว่างประมาณ12.0% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดสัดส่วนของบ้านว่างจึงลดลงตามลำดับ

ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าบ้านแนวราบมีสัดส่วนของบ้านว่าง9.2% (มีบ้านว่างหลังทุกบ้าน11 หน่วยในขณะที่ห้องชุดโดยรวมมีสัดส่วนว่างถึง13.9% (มีบ้านว่างทุกหน่วยในหน่วยทั้งนี้เพราะห้องชุดมีไว้เพื่อการลงทุนการปล่อยเช่าหรือขายต่อมากกว่าบ้านแนวราบที่มักไว้ใช้เพื่อการอยู่อาศัยโดยผู้ใช้สอยจริง สินค้าห้องชุดจึงต้องให้ความระวังเป็นพิเศษในการลงทุนในขณะนี้

สำหรับพื้นที่ที่ปลอดภัยมีบ้านว่างน้อยอันดับที่คือพื้นที่บางพลี มีหน่วยที่อยู่อาศัยทั้งหมด198,272 หน่วย ไม่มีผู้อยู่อาศัย16,674 หน่วย หรือคิดเป็น8% ซึ่งเท่ากับว่ามีบ้านว่างหน่วยในทุกๆ 12 หน่วย อันดับที่คือพื้นที่มีนบุรี มีหน่วยที่อยู่อาศัยทั้งหมด226,940 หน่วย ไม่มีผู้อยู่อาศัย19,976 หน่วย หรือคิดเป็น9% ซึ่งเท่ากับว่ามีบ้านว่างหน่วยในทุกๆ 11 หน่วย และอันดับที่คือพื้นที่ลาดกระบัง มีหน่วยที่อยู่อาศัยทั้งหมด156,375 หน่วย ไม่มีผู้อยู่อาศัย14,009 หน่วย หรือคิดเป็น 9% ซึ่งเท่ากับว่ามีบ้านว่างหน่วยในทุกๆ 11 หน่วย

ในส่วนพื้นที่ที่อันตรายโดยมีสัดส่วนบ้านว่างมากเป็นพิเศษได้แก่ อันดับที่คือพื้นที่นนทบุรี มีหน่วยที่อยู่อาศัยทั้งหมด335,421 หน่วย ไม่มีผู้อยู่อาศัย45,848 หน่วยหรือคิดเป็น14% ซึ่งเท่ากับว่ามีบ้านว่างหน่วยในทุกๆ 7 หน่วย อันดับที่คือพื้นที่บางนา มีหน่วยที่อยู่อาศัยทั้งหมด231,192 หน่วย ไม่มีผู้อยู่อาศัย31,289 หน่วยหรือคิดเป็น14% ซึ่งเท่ากับว่ามีบ้านว่างหน่วยในทุกๆ 7 หน่วยและอันดับที่คือพื้นที่บางใหญ่ มีหน่วยที่อยู่อาศัยทั้งหมด221,492 หน่วย ไม่มีผู้อยู่อาศัย28,016 หน่วยหรือคิดเป็น13% ซึ่งเท่ากับว่ามีบ้านว่างหน่วยในทุกๆ 8 หน่วย

ถ้าเจาะลึกลงไปตามประเภทที่อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่จะพบว่า ห้องชุดในแทบทุกระดับราคาเฉพาะในพื้นที่บางใหญ่ บางพลี บางนา มีนบุรี บางกะปิ นนทบุรี บางเขน บางบัวทอง และคลองเตย มีความน่าห่วงมากเพราะมีสัดส่วนห้องชุดที่เป็นบ้านว่างมากถึง13.5% – 17.5% กล่าวคือในห้องชุดทุกหน่วย จะมีผู้เข้าอยู่อาศัยหน่วย และอีกหน่วยเป็นบ้านว่าง สินค้าห้องชุดในพื้นที่นี้มีโอกาสที่จะมาขายแข่งกับสินค้าใหม่ๆของผู้ประกอบการได้ ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยไม่เพิ่มขึ้นเท่าที่ควร การลงทุนจึงมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับในต่างประเทศเช่นญี่ปุ่น ปรากฏว่าในกรุงโตเกียวมีสัดส่วนบ้านว่าง11.3% แต่ในระดับทั่วประเทศกลับพบบ้านว่าง14.0% ทั้งนี้ประชาชนในชนบทย้ายเข้าเมืองโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์แบบทำให้ความต้องการบ้านมีน้อยลง ยิ่งกว่านั้นค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมปรับปรุงบ้านยังสูงเพราะค่าแรงแพงจึงนิยมสร้างใหม่มากกว่าจะซ่อมบ้านเดิม