

- ประชาชนติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น 72.63%
- เครียดเรื่องปากท้อง/ค่าใช้จ่าย 52.14%
- กังวลพรรคที่ได้เสียงข้างมากอาจไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล
วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,352 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2566 หัวข้อ “คนไทยกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่” สรุปผลได้ ดังนี้
1. จากการเลือกตั้งใหญ่ 14 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนสนใจติดตามข่าวการเมืองมากขึ้นหรือไม่
อันดับ 1 ติดตามมากขึ้น 72.63%
อันดับ 2 ติดตามเท่าเดิม 21.30%
อันดับ 3 ติดตามน้อยลง 6.07%
2. ณ วันนี้ ประชาชนรู้สึกเครียดกับเรื่องใดมากที่สุด
อันดับ 1 ปากท้อง/ค่าใช้จ่าย 52.14%
อันดับ 2 การจัดตั้งรัฐบาล 51.90%
อันดับ 3 ค่าน้ำมัน/ค่าไฟ 48.31%
อันดับ 4 เศรษฐกิจของประเทศ 44.35%
อันดับ 5 การเลือกนายกรัฐมนตรี 43.14%
3. เมื่อมีความรู้สึกเครียดมากขึ้น ประชาชนแก้ปัญหาอย่างไร
อันดับ 1 คุยกับเพื่อน/คนรัก/คนที่ไว้ใจได้ 46.38%
อันดับ 2 พักผ่อนให้มากขึ้น 42.88%
อันดับ 3 คุยกับคนในครอบครัว 34.04%
อันดับ 4 ดูหนัง/ซีรีส์/ฟังเพลง 32.22%
อันดับ 5 ออกกำลังกาย 28.87%
4. ประชาชนมีความกังวลกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือไม่
อันดับ 1 กังวล 67.83%
เพราะ กลัวว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน , พรรคที่ได้เสียงข้างมากอาจไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล , พรรคร่วมรัฐบาลมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน , เล่นเกมการเมืองมากเกินไป , กังวลการโหวตของ ส.ส. และ ส.ว. ฯลฯ
อันดับ 2 ไม่กังวล 32.17%
เพราะ ให้เป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย เชื่อมั่นว่าพรรคก้าวไกลจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ,น่าจะตกลงร่วมกันได้ลงตัว ,การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ฯลฯ
5. ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเป็นไปด้วยความราบรื่นหรือไม่
อันดับ 1 ไม่เชื่อมั่น 58.33%
อันดับ 2 เชื่อมั่น 41.67%
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัยสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าการเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมาทำให้คนไทยติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น แต่ก็ยังมีความกังวลกับการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง รวมไปถึงกังวลกับการเลือกนายกรัฐมนตรีว่าอาจจะไม่ได้ตาม ที่ต้องการ เพราะกลไกของการเลือกนายกรัฐมนตรีนั้นมีเงื่อนไขของการโหวตจาก ส.ว. ร่วมด้วย กอปรกับภาพความขัดแย้งของพรรคฝั่งประชาธิปไตยที่มีข่าวให้เห็นรายวัน จึงทำให้ประชาชนยังไม่แน่ใจว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความราบรื่น

