- 13 ภาคเอกชนลงขัน 515 ล้านบาท
- ปั้น “start up”ไทยท้วงแชม์กยูนิคอร์น
- “ออมสิน-กฟผ.กสทช.”จ่อคิวเพิ่มทุน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังเป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือเครือข่ายภาครัฐที่ประกอบการด้วยกระทรวงการคลัง กระ ทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันการเงินกับภาคเอกชน 13 หน่วยงานเพื่อการระดมทุนเพื่อขับเคลื่อนบริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ InnoSpace (Thailand) ว่า บริษัท อินโนสเปซ จะมีส่วนสำคัญต่อการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งและทันสมัยเพื่อรองรับอนาคตโดยจะเป็นจุดเชื่อมโยงทุกกล ไกในการสร้างวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัป (Startup)ของไทยให้เพิ่มขึ้นเพื่อการเกิดขึ้นของยูนิคอร์น(สตาร์ทอัปที่มีรายได้ 1,000 ล้านเหรียญฯขึ้นไป)
“เป้าหมายของอินโนสเปซคือ การเชื่อมโยงและเร่งให้เกิดขึ้นนักธุรกิจสตาร์ทอัป โดยเร็ว เพื่อที่จะสร้างธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นในอนาคต เพราะคนไทยมีความสามารถ แต่ขาดโอกาส ซึ่งประเทศอื่นเขาสำเร็จกันเยอะเช่น อิสราเอล เขามีสตาร์ทอัป มาก จีนในขณะนี้ มีธุรกิจเล็กๆ มากมาย และจะกลายเป็นยูนิคอร์น ขณะที่ ประเทศไทยเองก็วางเป้าที่จะไปถึงเช่นนั้นแต่ก่อนอื่นต้องสร้างสตาร์ทอัปให้มีจำนวนมากๆ แล้วค่อยดึงต่างชาติมาเป็นพันธมิตร ”
นายสมคิด กล่าวว่า นอกจาก 13 บริษัทที่เป็นคนไทยแล้ง ล่าสุด ยังมีหัวเว่ยสนใจที่จะเข้ามาเป็นพันธมิตร ส่วนไมโคร ซอฟท์ ซัมซุง กูเกิล ก็กำลังจะตามมาเป็นพันธมิตรในการสนับสนุนด้านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีเพื่อทำให้เกิดการพัฒนาสตาร์ทอัป ร่วมกันโดยต้องการให้เพิ่มสัดส่วนสตาร์ทอัปในไทยให้เกิดขึ้นหลักหมื่นหลักแสนรายและมีการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้น เป็นต้น
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า อินโนสเปซ ไทยแลนด์เป็นแพลทฟอร์มที่เชื่อมโยง บูรณาการ และประ สานความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศด้านการลงทุน การบ่มเพาะธุรกิจ และด้านเทคโนโลยีองค์ความรู้ เป็นกลไก เพื่อสร้างสตาร์ทอัปให้มีความเข้มแข็งโดยมีเป้าหมายสร้างสตาร์ทอัป ใน 1 ปีแรกนับจากวันนี้ให้ได้ 300 รายโดยที่ตั้งของบริษัทอินโนสเปซเบื้องต้นจะอยู่ที่บริเวณที่ตั้งโรงงานยาสูบเดิม( คลองเตย) ขณะที่สถาบันวิทยาศิริเมธี (วังจันทร์วัลเล่ย์)จะเป็นอีกสาขาหนึ่งในการเป็นศูนย์บ่มเพาะ
สำหรับการระดมทุน 515 ล้านบาทจาก 13 องค์กรและขณะนี้ยังมีเอกชนที่แสดงความสนใจที่จะเข้ามาร่วมมือเพิ่มเติมอีกหลายรายอาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต วงเงิน 100 ล้านบาท ธนาคารออมสิน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นต้น
ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานที่ปรึกษา บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หลังจาก บริษั อินโนสเปซ จะเริ่มจ้างคนเข้ามาทำงาน เพื่อประสานความร่วมมือของสตาร์ทอัป ที่มีอยู่แล้วจำนวนมาก ได้รับความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนตามที่ต้องการ เช่น สินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือการระดมเงินผ่านตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น สำหรับภาคเอก ชน 13 บริษัทพร้อมสนับสนุนด้านเงินทุนเบื้องต้น 515 ล้านบาทแต่จะมีการทยอยเรียกเบื้องต้น 25% ก่อน ได้แก่ 1.บริษัท ปตท. 2.บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ 3.เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) 4.บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น 5.ธนาคารไทยพาณิชย์ 6. ธนาคารกรุงเทพ 7. ธนาคารกสิกรไทย 8.ธนาคารกรุงไทย 9.บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ 10. บริษัทในเครือสหพัฒน์ 11.บริษัม ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป 12.การบินกรุงเทพ และ13. ธนาคารรัฐวิสาหกิจขนาดกลาและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.)
“เราคาดหวังว่าจะสร้างสตาร์ทอัป ให้มีจำนวนมากๆ เพื่อให้เกิดยูนิคอร์น ซึ่งในระยะต่อไปไทยจะมีการลงนามความร่วม มือกับประเทศอิสราเอล และญี่ปุ่น เพื่อก้าวสู่ระดับสากลมากขึ้น โดยภายใน 1-2 เดือนเราจะมีการแต่งตั้งกรรมการบริหารและกรรมการด้านการลงทุนจึงจะสรุปแนวทางการขับเคลื่อนอีกครั้ง”