- นำร่องที่ กัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล
- แต่ยอมรับว่ามีความละเอียดอ่อนที่ต้องรอบคอบ
- หารือ 4 กระทรวงแก้ปาล์มทั้งระบบแบบยั่งยืน
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว. พลังงาน เปิดเผยว่า ตนมีนโยบายที่จะเจรจาความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมถึงประเทศกัมพูชาในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ โดยยอมรับว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องมีการศึกษารายละเอียดรอบด้าน เพื่อให้เกิดความคืบหน้าเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้ง 2 ประเทศแต่รายละเอียดคงยังให้อะไรไม่ได้เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องดูว่าจะสำเร็จหรือไม่อย่างไรด้วย
สำหรับ กรณีที่กระทรวงพาณิชย์มีนโยบายประกันราคาปาล์ม 4 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)ขณะที่ บทบาทของกระทรวงพลังงาน ที่จะร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ได้คือ การส่งเสริมการใช้น้ำมันบี 10 ให้เป็นน้ำมันพื้นฐานหลัก ที่ปัจจุบันน้ำมันพื้นฐานหลักคือ น้ำมันดีเซลเกรดปกติ(บี7) และส่งเสริมการใช้บี 20 สำหรับกลุ่มรถบรรทุกขนาดใหญ่ เพื่อยกระดับราคาปาล์มให้กับเกษตรกร
ขณะที่การให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ก็ได้ช่วยดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ(CPO)เพื่อนำไปผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง ที่ยังพร้อมจะดูดซับอีกจำนวน130,000 ตันในเร็วๆนี้ หากมีความจำเป็นต้องดูดซับในปริมาณที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากขณะนี้ กระทรวงพลังงานก็พร้อมดำเนินการ
“ นโยบายเรื่องแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันผมได้หารือกับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว. พาณิชย์แล้วซึ่งในส่วนของประกันราคาปาล์มก็ จะต้องมีการเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ความเห็นชอบอีก ผมก็ได้มอบให้กรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.)ไปศึกษาแนวทางการส่งเสริมใช้บี 10 เป็นน้ำมันพื้นฐานและบี 20 ที่จะมีการเสนอผลการศึกษาในสัปดาห์หน้าจากนั้นจะนำไปหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 4 กระทรวงหลักได้แก่ พลังงาน พาณิชย์ อุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป”