

- หวั่น “เอญนีโญ” ทำฝนทิ้งช่วง
- แต่ยังมั่นใจรับมือน้ำท่วม-ภัยแล้ง
- ติดตามพายุพัดเข้าไทยเดือนก.ย.
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) เปิดเผยว่ากรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) หรือสสน. คาดการณ์ปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อนมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนส.ค. จะทำให้มีปริมาณฝนตกน้อยและระยะต่อจากนี้ช่วงวันที่5-15 ก.ค.2562 จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกซึ่งสทนช.ได้วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำโดยใช้ข้อมูลฝนสะสมของกรมอุตุนิยมวิทยาและสสน. พบว่ามีพื้นที่มีปริมาณฝนตกน้อยนอกเขตชลประทานที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำจำนวน160 อำเภอ21 จังหวัดได้แก่ภาคเหนือ34 อำเภอ6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ71 อำเภอ8 จังหวัดและภาคใต้55 อำเภอ7 จังหวัดส่วนในสัปดาห์ที่3-4 ของเดือนก.ค. ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นและมีฝนตกชุกหนาแน่นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก


สำหรับการคาดหมายปริมาณฝน3 เดือนล่วงหน้าตั้งแต่ก.ค.-ก.ย.62 กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าปริมาณฝนรวมบริเวณภาคกลางภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ5% ส่วนภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีปริมาณฝนใกล้เคียงค่าปกติแต่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าค่าปกติร้อยละ5 ทั้งนี้อาจมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านทะเลจีนใต้และมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ1 – 2 ลูกในช่วงเดือนส.ค.และเดือนก.ย.


ขณะที่สถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำทั้งประเทศมีปริมาณน้ำรวม39,622 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) คิดเป็น49% โดยแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ38 แห่งพบว่ายังไม่มีแหล่งน้ำที่มีน้ำมากกว่า80 % มีเพียงแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ระหว่าง60-80% อยู่ในภาคตะวันออกและภาคใต้รวม 3 แห่งได้แก่เขื่อนศรีนครินทร์เขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางลางขณะที่แหล่งน้ำขนาดกลางความจุ2 ล้านลบ.ม.ที่มีปริมาณน้ำมากกว่า100% จำนวน1 แห่งคืออ่างเก็บน้ำด่านชุมพลจ.ตราดปริมาณน้ำ80-100% จำนวน11 แห่งและปริมาณน้ำ60-80% จำนวน37 แห่งตามลำดับซึ่งมีการบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้ในพื้นที่โดยไม่กระทบทั้งเสี่ยงท่วมและแล้ง


ขณะที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อยกว่า30% มีจำนวน15 แห่งแบ่งเป็นภาคเหนือ2 แห่งได้แก่เขื่อนแม่กวงอุดมธาราเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ6 แห่งได้แก่เขื่อนห้วยหลวงเขื่อนน้ำพุงเขื่อนอุบลรัตน์เขื่อนลำปาวเขื่อนลำพระเพลิงเขื่อนลำนางรองภาคตะวันออก3 แห่งได้แก่เขื่อนขุนด่านปราการชลเขื่อนคลองสียัดเขื่อนนฤบดินทรจินดาภาคกลาง4 แห่งได้แก่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เขื่อนทับเสลาเขื่อนกระเสียวและบึงบอระเพ็ดโดยแหล่งน้ำขนาดกลางน้ำน้อยกว่า30% จำนวน129 แห่งแบ่งเป็นภาคเหนือ15 แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ89 แห่งภาคตะวันออก9 แห่งภาคกลาง11 แห่งภาคตะวันตก2 แห่งและภาคใต้3 แห่ง
“จากสภาพความแปรปรวนของสภาพอากาศที่มีทั้งพื้นที่เสี่ยงที่จะประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงและฝนตกหนักในบางพื้นที่สทนช.ได้เน้นย้ำการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมชลประทานและกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ทบทวนการคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯปรับแผนการจัดสรรน้ำจนสิ้นสุดฤดูฝนรวมถึงคาดการณ์ถึงแผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งหน้าด้วยเนื่องจากพบว่าปริมาณฝนตกในเดือนมิ.ย.น้อยกว่าคาดการณ์ถึง30% ประกอบกับปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างทั่วประเทศจากพายุ”มูน” มีปริมาณน้อยมากเช่นกัน”
ดังนั้นจึงต้องบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศและเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ(Rule Curve) ที่ปรับปรุงใหม่ที่มีความยืดหยุ่นกับสภาพความเป็นจริงเพื่อเฝ้าระวังเขื่อนที่น้ำอาจจะมากในพื้นเหนือเขื่อนที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้นก็ต้องมีการระบายน้ำโดยไม่ให้กระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำแต่ขณะนี้ยังไม่มีเขื่อนใดจำเป็นที่จะต้องเร่งการระบายน้ำเขื่อนทุกแห่งยังสามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้อย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งปีถัดไป


ล่าสุดสทนช.ได้ประสานฝนหลวงเพิ่มความถี่ปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากฝนทิ้งช่วงโดยเฉพาะภาคเหนือภาคกลางและภาคอีสานโดยล่าสุดมีปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในอ่างฯ( 8 ก.ค. 62) ในพื้นที่จ.พะเยาแพร่เชียงใหม่ลำพูนลำปางเพชรบูรณ์ลพบุรีกาญจนบุรีนครราชสีมาขอนแก่นชัยภูมิบุรีรัมย์สุรินทร์ศรีสะเกษและจ.อุบลราชธานีรวมถึงแจ้ง4 กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้แก่กระทรวงมหาดไทยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงพลังงานพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันภาวะเสี่ยงขาดแคลนน้ำรวมทั้งจัดหาแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อสำรองใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วงและในระยะยาวด้วย.