มั่นใจ10ปีหุ่นยนต์ครองโรงงาน

Engineers test a four-metre-tall humanoid manned robot dubbed Method-2 in a lab of the Hankook Mirae Technology in Gunpo, south of Seoul, on December 27, 2016. The giant human-like robot bears a striking resemblance to the military robots starring in the movie "Avatar" and is claimed as a world first by its creators from a South Korean robotic company. / AFP / JUNG Yeon-Je (Photo credit should read JUNG YEON-JE/AFP/Getty Images)

.“อีอีซี”ลุ้นอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เงินสะพัด 3 แสนล้าน
.สศอ.นำร่องเกษตรอีสานตอนล่าง 4จังหวัด
.ดันแพลตฟอร์มกระตุ้นตลาด


นายชิต เหล่าวัฒนา ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เปิดเผยถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทย ว่า จากการสนับสนุนของภาครัฐต่ออุตสาหกรรมหุ่นยนต์ฯ คาดภายใน 5 ปี(2560-64) ภายหลังยุทธศาสตร์หุ่นยนต์ฯผลมีบังคับใช้ จะมีมูลค่าการใช้งานไม่ต่ำกว่า 300,000 ล้านบาท โดยมีการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานมากกว่า 50% ภายใน 10 ปี หรือปี 69 ผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำการผลิตและใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียนด้วยเทคโนโลยีของตัวเองและส่งออกหุ่นยนต์ได้ในอนาคต

ด้านนายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) กล่าวว่า สศอ.ร่วมกับหน่วยงานโรโบติกส์ เอไอ แอนด์ อินเทลลิเจนท์ โซลูชั่น บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ(คอร์) เปิดตัวอินดัสเทรียล ทรานส์ฟอร์เมชั่น แพลทฟอร์ม หรือไอทีพี อยู่ในโรโบติก คลัสเตอร์ พาวิลเลี่ยน ภายในงานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2019วันที่ 19-22 มิถุนายน62 ที่ไบเทค บางนา โดยแพลตฟอร์มนี้ตั้งเป้าหมายขยายผลการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปสู่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) เป็นตัวกลางที่ทำให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ได้ซื้อขายธุรกิจกันด้วยความโปร่งใส มีแพลตฟอร์มช่วยดูแล

“เบื้องต้นจะเน้นในอุตสาหกรรมเกษตรให้ใช้เครื่องมือเกษตรที่ทันสมัย อาทิ ระบบเซ็นเซอร์ฐานข้อมูลในการประเมินปัจจัยการผลิตที่คุ้มค่า ล่าสุด สศอ.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ นำร่องในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 (อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ) เพื่อลดต้นทุนการผลิต ยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก อาทิ แปรรูปอาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม”

นายสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน และประธานคณะกรรมการคอร์ กล่าวว่า ช่วงปี 61-62 มีโรงงานปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต 229 โรงงาน ผู้ประกอบการ 65 ราย ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่ารวม 9,641 ล้านบาท และมีผู้ขอสินเชื่อเอสเอ็มอีเพื่อปรับระบบ 20 ราย มูลค่า 123.5 ล้านบาท มีผู้ให้บริการและออกแบบระบบ หรือเอสไอ ได้รับการอบรมและพัฒนา 100 ราย มีต้นแบบหุ่นยนต์ได้รับการพัฒนาแล้ว 5 ต้นแบบ มีสมาชิกหน่วยงานเครือข่าย 15 แห่ง และมีบุคลากรหรือผู้ใช้ 610 คนก็ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาตามโปรแกรม