- ครม.เศรษฐกิจไฟเขียว Thailand Plus Package
- บีโอไอมอบสิทธิ์ประโยชน์ภาษีสูงสุดเทียบเท่าอีอีซี
- ต้อนรับนักลงทุนย้ายฐานผลิตครั้งใหญ่รอบ 20 ปี
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการและเลขานุการ ครม.เศรษฐกิจ เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่าย เศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) วันนี้ (6 ก.ย.62) เห็นชอบแพคเกจเร่งรัดการลงทุนเพื่อรองรับการการลงทุน และย้ายฐานการผลิตสืบเนื่องจากสงครามการค้า หรือ Thailand Plus Package 7 ด้าน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เสนอ ซึ่งส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตครั้งใหม่ ในรอบ 20 ปี จึงถือเป็นโอกาสทองของประเทศไทยในช่วง 3 ปีนี้ ที่จะมีมาตรการชักจูงนักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย โดยได้ รับความร่วมมือจากหลายงานทั้งจากบีโอไอ กระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
“ที่ผ่านมา ประเทศไทยจะติด 1 ใน 3 ที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาลงทุนแต่เมื่อถึงขั้นสุดท้ายไม่ได้คัด เลือก ประเทศไทยจึงเปรียบเป็นเหมือนเพื่อนเจ้าสาว ไม่เคยเป็นเจ้าสาวเลย แต่มาตรการชุดนี้ ที่ ครม.เศรษฐกิจอนุมัติ ผมมั่นใจว่า จะเชิญชวนให้นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจลงทุนในไทยมากขึ้น เพราะข้อเสนอดังกล่าว ดีกว่าหลายๆ ประเทศ และยังเหนือกว่าคู่แข่ง เช่น ประเทศเวียดนาม จึงเปรียบเหมือนกับการเตรียมตัวเป็นเจ้าสาวที่ต้องผัดหน้า ทาแป้งให้สวยงามก่อน”
สำหรับมาตรการ Thailand Plus Package 7 ด้าน ประกอบการ 1. ด้านสิทธิประโยชน์ ให้บีโอไอกำหนดมาตรการสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อเร่งรัดการลงทุน โดยลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5 ปีเพิ่มเติมจากหลัก เกณฑ์ปกติ สำหรับโครงการที่มีเงินลงทุนจริงอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท ภายในปี2564 โดยต้องยื่นขอรับการส่ง เสริมภายในปี 2563 ซึ่งมาตรการนี้ เป็นการมอบสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมกับนักลงทุนที่ลงทุนในเขตพัฒนาภาคตะวันออก (อีอีซี) และยังเป็นการสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงที่สุดเท่าที่กฎหมายของบีโอไอจะมอบให้ได้ หรือเท่ากับ มอบสิทธิประโยชน์ให้หมดหน้าตัก
2.ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการของหน่วยงาน ให้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและประสานงานการลงทุน ในลักษณะ One Stop Service โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคแก่นักลงทุนซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย 3.ด้านบุคลากรให้กำหนดมาตรการการคลังเพื่อ สนับสนุนการฝึกอบรมแรงงาน โดยให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่เข้าข่ายเทคโนโล ยีขั้นสูง หรือ Advanced Technology ไปหักลดหย่อนเพิ่มขึ้นระหว่างปี 2562 – 2563 นอกจากนี้ ในกรณีของโครง การลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมและยังมีสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้อยู่แล้ว บีโอไออนุญาตให้นำค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมดังกล่าว ไปคำนวณรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็น 2 เท่า
4.ด้านความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เร่งปรับปรุงบัญชีแนบท้ายตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542 และกฎหมายที่เป็นอุป สรรคและข้อจำกัดต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5.มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดหาพื้นที่ให้นักลงทุนต่างชาติแต่ละประเทศเป็นการเฉพาะเช่น เกาหลี จีน ไต้หวัน เป็นต้น ที่ต้องการอยู่รวมกัน
6.ให้กระทรวงพาณิชย์เร่งฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าไทย–อียู และการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐ กิจเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ภายในปี 2562 เพื่อ ให้นักลงทุนเชื่อมั่นประเทศไทยจะมีส่วนร่วมในการเจรจาทุกกรอบเวทีการค้าโลก และ7.ให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรการเพิ่มเติม โดยให้หักเงินลงทุนที่บริษัทเอกชนลงทุนทาง ด้านระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้น ระหว่างปี 2562 – 2563 ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานในประ เทศไทย สำหรับแพคเกจ Thailand Plus Package 7 ด้านนั้น จะนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.สัปาดห์หน้า อีกครั้ง เพื่อให้มีผลทางกฎหมายต่อไป.