- คาดธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ทั้งปีโตต่ำกว่า 6%
- ระบุบเอกชนรายใหญ่ออหตราสารหนี้แห่คืนหนี้แบงก์LTVกดดัน-คนซื้อน้อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยลด-รถยนต์ลดลง
นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2 ปี 2562 ว่าการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ลดลงจากการขยายตัว 5.6% ในไตรมาสก่อน ขยายตัวที่ 4.2% ในไตรมาสนี้ สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจยังอยู่ในทิศทางชะลอลง ทำให้ตัวเลขทั้งปี มีโอกาสที่สินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์จะขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวได้ 6% โดยคงต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงท้ายปีที่จะมาว่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ ปัจจัยที่เห็นชัดเจนจากการชะลอตัวของสินเชื่อในไตรมาสนี้มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การชะลอลงของสินเชื่อในภาคอุตสาหกรรมภาคอุตสาหกรรม พาณิชย์ และบริการ มีการเปลี่ยนการระดมทุนไปในตลาดตราสารหนี้ และนำเงินมาชำระคืนธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้ สินเชื่อธุรกิจในภาพรวม ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง 1.7 %โดยสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เติบโตในอัตราเพียง 2.6% ลดลงจาก 4.4% ในไตรมาสก่อน สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) หดตัว 0.1 %จากที่ขยายตัว 1.5 %ในไตรมาสก่อน โดยเป็นการลดลงตามภาวะเศรษฐกิจและการคืนหนี้ของเอสเอ็มอีรายใหญ่
ด้านที่ 2 คือสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เติบโตลดลง ผลจากการบังคับใช้มาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (LTV) มีผลบังคับใช้ และด้านที่ที่ 3 สินเชื่อรถยนต์ที่เติบโตลดลงตามยอดขายรถยนต์ที่เริ่มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม สินเชื่ออุปโภคบริโภคโโยรวมยังขยายตัวได้ในระดับสูง เติบโต 9.2% ลดลงเล็กน้อยจาก 10.1 %ในไตรมาสก่อน โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยโต 7.8% เมื่อเทียบระยะเดียวกันปีก่อน และตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันโต 5% โดยจำนวนการเพิ่มขึ้นของบัญชีที่ผ่อนส่งบ้านในครึ่งปีแรก เติบโต 14.2% แต่ส่วนใหญ่เป็นการโตในไตรมาสแรก 27.9% ขณะที่ไตรมาสที่ 2 หลังจากที่มีการเร่งให้สินเเชื่อไปแล้วในไตรมาสแรก เติบโตเพียง 2.4% ขณะที่สินเชื่อรถยนต์โต 10.2% และตั้งแต่ต้นปีโต 4.5% ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดสินเชื่อรายย่อย
ด้านคุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ในภาพรวมมีสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่อสินเชื่อรวมทรงตัวอยู่ที่ 2.95% โดยยอดคงค้างอยู่ที่ 450,600 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 3,300 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการตัดหนี้สูญและการปรับโครงสร้างหนี้ ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่จับตาเป็นพิเศษ เพราะเริ่มขาดการผ่อนส่งหนี้ (Special Mention: SM) เพิ่มขึ้นจาก 2.56 %ในไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 2.74% ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ในไตรมาส 2 ปี 2562 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกไไรสุทธิ 60,800 ล้านบาท จากเงินปันผลของบริษัทในเครือที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลง