- ภายใต้ชื่อ“Maintenance & Resilience Asia 2019 หรือMRA 2019”
- ช่วยยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตในไทย
- ดันให้ไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางแห่งความทันสมัยในด้านกระบวนการผลิต
นายทาดาชิ โยชิดะ ประธานสมาคมบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือJMA เปิดเผยว่าแนวคิดSmart Industry (สมาร์ทอินดัสตรี) ไม่ใช่แนวคิดในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแต่จะเป็นพัฒนาการและการปฏิวัติรูปแบบโรงงานแบบใหม่ที่หลายๆระบบจะต้องมีความเป็นอัจฉริยะมีรูปแบบ(ฟังก์ชั่น)การใช้งานที่ชาญฉลาดและมีเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นโดยในการก้าวไปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้นสถานประกอบการต่างๆจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็น “SMART” 4 ประเภทได้แก่
Smart People คือการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและมีความพร้อมกับการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในยุคใหม่อยู่เสมอซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ในสถาบันการศึกษาเช่นทักษะการเขียนCoding ทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเฉพาะทาง การผลิตวิศวกรที่สามารถรองรับความต้องการและผลกระทบทางอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นวิศวกรด้านความเสี่ยงวิศวกรการเงินวิศวกรด้านไอโอทีนอกจากนี้ยังควรจะต้องพัฒนาความสามารถเฉพาะทางที่หุ่นยนต์หรือAI ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้เพื่อรับมือกับแนวโน้มการถูกแทนที่แรงงานด้วยเครื่องมือดังกล่าวในอนาคต
Smart Technology & Innovation โดยเป็นการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในทุกกระบวนการทางอุตสาหกรรมเพื่อให้ผลลัพธ์ในกระบวนการผลิตและการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลเสียให้น้อยลงที่สุดซึ่งเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในยุคใหม่คือIoT (Internet of Things) เป็นการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาเชื่อมโยงกับระบบต่างๆภายในสถานประกอบการเพื่อให้การสั่งการทำงานง่ายรวดเร็วและสามารถกระทำได้ในทุกที่ทุกเวลาส่วนต่อมาคือข้อมูลขนาดใหญ่(Big Data) ซึ่งจะเป็นระบบที่วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆเพื่อทำนายพฤติกรรมการเตือนภัยแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตรวมถึงช่วยในการตัดสินใจให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามด้วยหุ่นยนต์ซึ่งจะมีหน้าที่ในการทำงานทดแทนส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถกระทำได้เช่นการทำงานในพื้นที่หรือบรรยากาศที่มีความเสี่ยงการผลิตที่มีความต่อเนื่องหรือระยะเวลาที่ยาวนานBlockchain ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลความลับของบริษัทการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และสุดท้ายคือระบบAI ซึ่งเป็นระบบที่มีความขำนาญเฉพาะด้านไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์คุณภาพของสินค้าการคำนวณการตรวจจับความผิดพลาดจากการดำเนินงานเป็นต้น
Smart Maintenance หรือระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาดซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างวิศวกรรมการซ่อมบำรุงรักษาระบบการบริหารจัดการการผลิตระบบสารสนเทศการวิเคราะห์ข้อมูลการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตCloud Computing และBig Data พร้อมนำข้อมูลสารสนเทศต่างๆมาใช้ในการวิเคราะห์และทำนายล่วงหน้าว่าเครื่องจักรหรือสายการผลิตใดมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาโดยในการยกระดับSmart Maintenance ดังกล่าวจะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลสภาพการทำงานของเครื่องจักรและเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้นทำให้ดำเนินการแก้ไขป้องกันปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพนอกจากนี้การมีระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาดยังช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมได้มากยิ่งขึ้นซึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยยังถือว่ายังมีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ปีละไม่ต่ำกว่าหลักแสนล้านบาท
Smart Environment & Community ซึ่งเป็นการจัดการบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงานเช่นพื้นที่ที่สามารถแลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเช่นนวัตกรรมเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในองค์กรรวมทั้งให้ความสำคัญในการบริหารจัดการหรือมีโซลูชั่นที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเทคโนโลยีในการกำจัดมลพิษทั้งทางบกน้ำอากาศนวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่การกำจัดกากขยะอุตสาหกรรมและกากขยะอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเติบโตและยั่งยืน
นายทาดาชิ กล่าวเสริมว่า ประเทศญี่ปุ่นนอกจากจะให้ความสำคัญกับความ“SMART” ในด้านต่างๆแล้วอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องคือการจัดงานแฟร์และนิทรรศการด้านอุตสาหกรรมโดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นเสมือนเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้ประสบการณ์และกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีความตื่นตัวที่จะแข่งขันการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทั้งยังเป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์อุตสาหกรรมของประเทศให้ดูมีความทันสมัยและเปี่ยมไปด้วยการพัฒนาที่ไม่เคยหยุดนิ่งพร้อมที่จะรักษามาตรฐานและประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอทั้งนี้หนึ่งในนิทรรศการด้านอุตสาหกรรมที่ได้การยอมรับและถูกจัดมาอย่างต่อเนื่องคือMaintenance & Resilience Tokyo ซึ่งเป็นงานที่ให้ความสำคัญกับระบบการซ่อมบำรุงรักษาเทคโนโลยีที่จำเป็นในการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีและโซลูชั่นในการบำรุงรักษาโรงงานและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆที่จำเป็นโดยมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ของญี่ปุ่นให้ความสนใจในการนำเทคโนโลยีมาจัดแสดงพร้อมด้วยการสัมมนาให้ความรู้จากภาครัฐและเอกชนและได้ดำเนินต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาเกือบ60 ปี
ทั้งนี้JMA ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพความเป็นพันธมิตรและความสำคัญของการเป็นฐานด้านการผลิตของไทยจึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะนำงานMaintenance & Resilience Tokyo มาจัดครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้ชื่อ Maintenance & Resilience Asia 2019 หรือMRA 2019 โดยการจัดงานดังกล่าวJMA มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตในไทยโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่รวมทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีศักยภาพที่ดีทัดเทียมกับญี่ปุ่นนอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าวยังจะช่วยให้ไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางแห่งความทันสมัยในด้านกระบวนการผลิตการบำรุงรักษาและนวัตกรรมเทคโนโลยีและช่วยกระตุ้นให้ประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนเดินหน้าในทิศทางเดียวกันซึ่งงานดังกล่าวจะถูกจัดขึ้นในวันที่2 – 4 ตุลาคม2562 ณไบเทคบางนานอกจากจะมีการจัดแสดงเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากญี่ปุ่นแล้วยังได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานสำคัญต่างๆเช่นกระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงคมนาคมคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและบริษัทเอกชนต่างๆมาร่วมขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตไปอีกระดับ