

- เผยผลศึกษาพบข้อดีไทยร่วม”ซีพีทีพีพี”
- ดันส่งออกเพิ่ม–ดูดลงทุนมา”อีอีซี”
- เตรียมมาตรการรับมือผู้ได้รับผลกระทบ
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเตรียมชงรัฐบาลใหม่พิจารณาเข้าร่วมเป็นสมาชิก“ซีพีทีพีพี” หรือไม่หลังศึกษาผลดี–เสียเสร็จแล้วยันการเข้าร่วมสร้างโอกาสค้าขายดึงดูดการลงทุนพร้อมมีมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบส่วนเอฟทีเอไทย–อียูไทย–เอฟตาขอไฟเขียวเดินหน้าเจรจาต่อหลังค้างมานาน
นางอรมนทรัพย์ทวีธรรมอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่ากรมเตรียมสรุปสถานะการเจรจาการค้าของไทยกับประเทศต่างๆเพื่อนำเสนอให้กับรมว.พาณิชย์คนใหม่และรัฐบาลใหม่พิจารณาโดยมีกรอบการเจรจาที่จะต้องขอนโยบายจากรัฐบาลคือ ความตกลงครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(ซีพีทีพีพี) ที่จะต้องพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือไม่หลังจากรัฐบาลนี้ชะลอการเข้าร่วม
สำหรับผลการศึกษาพบว่าการเข้าร่วม ในด้านการค้าไทยจะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดเพิ่มเติมกับประเทศที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี(เอฟทีเอ) อยู่แล้วอย่างญี่ปุ่นเช่นเนื้อไก่สดและไก่แปรรูปเนื้อสุกรข้าวน้ำตาลรถยนต์และชิ้นส่วนเป็นต้นและจากประเทศที่ไทยไม่เคยมีเอฟทีเอด้วยคือแคนาดาและเม็กซิโกเช่นอาหารทะเลอาหารแปรรูปยางพาราผลไม้ปรุงแต่งและแปรรูปเนื้อไก่ปรุงแต่งและแปรรูปรถจักรยานยนต์รถยนต์และชิ้นส่วนเป็นต้นส่วนในด้านการลงทุนจะสร้างโอกาสในการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ไทยกำลังขับเคลื่อนในโครงการเขตพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) แต่ถ้าไทยไม่เข้าร่วมจะทำให้เสียโอกาสในการเป็นฐานการผลิตและดึงดูดการลงทุนสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจะเสนอให้มีมาตรการช่วยเหลือเช่นกองทุนซีพีทีพีพีเป็นต้น
ขณะที่เอฟทีเอที่อยู่ระหว่างการเจรจาและหยุดชะงักไปก่อนหน้านี้จะเสนอเพื่อขอนโยบายในการเจรจาต่อเช่นเอฟทีเอไทย–สหภาพยุโรป(อียู), ไทย–สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป(เอฟตา) ซึ่งหยุดการเจรจาชั่วคราวเมื่อไทยมีรัฐบาลใหม่ก็พร้อมเจรจากับไทยโดยล่าสุดอียูแจ้งว่ากำลังรอรัฐสภาใหม่ถ้าได้แล้วก็พร้อมเจรจาทันที